http://www.porjarearntum.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ05/04/2009
อัพเดท06/09/2022
ผู้เข้าชม707,012
เปิดเพจ958,010

บริการ

หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ติดต่อเรา

บทกลอนธรรมะ

จูงมือลูกเดิน

ระลึกได้และรู้ตัวหมายความว่าอย่างไร

รัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

อันตรายของภิกษุ สามเณร ผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง

ความจริงอันประเสริฐที่ควรรู้ ๔ ประการ

ธรรมะอันทำให้งาม มี ๒ ประการ

ธรรมคุ้มครองโลก

เสียงเทศน์ทำใหม่ล่าสุด

วงล้อแห่งพระธรรมที่นำไปสู่ความเจริญ ๔ อย่าง

ทุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

สุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

วิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการ หมายความว่าอย่างไร

คุณของรัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด

มูลเหตุของความโง่เขลา

มูลเหตุของความฉลาด

ท่านรู้จักตนเองว่ามีกิเลสหรือไม่ ต้องพิจารณาอย่างไร

ท่านรู้จักมนุษย์ ๔ ประเภทหรือยัง ?

คิดดี พูดดี ทำดี

ความสุข ความทุกข์ ความสบาย แตกต่างกันอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ

ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบและเกิดปัญญา

ศาสนาคืออะไร

ป่วยกาย ป่วยใจ หมายความว่าอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ (เนื้อหา)

ทำความดีเพื่ออะไร

คุณธรรม ๕ ประการ สนับสนุนความสำเร็จ

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมายความว่าอย่างไร

ศีล ในพระพุทธศาสนา ๒๒๗ ข้อ ภาคภาษาไทย อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ปัจจัย ๔ รูปธรรม และ ปัจจัย ๔ นามธรรม

มนุษย์ เป็นโรค ๔ อย่าง บ้า ใบ้ บอด หนวก

ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาปหมายความว่าอย่างไร

ระวังจิต ระวังอารมณ์ หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา มีจริงหรือไม่

จิตสงบ จิตว่าง แตกต่างกันอย่างไร

อยากรู้ อยากห็น อยากเป็น อยากไป หมายความว่าอย่างไร

มืดมามืดไป และสว่างมาสว่างไป หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่มีมาก ทำให้น้อยลง สิ่งที่มีอยู่ทำให้หมดไป

ความเห็นแก่ตัว กับการรักตัวเอง

ท่านพบเห็นเมืองพอแล้วหรือยัง

การทำความชั่วเพราะเหตุ ๔ ประการ

รู้จด รู้จำ รู้แจ้ง หมายความว่าอย่างไร

สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ฟังธรรมเป็นยาฉีด จริงหรือ

ผู้ที่ไม่แต่งงาน จะตกนรก จริงหรือไม่

มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ

ก็ต้อง ก็ได้ ก็ดี หมายความว่าอย่างไร

บันใด ๘ ขั้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

งามทั้ง กาย วาจา ใจ

ผู้ที่ฝีกสมาธินาน ๆ ไม่เกิดปัญญาเพราะเหตุใด

คิดอย่างไรจึงไม่เกิดทุกข์

จิตใต้สำนึก

คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ

ทำใจ หมายความว่าอย่างไร

ประเพณีงานศพที่ถูกต้อง... เหตุใดจึงต้องเผาศพ...

ความเบื่อของปุถุชนกับความเบื่อของพระอริยะ

พระราชดำรัส คุณธรรม ๔ ประการ(เนื้อหา)

มีสิ่งใด สิ่งนั้นก็เสื่อม

บวชเพื่ออะไร

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือ

ทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์

บุคคลที่หาได้ยาก ความกตัญญูกตเวที

การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดหรือถูก...

ความหวัง

มืดมาสว่างไป สว่างมามืดไป หมายความว่าอย่างไร

ผู้ที่ขัดขวางการปฏิบัติธรรม มีโทษอย่างไร

แผ่นพับธรรมะ

บันใด ๘ ขั้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

บันได  ๘  ขั้น  สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม  เพื่อความหลุดพ้น


         สำหรับ  ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น  ต้องมีคุณธรรมประจำกาย วาจา  ใจ  ต้องมีสติปัญญารอบรู้ 

รู้เหตุของการเกิดทุกข์   แล้วรู้ทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ( รู้อริยสัจ  ๔ ) 

         รู้เหตุของการเกิดทุกข์  คือ

๑)    กามตัณหา

๒)  ภวตัณหา

๓)  วิภวตัณหา

(๑)      กามตัณหา  หมายถึง  ความลุ่มหลงมัวเมาใน  รูป  เสียง  กลิ่น  รส สัมผัส  ธรรมารมณ์  ยึดมั่นถือมั่นใน  ลาภ  ยศ  สรรเสริญ  สุข  คำว่า “ความหลง” หมายถึง ความเข้าใจผิดว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส  ธรรมารมณ์   เป็นความสุขที่สุด  มนุษย์จึงปรารถนาไขว่คว้า  หามาเพื่อเป็นของตน  เช่น

