http://www.porjarearntum.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ05/04/2009
อัพเดท06/09/2022
ผู้เข้าชม687,051
เปิดเพจ935,408

บริการ

หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ติดต่อเรา

บทกลอนธรรมะ

จูงมือลูกเดิน

ระลึกได้และรู้ตัวหมายความว่าอย่างไร

รัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

อันตรายของภิกษุ สามเณร ผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง

ความจริงอันประเสริฐที่ควรรู้ ๔ ประการ

ธรรมะอันทำให้งาม มี ๒ ประการ

ธรรมคุ้มครองโลก

เสียงเทศน์ทำใหม่ล่าสุด

วงล้อแห่งพระธรรมที่นำไปสู่ความเจริญ ๔ อย่าง

ทุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

สุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

วิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการ หมายความว่าอย่างไร

คุณของรัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด

มูลเหตุของความโง่เขลา

มูลเหตุของความฉลาด

ท่านรู้จักตนเองว่ามีกิเลสหรือไม่ ต้องพิจารณาอย่างไร

ท่านรู้จักมนุษย์ ๔ ประเภทหรือยัง ?

คิดดี พูดดี ทำดี

ความสุข ความทุกข์ ความสบาย แตกต่างกันอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ

ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบและเกิดปัญญา

ศาสนาคืออะไร

ป่วยกาย ป่วยใจ หมายความว่าอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ (เนื้อหา)

ทำความดีเพื่ออะไร

คุณธรรม ๕ ประการ สนับสนุนความสำเร็จ

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมายความว่าอย่างไร

ศีล ในพระพุทธศาสนา ๒๒๗ ข้อ ภาคภาษาไทย อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ปัจจัย ๔ รูปธรรม และ ปัจจัย ๔ นามธรรม

มนุษย์ เป็นโรค ๔ อย่าง บ้า ใบ้ บอด หนวก

ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาปหมายความว่าอย่างไร

ระวังจิต ระวังอารมณ์ หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา มีจริงหรือไม่

จิตสงบ จิตว่าง แตกต่างกันอย่างไร

อยากรู้ อยากห็น อยากเป็น อยากไป หมายความว่าอย่างไร

มืดมามืดไป และสว่างมาสว่างไป หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่มีมาก ทำให้น้อยลง สิ่งที่มีอยู่ทำให้หมดไป

ความเห็นแก่ตัว กับการรักตัวเอง

ท่านพบเห็นเมืองพอแล้วหรือยัง

การทำความชั่วเพราะเหตุ ๔ ประการ

รู้จด รู้จำ รู้แจ้ง หมายความว่าอย่างไร

สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ฟังธรรมเป็นยาฉีด จริงหรือ

ผู้ที่ไม่แต่งงาน จะตกนรก จริงหรือไม่

มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ

ก็ต้อง ก็ได้ ก็ดี หมายความว่าอย่างไร

บันใด ๘ ขั้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

งามทั้ง กาย วาจา ใจ

ผู้ที่ฝีกสมาธินาน ๆ ไม่เกิดปัญญาเพราะเหตุใด

คิดอย่างไรจึงไม่เกิดทุกข์

จิตใต้สำนึก

คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ

ทำใจ หมายความว่าอย่างไร

ประเพณีงานศพที่ถูกต้อง... เหตุใดจึงต้องเผาศพ...

ความเบื่อของปุถุชนกับความเบื่อของพระอริยะ

พระราชดำรัส คุณธรรม ๔ ประการ(เนื้อหา)

มีสิ่งใด สิ่งนั้นก็เสื่อม

บวชเพื่ออะไร

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือ

ทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์

บุคคลที่หาได้ยาก ความกตัญญูกตเวที

การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดหรือถูก...

