http://www.porjarearntum.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ05/04/2009
อัพเดท06/09/2022
ผู้เข้าชม707,013
เปิดเพจ958,011

บริการ

หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ติดต่อเรา

บทกลอนธรรมะ

จูงมือลูกเดิน

ระลึกได้และรู้ตัวหมายความว่าอย่างไร

รัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

อันตรายของภิกษุ สามเณร ผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง

ความจริงอันประเสริฐที่ควรรู้ ๔ ประการ

ธรรมะอันทำให้งาม มี ๒ ประการ

ธรรมคุ้มครองโลก

เสียงเทศน์ทำใหม่ล่าสุด

วงล้อแห่งพระธรรมที่นำไปสู่ความเจริญ ๔ อย่าง

ทุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

สุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

วิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการ หมายความว่าอย่างไร

คุณของรัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด

มูลเหตุของความโง่เขลา

มูลเหตุของความฉลาด

ท่านรู้จักตนเองว่ามีกิเลสหรือไม่ ต้องพิจารณาอย่างไร

ท่านรู้จักมนุษย์ ๔ ประเภทหรือยัง ?

คิดดี พูดดี ทำดี

ความสุข ความทุกข์ ความสบาย แตกต่างกันอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ

ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบและเกิดปัญญา

ศาสนาคืออะไร

ป่วยกาย ป่วยใจ หมายความว่าอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ (เนื้อหา)

ทำความดีเพื่ออะไร

คุณธรรม ๕ ประการ สนับสนุนความสำเร็จ

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมายความว่าอย่างไร

ศีล ในพระพุทธศาสนา ๒๒๗ ข้อ ภาคภาษาไทย อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ปัจจัย ๔ รูปธรรม และ ปัจจัย ๔ นามธรรม

มนุษย์ เป็นโรค ๔ อย่าง บ้า ใบ้ บอด หนวก

ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาปหมายความว่าอย่างไร

ระวังจิต ระวังอารมณ์ หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา มีจริงหรือไม่

จิตสงบ จิตว่าง แตกต่างกันอย่างไร

อยากรู้ อยากห็น อยากเป็น อยากไป หมายความว่าอย่างไร

มืดมามืดไป และสว่างมาสว่างไป หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่มีมาก ทำให้น้อยลง สิ่งที่มีอยู่ทำให้หมดไป

ความเห็นแก่ตัว กับการรักตัวเอง

ท่านพบเห็นเมืองพอแล้วหรือยัง

การทำความชั่วเพราะเหตุ ๔ ประการ

รู้จด รู้จำ รู้แจ้ง หมายความว่าอย่างไร

สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ฟังธรรมเป็นยาฉีด จริงหรือ

ผู้ที่ไม่แต่งงาน จะตกนรก จริงหรือไม่

มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ

ก็ต้อง ก็ได้ ก็ดี หมายความว่าอย่างไร

บันใด ๘ ขั้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

งามทั้ง กาย วาจา ใจ

ผู้ที่ฝีกสมาธินาน ๆ ไม่เกิดปัญญาเพราะเหตุใด

คิดอย่างไรจึงไม่เกิดทุกข์

จิตใต้สำนึก

คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ

ทำใจ หมายความว่าอย่างไร

ประเพณีงานศพที่ถูกต้อง... เหตุใดจึงต้องเผาศพ...

ความเบื่อของปุถุชนกับความเบื่อของพระอริยะ

พระราชดำรัส คุณธรรม ๔ ประการ(เนื้อหา)

มีสิ่งใด สิ่งนั้นก็เสื่อม

บวชเพื่ออะไร

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือ

ทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์

บุคคลที่หาได้ยาก ความกตัญญูกตเวที

การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดหรือถูก...

ความหวัง

มืดมาสว่างไป สว่างมามืดไป หมายความว่าอย่างไร

ผู้ที่ขัดขวางการปฏิบัติธรรม มีโทษอย่างไร

แผ่นพับธรรมะ

ละอายต่อบาปเกรงกลัวต่อบาป หมายความว่าอย่างไร

(อ่าน 5801/ ตอบ 2)

สำนึกรักบ้านเกิด

...คุณแม่ครับ...ความละอายต่อบาป ความเกรงกลัวต่อบาปหมายความว่าอย่างไร...แล้วจะทำให้มีคุณธรรมข้อนี้ได้อย่างไรครับ...