ความหวัง

มืดมาสว่างไป สว่างมามืดไป หมายความว่าอย่างไร

ผู้ที่ขัดขวางการปฏิบัติธรรม มีโทษอย่างไร

แผ่นพับธรรมะ

อยากรู้ อยากห็น อยากเป็น อยากไป หมายความว่าอย่างไร

อยากรู้   อยากเห็น   อยากเป็น   อยากไป 

ไม่อยากรู้  ไม่อยากเห็น  ไม่อยากเป็น  ไม่อยากไป  หมายความว่าอย่างไร

(คลิกเพื่อดูในแบบ PDF) 

 

อยากรู้   อยากเห็น   อยากเป็น   อยากไป 

 

๑)  ผู้ที่อยากรู้   หมายถึง  ผู้ใดนับถือศาสนาพุทธ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ต้องรู้ว่า  พระพุทธเจ้าทรงสอนอะไรไว้บ้าง  มีประโยชน์ หรือมีโทษอย่างไร  ชาวพุทธศาสนิกชนต้องศึกษาหาความรู้  จากท่านผู้รู้  ครู อาจารย์  หรือตำรับ ตำรา ให้เข้าใจเจตนาของพระองค์ท่านว่า  คำสอนแต่ละบทที่พระองค์ท่านทรงสอนไว้มีค่า  มีประโยชน์กับ ผู้ที่อยากรู้อย่างไรบ้าง  เมื่อศึกษาแล้วได้รู้ ได้เข้าใจในเจตนาของพระพุทธองค์ เป็นอย่างดีแล้ว  ก็ตั้งใจนำแต่ละบทมาประพฤติ ปฏิบัติตามเสมอ ๆ ให้รู้แจ้งเห็นจริงนี้คือ “ผู้อยากรู้”

๒)  ผู้ที่อยากเห็น  หมายถึง  ผู้ใดเป็นผู้ที่รู้ในบทสอน  ของพระองค์ท่านแล้ว ก็นำบทนั้น ๆ มาปฏิบัติตามให้เห็นจริง  เช่น พระองค์ท่าน ทรงสอนว่า ให้มนุษย์มีสติสัมปชัญญะ มีหิริ  โอตตัปปะ  มีขันติ  โสรัจจะ  มีพรหมวิหาร  ๔  เป็นต้น  นี้เป็นเพียงบทสอนขั้นต้นบางบทเท่านั้น  ผู้ใดประพฤติ  ปฏิบัติตามแต่ละบทได้อย่างสมบูรณ์  ก็จะเป็นผู้ที่มีคุณธรรมเหล่านั้น  ประจำกาย  วาจา  ใจ  หรือพระองค์สอนให้รู้จัก  การให้ทาน  รู้จักการนำศีลมารักษากาย  วาจา  ให้สะอาดปราศจากความชั่ว  ตามศีลแต่ละข้อ  และนำคุณธรรม  มารักษาใจให้สะอาด  เช่น ศีล ๕  ธรรม ๕ เป็นต้น  พระพุทธองค์ทรงสอนไว้มากมายรวม  ๘๔,๐๐๐  บท  ผู้ใดอยากเห็นมากก็ปฏิบัติธรรมให้มากตามสมควรแก่ตน  ผู้นั้นก็จะรู้แจ้ง  เห็นจริงตามคำสอนเหล่านั้น  ผู้ที่อยากเห็นประโยชน์  จากการประพฤติปฏิบัติจริง ๆ  ต้องเริ่มต้นตั้งแต่หลักคำสอนของพระพุทธศาสนา  คือ  ทาน  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  ให้รู้ความหมายทั้ง  ๔  ข้อนี้เสียก่อน  เราจะเห็นจริงว่า  พระองค์ท่าน สอนให้มนุษย์ละชั่วประพฤติดี  และชำระจิตใจให้สะอาดปราศจากกิเลสทั้งสามอย่าง คือ ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต  เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงนั้นเอง  พระองค์ท่าน  มีเจตนาทรงสอนให้มนุษย์รู้ทางดับทุกข์  เมื่อทุกข์หมดสิ้นไปจากจิตใจ  เป็นพระอริยะแล้ว  ถึงเวลาตายก็ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิด  เป็นมนุษย์และสัตว์อีกต่อไป 
นี้คือ ผู้ที่  “ อยากเห็น ”

๓)  ผู้ที่อยากเป็น    หมายถึง  เมื่อรู้  เมื่อเห็นแล้วว่า  คำสอนของพระพุทธองค์สามารถทำให้มนุษย์ปุถุชน เป็นพระอริยะได้  จึงทำให้ผู้มีปัญญาอยากเป็นพระอริยะ  เมื่ออยากเป็นพระอริยะ   จริง ๆ  ก็ต้องนำคำสอนของพระพุทธองค์  มาชำระกิเลสแต่ละข้อเช่น

ความโกรธ  คือ ความไม่พอใจ  ขุ่นเคือง  อาฆาต พยาบาท  ปองร้าย  ต้องนำอภัยทาน  และ ความเมตตา (คือความรัก)   กรุณา (คือความสงสาร)  มาสอนใจ ให้คลายความโกรธ  และนำบทสอนอื่น ๆ อีกมากมาย  ที่ช่วยให้ความโกรธ ลดลง  ผู้ใดอยากเป็นพระอริยะ  ต้องชำระความโกรธให้ลดน้อยลง  และหมดไปในที่สุดนี้คือ   ผู้ที่  “อยากเป็น ”

ความโลภ  คือ ความอยากได้  สิ่งต่าง ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด  มีแต่ความทุกข์  ความระทม    ขมขื่น  อยู่ตลอดเวลา  ต้องนำคำสอนของพระพุทธองค์มาพิจารณา  คือความสันโดษ (ความมัก -น้อย) ให้เป็นสันดาน  พอใจในสิ่งที่มี  ที่ได้  ที่เป็น  เพราะสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้  เมื่อเกิดขึ้นแล้ว  ตั้งอยู่  และดับไปในที่สุด  พิจารณาว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่ใช่ของเรา  และไม่ใช่ของใครทั้งสิ้น  เมื่อทุกคนตายแล้วเอาทรัพย์สมบัติหรือสิ่งต่าง ๆ ไปไม่ได้เลยแม้แต่อย่างเดียว   มีเพียงกรรมดีและกรรมชั่วเท่านั้นที่จะติดตัวตามตนไป  ในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป  เราต้องพิจารณาต่อไปอีกว่า

ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้  ล้วนเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้แน่นอนต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา  และยังเป็นทุกข์  เมื่อมีตัวเรา  มียศถาบรรดาศักดิ์  มีทรัพย์สมบัติเงินทองและสิ่งต่าง ๆ  ก็กลัวตาย      กลัวหาย  กลัวหมด  ล้วนแล้วแต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น  ไม่มีอะไรจะจีรังยั่งยืน  แม้แต่ตัวเราก็ต้องตายไปในที่สุด  เมื่อพิจารณาได้ดังนี้แล้ว  ก็นำการให้ทาน มาปฏิบัติตามอีก คือการแบ่งปัน ปัจจัยสี่  (อาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค)   หรือทรัพย์สมบัติต่าง ๆ  ที่เรามีอยู่  ให้กับผู้ที่ควรให้ เช่น  พระภิกษุ สามเณร พ่อ แม่ ครู อาจารย์ ปู่ย่า ตายาย  ผู้พิการ  ผู้ด้อยโอกาส  ผู้ยากจนเข็ญใจ  ผู้ตกทุกข์ได้ยากทั่วไป เป็นต้น  หรือบริจาคสร้างสาธารณประโยชน์อื่น ๆ  ให้ทานเท่าที่เราสามารถแบ่งปันให้ได้  อย่าให้ตนเองต้องเดือดร้อน  เพื่อลดความตระหนี่เหนียวแน่น  และความ  ลุ่มหลงมัวเมาในทรัพย์สมบัติเงินทองลง  เมื่อแบ่งปันเป็นประจำ  จะทำให้ความโลภในทรัพย์สมบัติลดน้อยลง  ผู้ที่อยากเป็นพระอริยะ  ต้องชำระความโลภให้น้อยลง และหมดไปในที่สุด  นี้คือ ผู้ที่ “อยากเป็น ”