แม่ชีประยงค์

ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาป หมายความว่าอย่างไร


๑.     หิริ คือ ความละอายต่อบาป


๒.   โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อบาป


หิริ แปลว่า ความละอายใจต่อบาป ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ไม่คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว ต่อหน้าและลับหลังผู้อื่น ไม่กล้าทำความชั่วใดๆ จะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ เพราะมีความละอายใจต่อบาป ที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง รู้ว่าบาป คือความทุกข์กาย ทุกข์ใจ เกิดจากการทำความชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจของตนเอง


ผู้ที่มีหิริ จึงคิดดี พูดดี ทำดีเสมอ เพราะมีคุณธรรม คือ หิริ คุ้มครองจิตใจ เขาจึงเป็นคนดี ผู้ที่ไม่มีหิริ คือ ความไม่ละอายต่อบาป จะทำความชั่วได้ทุกเวลา ไม่ว่าจะต่อหน้าหรือลับหลังก็ตาม บางคนทำความชั่วลับหลัง แต่ต่อหน้าไม่กล้าทำ เพราะอายคนจะรู้ จะเห็น มิใช่ละอายต่อบาป เขาเป็นคนชั่ว เพราะไม่มีธรรมประจำใจ 


โอตตัปปะ แปลว่า ความเกรงกลัวต่อบาป


เกรงกลัว หมายถึง กลัวโทษที่จะเกิดขึ้นจากการทำความชั่ว ผู้ที่มีโอตตัปปะ คือผู้ที่เชื่อ และเข้าใจในกฎแห่งกรรม เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว จะทำความดีด้วย กาย วาจา ใจ ก็ดี  หรือจะทำความชั่วด้วยกาย วาจา ใจ  ก็ตาม รู้ว่ากรรมดี กรรมชั่ว จะส่งผล ให้กับผู้ประกอบกรรมนั้นได้รับในชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป ผู้ที่มีโอตตัปปะจะไม่ทำความชั่ว เพราะกลัวบาป คือโทษและความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง จึงพยายามคิดดี พูดดี ทำดี อยู่เสมอ มีปัญญารักษาตัวให้พ้นภัย ผู้ที่ไม่มีโอตตัปปะ เขาจะไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ไม่เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เขาจึงไม่เกรงกลัวต่อบาป สามารถทำความชั่วได้ทุกอย่าง เพราะเขาไม่มีหิริ โอตตัปปะ ไม่ละอายต่อบาป ไม่เกรงกลัวต่อบาป ตลอดชีวิตจะมีแต่ความทุกข์ เพราะเขาไม่มีคุณธรรมทั้งสองประการนี้คุ้มครองจิตใจ


พระภิกษุ สามเณร ที่ไม่มีหิริ โอตตัปปะ ก็สามารถทำผิดศีล ผิดธรรม ได้ทุกอย่าง เช่น พระภิกษุ สามเณรที่มีความหลง มีความโลภ มีความโกรธ เป็นทาส ของกิเลสทั้ง  ๓ อย่างนี้ จะไม่มีความละอายต่อบาป ไม่มีความเกรงกลัวต่อบาป เช่นมีความหลง รักใคร่พอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ หลงใน ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็จะไขว่คว้าหาสิ่งที่ต้องการ โดยไม่คำนึงว่าจะผิดศีล ผิดธรรม หรือผิดกฎหมาย เมื่อได้สิ่งที่ต้องการมาแล้วก็ไม่มีความเพียงพอ กลับมีความโลภมาก อยากได้ทุกๆ อย่างให้มากขึ้น ไม่มีที่สิ้นสุดเมื่อไม่ได้ตามต้องการ ก็เกิดความโกรธ อาฆาตพยาบาท เกิดความอิจฉาริษยากันขึ้น ดังที่มีอยู่ในหมู่พระภิกษุ สามเณรทั่วไปในสังคมปัจจุบัน พระภิกษุ สามเณร ดังกล่าวมาแล้วนี้ จะมีแต่ความทุกข์ หาความสุขไม่ได้ในการบวช


พระภิกษุ สามเณรใด ที่มีหิริ โอตตัปปะ ถึงแม้จะมีกิเลสทั้ง ๓ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่ในใจเหมือนกัน แต่มีคุณธรรมประจำใจ คือ หิริ โอตตัปปะ ละอาย  ต่อบาป เกรงกลัวต่อบาป คุ้มครองจิตอยู่ จึงสามารถยับยั้งกิเลสไว้ได้ ไม่พากาย วาจา ใจ ทำความชั่วต่างๆ ที่ผิดศีลผิดธรรม หรือผิดกฎหมาย จะมีความสำรวมกาย วาจา เรียบร้อย เป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไป และเป็นตัวอย่างที่ดี ของพระภิกษุ สามเณร ท่านเหล่านี้จะอยู่อย่างมีความสุข เพราะมีหิริ โอตตัปปะ ธรรมที่คุ้มครองโลกอยู่ในใจ จะประพฤติปฏิบัติธรรมตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เจริญรุ่งเรืองต่อไป