ความหลง  คือ  ความเข้าใจผิด  คิดว่าความรักใคร่พอใจในสิ่งต่าง ๆ  แล้วยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นสิ่งที่วิเศษสุดของตน    เกิดความลุ่มหลงมัวเมา เมื่อมีทรัพย์สมบัติเงินทองมาก  มียศสูง ๆ ก็คิดว่าตนเองดีเลิศเหนือกว่าผู้อื่น  หลงในลาภ ยศ สรรเสริญ  สุข  หลงใน รูป เสียง  กลิ่น รส สัมผัส  ธรรมารมณ์  พอใจรักใคร่ในสิ่งต่าง ๆ หลงตนเองว่า  เป็นตัวเป็นตน  เพราะมีอำนาจกิเลส คือ   ความโลภ  ความโกรธ  ความหลงครอบงำจิตใจอยู่ตลอดเวลา  จึงเป็นได้แค่ปุถุชนคนธรรมดาเท่านั้น  เพราะฉะนั้น  ผู้ใดอยากเป็นพระอริยะ  ต้องชำระกิเลสความหลงนี้ให้น้อยลงและหมดไป  จึงจะเข้าสู่แดนวิมุต  หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้ เพราะฉะนั้นต้องนำคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า  มาพิจารณาให้เห็นเป็นความจริงว่า  ร่างกายของเรานั้นประกอบไปด้วยธาตุ ๔  ขันธ์  ๕  เท่านั้น ไม่ใช่ตัวตน  จงพิจารณาให้เห็นว่า ร่างกายของเรามีธาตุดิน  ธาตุน้ำ ธาตุลม  ธาตุไฟ  และอาการ  ๓๒  ประกอบกันเป็น รูป เรียกว่า รูปธรรม เป็นขันธ์ที่ ๑  อีก ๔ ขันธ์เป็นนามธรรม มีดังนี้  

     เวทนา เป็นขันธ์ที่ ๒  หมายถึง ความทุกข์  ความสุข  อุเบกขา  ( ความรู้สึกเฉย ๆ )

            - ความสุข   คือความรู้สึกสบายกาย  สบายใจ หรือความพอใจในสิ่งต่าง ๆ

            - ความทุกข์  คือความไม่สบายกาย  ไม่สบายใจ

            - อุเบกขา (ความรู้สึกเฉย ๆ ) คือไม่ทุกข์กาย ไม่ทุกข์ใจ ไม่ดีใจไม่เสียใจกับสิ่งใด ๆ

     สัญญา  เป็นขันธ์ที่  ๓    หมายถึงความจำได้  หมายรู้  คือจำทุกข์กาย  ทุกข์ใจ  จำสุขกาย  สุขใจ 
                จำรูป  เสียง กลิ่น  รส  สัมผัส  ธรรมารมณ์ ( อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางใจ )

     สังขาร  เป็นขันธ์ที่ ๔ หมายถึงเครื่องปรุงแต่งจิต  คือกิเลสทั้ง ๓ อย่าง มี ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง 

            - ความโลภ หมายถึง กิเลสที่ปรุงแต่งจิตให้มีความอยากได้ สิ่งต่าง ๆ มากขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด

            - ความโกรธ  หมายถึง กิเลสที่ปรุงแต่งจิตให้มีความไม่พอใจ ขุ่นเคือง โกรธแค้นเกลียดชัง อาฆาต พยาบาท  ปองร้ายต่อผู้อื่น

            - ความหลง  หมายถึง กิเลสที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดความรักใคร่พอใจ  ในสิ่งที่มากระทบ  ทางตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ  แล้วเกิดความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น เพราะความเข้าใจผิด  คิดว่ามีทุกอย่างแล้วจะเป็นสุข  แท้ที่จริงแล้วเป็นทุกข์ทั้งสิ้น

      วิญญาณ เป็นขันธ์ที่  ๕    หมายถึง การรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบ  กระทบตาก็รับรู้ว่าเป็นรูปอะไร  สวยงามหรือไม่สวยงาม, กระทบหูก็รับรู้ว่าเป็นเสียง  ไพเราะหรือไม่ไพเราะ,  กระทบจมูกก็รับรู้ว่าเป็นกลิ่น หอมหรือเหม็น, กระทบลิ้นก็รับรู้ว่าเป็นรส เปรี้ยว  หวาน  มัน  เค็ม, กระทบกายก็รับรู้ถึงการสัมผัส เย็น  ร้อน  อ่อน  แข็ง,  กระทบทางใจ ก็รู้สึกว่าพอใจหรือไม่พอใจ  เป็นสุขหรือเป็นทุกข์

            นามธรรม ที่เป็นขันธ์ทั้ง  ๔  นี้เข้ามารวมกันกับรูป ที่เป็นขันธ์ที่ ๑ จึงทำให้มนุษย์เคลื่อนไหวได้ และยัง  คิด  พูด ทำสิ่งต่าง ๆ ได้ดังที่ปรากฏขึ้นแล้ว  กับมวลมนุษย์ทั้งหลายในปัจจุบัน หรือที่เรียกว่า “ คน ”

เพราะฉะนั้นผู้ที่อยากเป็นอริยชนหรือพระอริยะ  มีความจำเป็นมากที่ต้องชำระกิเลส คือ ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ให้ลดน้อยลง เพื่อเป็นพระอริยะตามลำดับ ต้น ๆ จาก พระโสดาบัน  เป็น  พระสกทาคามี  เป็นพระอนาคามี  เมื่อชำระกิเลสให้หมดสิ้นไปจากจิตใจแล้วเป็น  พระอรหันต์  เมื่อละสังขารแล้ววิญญาณ  ก็จะ เข้าสู่แดนวิมุตหลุดพ้น ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอีกต่อไป  หรือที่เรียกว่า เข้าสู่พระนิพพาน  ไปในที่สุด นี้คือ ผู้ที่  “อยากเป็น ”

๔)  ผู้ที่อยากไป  หมายถึง ผู้ที่รู้แจ้งเห็นจริงเป็นพระอริยะแล้ว  คิดได้ปลงตก ตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า  เห็นทุกข์มาก ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เห็นสัจธรรมคือความจริงที่เกิดขึ้นกับสัตว์โลกอย่างแท้จริง ไม่ต้องการมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์อีกต่อไป จึงอยากไปพระนิพพาน เพราะรู้ว่าเป็นแดนแห่งความสบาย ชั่วนิจนิรันดร  ส่วน พระนิพพาน นั้น หมายถึง สถานที่อยู่ของจิตอันบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส ทั้งหลายทั้งปวง เปรียบเหมือนเรามีเมล็ดข้าวเปลือกอยู่จำนวนหนึ่ง  นำไปกะเทาะเปลือกออก  กลายเป็นข้าวกล้อง  เมื่อนำข้าวกล้องไปขัด  กลายเป็นข้าวสาร นำข้าวสาร ไปบดให้ละเอียดกลายเป็นแป้ง  นำแป้งโยนขึ้นไปบนท้องฟ้า  แป้งก็จะกระจายหายไปในอากาศ  ไม่สามารถรวมตัวกัน เป็นแป้ง เป็นข้าวสาร  เป็นข้าวกล้อง เป็นข้าวเปลือกได้อีกต่อไปฉันใด  เปรียบเหมือนผู้ที่ปฏิบัติธรรม  ชำระกิเลส ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง ให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ  เข้าสู่แดนวิมุตหลุดพ้นเป็นพระอรหันต์ เมื่อละสังขารแล้ว   จิตวิญญาณก็จะเข้าสู่แดนพระนิพพาน ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดเป็นมนุษย์และสัตว์อีกต่อไป ฉันนั้น  นี้คือผู้ที่ “ อยากไป ”