เพราะฉะนั้น พระภิกษุ สามเณร นักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่เรียกตนเองว่า นักปฏิบัติธรรม ทั้งหลาย และพุทธศาสนิกชน ทุกชั้นวรรณะ ทุกเพศ ทุกวัย สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาคำสอนของ องค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า แต่ละบทให้รู้แจ้งว่ามีประโยชน์อย่างไร แล้วนำคำสอนบทนั้นมาปฏิบัติตาม ผู้ที่ปฏิบัติตามเท่านั้น ที่จะรู้ว่า     คำสอนของพระองค์ท่าน มีค่าเหนือสิ่งอื่นใดในโลกนี้


ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. มีความโลภครอบงำจิต อยากได้ของ ของผู้อื่นมาเป็นของตน จิตก็คิดแต่จะขโมย นาย ก. ไม่มีหิริ โอตตัปปะ นาย ก.จึงทำการขโมยได้สำเร็จ เมื่อขโมยของผู้อื่นมาได้แล้ว นาย ก. เป็นทุกข์มาก กลัวตำรวจจับเข้าคุก จึงต้องหลบหนีออกจากบ้าน ทิ้ง พ่อแม่ ภรรยา ลูก ไปอยู่ที่อื่น ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน เพราะ นาย ก. ไม่มีคุณธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ คือหิริ โอตตัปปะ คุ้มครองจิต จึงทำให้นาย ก. เป็นหัวขโมย นี้คือตัวอย่างของผู้ที่ไม่มีหิริ โอตตัปปะ เป็นคุณธรรมประจำใจ


อีกตัวอย่างหนึ่ง  นาย ข. มีความโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน แต่นาย ข. มีคุณธรรมประจำใจอยู่บ้าง คือ มีหิริ โอตตัปปะ  


นาย ข. มีความละอายต่อบาป มีความเกรงกลัวต่อบาป นาย ข.จะไม่กล้าไปขโมยทรัพย์สิน ของผู้อื่นอย่างแน่นอน ในเมื่อ นาย ข.ไม่ทำความชั่ว นาย ข.ไม่ต้องหลบหนีตำรวจ นาย ข. ก็อยู่กับครอบครัวอย่างมีความสุขสบาย  นี้คือตัวอย่างผู้ที่มีหิริ โอตตัปปะเป็นคุณธรรมประจำใจ 


ถ้าทุกคนในบ้าน ในหมู่บ้าน ในตำบล ในอำเภอ ในจังหวัด ในประเทศ และในโลก มีหิริ โอตตัปปะ ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาป ทุกคนในโลกนี้ ก็จะอยู่อย่างสงบสุขถ้วนหน้า   เพราะมีธรรมทั้ง ๒ ประการนี้ เป็น ธรรมที่คุ้มครองโลก


ท้ายนี้แม่ขออัญเชิญ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ และเทพเทวาทั้งหลาย จงปกปักรักษา ลูก ๆ ของแม่  ให้มีความสุข  ความเจริญ พ้นจากทุกข์ภัยไข้เจ็บ  และอันตรายต่าง ๆ  มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ  ลูกปรารถนาสิ่งใดในสิ่งที่ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม ขอให้สมความมุ่งมาดปรารถนาทุกประการ  ขอให้ลูกมีมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ  ขอให้ลูก มีปัญญาอันเป็นเลิศ  มีดวงตาเห็นธรรม ปฏิบัติจนสำเร็จมรรคผลนิพพาน เข้าสู่แดนวิมุต หลุดพ้นในชาตินี้ด้วยกัน...ทุก ๆ คน...นะลูกนะ...


 


บรรณานุกรม


 


๑)  นวโกวาท  ( ฉบับประชาชน )  สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณ   วโรรส  โรงพิมพ์  มหามกุฏราชวิทยาลัย  หน้า     วัดบวรนิเวศน์วิหาร  กรุงเทพฯ             พลอากาศเอก  หะริน  หงสกุล  ผู้พิมพ์      ผู้โฆษณา  .. ๒๕๔๓


๒)  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. ๒๕๔๒  จัดพิมพ์โดย  บริษัท       นานมีบู๊คส์  พับลิเคชั่นส์  จำกัด  ๙๔๗ / ๑๕๘-๑๕๙  หมู่  ๑๒ ถนน บางนา-ตราด เขต     บางนา แขวงบางนา  กรุงเทพฯ (๑๐๒๖๐)  พ.ศ. ๒๕๔๖


 


 


 


 


 


 


 


 

Page : 1
Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
รูปภาพ
(นามสกุลไฟล์ควรเป็น [ jpg , jpeg , gif ] และไฟล์ไม่เกิน 3 MB.)
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view