ส่วนผู้ที่  อยากรู้   อยากเห็น  อยากเป็น  อยากไปนั้น  เป็นผู้ที่มีปัญญาเฉลียวฉลาด  พยายามศึกษาพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า  จากผู้รู้  ครู อาจารย์  ตำรับ ตำราต่าง ๆ ให้เข้าใจ และประพฤติปฏิบัติตาม จนรู้แจ้งเห็นจริงอย่างถ่องแท้  ทำให้เกิดปัญญาอันเป็นเลิศ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ในตัวตน  ไม่ลุ่มหลงมัวเมา ในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ในรูป เสียง กลิ่น รส  สัมผัส ธรรมารมณ์  เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้  ล้วนแล้วแต่เป็น อนิจจัง ความไม่เที่ยงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา  ทุกขังคือความทุกข์ที่เกิดจากการมีทุกสิ่งทุกอย่าง  ในที่สุดทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นอนัตตา สูญสลายไปหมดทั้งสิ้น  แม้แต่ตัวเราก็ต้องตาย  และไม่สามารถเอาอะไรติดตัวตามตนไปได้เลย  นอกจากกรรมดีหรือกรรมชั่ว ที่ได้ทำไว้ขณะยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น  นอกจากผู้ใดสามารถชำระกิเลสทั้ง ๓ อย่าง คือ ความโลภ  ความโกรธ ความหลง ให้หมดสิ้นไปจากจิตใจแล้ว เข้าสู่แดนวิมุตหลุดพ้นไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป  เข้าสู่ “ พระนิพพาน ”  นี้คือจุดหมายปลายทางของผู้ที่ “ อยากรู้   อยากเห็น  อยากเป็น  อยากไป

 

ไม่อยากรู้  ไม่อยากเห็น  ไม่อยากเป็น  ไม่อยากไป  

๑)  ผู้ที่ไม่อยากรู้   หมายถึง  ผู้ใดที่นับถือพุทธศาสนาแต่เพียงในนาม หรือนับถือตามประเพณี โดยไม่ได้สนใจ ศึกษาหลักพระธรรมคำสอนว่า พระพุทธองค์ทรงสอนอะไรไว้บ้าง มีประโยชน์ หรือมีโทษอย่างไร  ถึงแม้ผู้นั้นจะมีฐานะร่ำรวย  มียศสูง  มีการศึกษาถึงระดับปริญญาเอกแล้วก็ตาม  กลับเข้าใจผิดคิดว่าตนเองดีเลิศ ประเสริฐเหนือกว่าคนอื่นแล้ว  ยินดีพอใจในฐานะความเป็นอยู่ในสังคม  แบบปุถุชนคนธรรมดาทั่วไป  ก็แสวงหา ลาภ  ยศ  สรรเสริญ  สุข ไม่สนใจใยดีที่จะศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ให้รู้จริง  เป็นเพียงผู้รู้ทางโลกเท่านั้น ไม่มีความรู้ทางธรรม  จึงไม่เห็นประโยชน์ของพระธรรมคำสอนเลย  นี้คือผู้ที่ “ ไม่อยากรู้”

๒)  ผู้ที่ไม่อยากเห็น  หมายถึง  เมื่อผู้ใดไม่สนใจใคร่รู้  ไม่ศึกษาพระธรรมคำสอน ของ    พระพุทธองค์  ก็ไม่เข้าใจในบทสอน  จึงไม่สามารถจะนำบทสอนนั้น ๆ มาปฏิบัติให้เห็นจริงตามพระองค์ท่านได้  เป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา  ไม่มีศีล ไม่มีธรรมประจำกาย วาจา ใจ เช่น คิดอยากฆ่าสัตว์ก็ฆ่า โดยไม่มีความเมตตา(ความรัก) ไม่มีความกรุณา (ความสงสาร) ต่อมนุษย์และสัตว์  คิดอยากได้ทรัพย์สมบัติของใครก็ ปล้น จี้ ลัก ฉกชิงวิ่งราว ทุจริตคดโกง มีอาชีพที่ทุจริต โดยนำปัจจัยสี่ของผู้อื่นมาเลี้ยงตนเองไม่ประกอบอาชีพที่สุจริต  เห็นใครสวย ใครหล่อถูกใจ  ไม่ว่าจะเป็นสามีภรรยาผู้ใด  ก็แย่งชิงมาเป็นของตน  เพราะเป็นคนมักมากในกาม   คิดอยากจะพูดโกหก หลอกลวงหรือด่าใคร  พูดเพ้อเจ้อ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ ก็พูดโดยไม่มีสัจจะความจริงใจ  คิดอยากจะดื่มสุรา  เสพยาเสพติดก็ทำ  โดยไม่มีสติอันรอบคอบ  ไม่คำนึงถึงบาปกรรม และโทษทัณฑ์ที่จะได้รับ  จึงเป็นผู้ที่ไม่มีศีล  ไม่มีธรรม  ขาดคุณธรรมประจำใจ  ขาดจริยธรรมประจำกาย วาจา  ไม่ละอายต่อบาป  ไม่เกรงกลัวต่อบาป สามารถทำผิดคิดชั่วได้ตลอดเวลา ดังที่เราได้พบเห็นในสังคมปัจจุบัน  จึงไม่มีปัญญาที่จะรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรม ตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
นี้คือ ผู้ที่  “ ไม่อยากเห็น ” 

๓)  ผู้ที่ไม่อยากเป็น  หมายถึง  ผู้ที่ไม่รู้ตามพระธรรมคำสอน ไม่มีปัญญาที่จะเห็นว่า คำสอนของพระพุทธองค์สามารถทำให้มนุษย์ปุถุชน
เป็นพระอริยะได้  เพราะ ผู้นั้น ถูกกิเลสทั้ง ๓ อย่าง  คือ ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ครอบงำจิตใจ ลุ่มหลงมัวเมา ในลาภ ยศ  สรรเสริญ สุข  พอใจรักใคร่ใน รูป เสียง  กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์  ยินดีในความเป็นมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดา  ไม่มีปัญญาที่จะชำระกิเลส อันเป็นเครื่องเศร้าหมองให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ จึงต้องทุกข์ทรมานเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารไม่รู้จบสิ้น ไม่มีโอกาสที่จะเป็นพระอริยะได้เลย นี้คือ ผู้ที่ “ไม่อยากเป็น ” 

๔)  ผู้ที่ไม่อยากไป  หมายถึง  ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาให้รู้แจ้ง  ไม่ประพฤติปฏิบัติให้เห็นจริง  ตามคำสอนของพระพุทธองค์  จึงไม่สามารถชำระกิเลสให้หมดสิ้นไปจากจิตใจได้  ทำให้ตกเป็นทาสของกิเลส  ลุ่มหลงมัวเมา  ในลาภ  ยศ  สรรเสริญ  สุข ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์  พอใจในความเป็นปุถุชน  ไม่อยากไปพระนิพพาน เพราะไม่รู้  ไม่เห็นว่าคำสอนของพระองค์สามารถชำระกิเลสได้  จึงไม่อยากเป็นพระอริยะ  เพราะไม่รู้ ไม่เห็นว่าพระอริยะนั้นเป็นผู้ห่างไกลจากกิเลส  เมื่อละสังขารแล้ววิญญาณก็ต้อง ไปสู่แดนพระนิพพาน  ซึ่งเป็นแดนแห่งความสุขสงบสบายชั่วนิจนิรันดร   ด้วยขาดปัญญาที่ทำให้ไม่อยากรู้  ไม่อยากเห็น ไม่อยากเป็น จึงทำให้ไม่อยากไปพระนิพพาน นี้คือ ผู้ที่  “ ไม่อยากไป ”

ดังนั้น ผู้ที่ไม่อยากรู้ ไม่อยากเห็น ไม่อยากเป็น ไม่อยากไป  จึงถูกกิเลสทั้ง ๓ อย่าง คือ ความโลภ ความโกรธ  ความหลง  ครอบงำจิตใจ ทำให้คิดชั่ว  พูดชั่ว ทำชั่ว  ได้ตลอดเวลา  แม้แต่จะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกก็ยาก  โอกาสที่จะไปสวรรค์หรือไปพระนิพพานนั้นอย่าหวัง  ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมาเวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จบสิ้น   ถึงแม้บางคนที่บอกว่าเมื่อตายแล้วไม่อยากมาเกิดอีก  หรือไม่อยากไปไหนทั้งนั้น  อันที่จริงแล้วเราไม่สามารถที่จะกำหนดชะตาชีวิตของเราได้เลย  เพราะทุกคนจะต้องไปตามกฎแห่งกรรมดีหรือกรรมชั่วที่ได้ทำไว้ขณะเป็นมนุษย์   ถ้าทำชั่วมากต้องไปเกิดในอบายภูมิ  ๔  คือ เปรต  นรก  อสุรกาย  สัตว์เดรัจฉาน  ต้องทนทุกข์ทรมานไม่มีที่สิ้นสุดอย่างแน่นอน  นี้คือจุดหมายปลายทางของ 
ผู้ที่  “ ไม่อยากรู้  ไม่อยากเห็น  ไม่อยากเป็น  ไม่อยากไป ”

ขอท่านทั้งหลายจงพิจารณาไตร่ตรอง  ด้วยสติปัญญาของท่านเองเถิดว่า  ท่านจะเลือกเป็นคนประเภทใด  ระหว่าง  ผู้ที่ “ อยากรู้   อยากเห็น  อยากเป็น  อยากไป กับ   ผู้ที่ “ ไม่อยากรู้  ไม่อยากเห็น  ไม่อยากเป็น  ไม่อยากไป   ก็สุดแท้แต่ท่านจะเลือกเถิด

 

 

 

บรรณานุกรม 

 

๑)  นวโกวาท  ( ฉบับประชาชน )  สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณ   วโรรส  โรงพิมพ์  มหามกุฏราชวิทยาลัย  หน้า     วัดบวรนิเวศน์วิหาร  กรุงเทพฯ  พลอากาศเอก  หะริน  หงสกุล  ผู้พิมพ์      ผู้โฆษณา  พ.ศ. ๒๕๔๓

๒)  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. ๒๕๔๒  จัดพิมพ์โดย  บริษัท นานมีบู๊คส์  พับลิเคชั่นส์  จำกัด  ๙๔๗ / ๑๕๘-๑๕๙  หมู่  ๑๒ ถนน บางนา-ตราด เขตบางนา         แขวงบางนา  กรุงเทพฯ (๑๐๒๖๐)  พ.ศ. ๒๕๔๖

 

 

ท้ายนี้แม่ขออัญเชิญ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ และเทพเทวาทั้งหลาย จงปกปักรักษา ลูก ๆ ของแม่  ให้มีความสุข  ความเจริญ พ้นจากทุกข์ภัยไข้เจ็บ  และอันตรายต่าง ๆ  มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ  ลูกปรารถนาสิ่งใดในสิ่งที่ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม ขอให้สมความมุ่งมาดปรารถนาทุกประการ  ขอให้ลูกมีมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ  ขอให้ลูก มีปัญญาอันเป็นเลิศ  มีดวงตาเห็นธรรม ปฏิบัติจนสำเร็จมรรคผลนิพพาน เข้าสู่แดนวิมุต หลุดพ้นในชาตินี้ด้วยกัน...ทุก ๆ คน...นะลูกนะ...

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view