-         ตา  เห็นรูป มีความรู้สึกว่าสวย เช่น เห็นเสื้อผ้า เครื่องประดับที่สวยงาม ก็อยากได้มาเป็นของตน

-         หู ได้ยินเสียง เช่นเสียงเพลงที่ถูกใจพอใจ ก็อยากได้มาเป็นของตน

-         จมูก ได้กลิ่นที่หอม เกิดความพอใจ ก็อยากได้มาเป็นของตน

-         ลิ้น ได้ลิ้มรสอาหารที่อร่อย ก็ติดใจ อยากกินอีกไม่มีที่สิ้นสุด

-         กายสัมผัส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เกิดความพอใจในสัมผัสใด  ก็จะติดอยู่ในสัมผัส

นั้น  ตัวอย่าง เช่น กายสัมผัสกาย   การเสพกาม เกิดความพอใจติดใจลุ่มหลงมัวเมาในรสของการเสพกาม  มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด

-         ธรรมารมณ์ คือธรรมชาติของจิต  ที่มีสิ่งมากระทบ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วเกิดอารมณ์ ที่พอใจ  ก็จะไขว่คว้าหาทุกสิ่งทุกอย่างมาเป็นของตน  แม้จะได้มาด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม  จะผิดกฎหมาย  ผิดศีล ผิดธรรม ผิดครรลองคลองธรรม  นี้คือเหตุของการเกิดทุกข์  แต่มนุษย์เข้าใจผิดคิดว่าเป็นความสุขเพราะ  มีกิเลสครอบงำจิตใจ  มีความหลงในลาภ  ยศ  สรรเสริญ  สุข 

-         หลงในลาภ  หมายถึงเข้าใจผิดคิดว่า  ถ้ามีลาภ มีทรัพย์สมบัติเงินทองมากมายจะมีความสุขเหนือกว่าผู้อื่น

-         หลงในยศ  หมายถึงเข้าใจผิดคิดว่า ถ้ามียศถาบรรดาศักดิ์  สูงจะมีความสุขมากเหนือกว่าผู้อื่น

-         หลงในสรรเสริญ หมายถึง  มีความสุขใจเมื่อได้ยินคำสรรเสริญ  

-         หลงในสุข หมายถึง มีความพอใจที่มีความสุขมากเหนือกว่าผู้อื่น นี้คือเหตุของการเกิดทุกข์  เช่นเดียวกัน เมื่ออยากได้ก็เป็นทุกข์  ต้องแสวงหาเอามาให้ได้  เมื่อได้แล้วก็เป็นทุกข์อีกกลัวว่าจะสูญหายไปจากเรา  จึงเกิดความยึดมั่นถือมั่นหวงแหนว่าเป็นของตน  แท้ที่จริงแล้ว พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้อย่างชัดเจนว่า  มีลาภก็ เสื่อมลาภ มียศก็ เสื่อมยศ มีสรรเสริญ ก็มีนินทา มีสุข ก็มีทุกข์ สำหรับผู้ที่มีกิเลส ความหลงเข้าครอบงำจิต  ก็จะไม่เข้าใจในคำสอนบทนี้  จึงมีแต่ความทุกข์ระทมขมขื่น ในกามตัญหาคือ กามคุณทั้ง ๕  ผู้ที่รู้เหตุของการเกิดทุกข์เหล่านี้แล้ว  ก็จะพยายามศึกษาหาคำสอนของพระพุทธองค์ มาปฏิบัติเพื่อลดเหตุของการเกิดทุกข์ ทั้งกาย  ทั้งใจ  หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  “ การชำระกิเลส ”  เมื่อกิเลสลดลง  ความทุกข์ก็จะลดลงไปด้วย  นี้คือผู้ที่รู้เหตุของการเกิดทุกข์  และไม่สร้างเหตุของการเกิดทุกข์อีกต่อไป 

(๒)    ภวตัณหา  คือความอยากได้  ความอยากมี  ความอยากเป็น ก็เป็นเหตุของการเกิดทุกข์เช่น  อยากรวย อยากสวย อยากมียศ อยากมีสามี ภรรยา  อยากมีลูก  อยากมีอิทธิพล  อยากมีบริวาร อยากให้คนยกย่องสรรเสริญ เป็นต้น  นี้คือเหตุของการเกิดทุกข์  ผู้ที่มีสติปัญญาดี  รู้เหตุของการเกิดทุกข์ ก็พยายาม ลดความอยากได้  อยากมี  อยากเป็นลง  ความทุกข์ก็จะลดน้อยลง

(๓)    วิภวตัณหา  คือความไม่อยากได้  ไม่อยากมี  ไม่อยากเป็น  เช่นไม่อยากเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ  ไม่อยากเป็นคนยากจน  พิกลพิการ  ไม่อยากเป็นคนขี้เหร่  ไม่อยากมีสามี ภรรยา และลูกที่ไม่ดี ไม่อยากอายุสั้น  ไม่อยากตายเป็นต้น  นี้คือเหตุของการเกิดทุกข์  ผู้มีสติปัญญาดี  รู้เหตุของการเกิดทุกข์แล้ว  พยายามนำพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า  มาลดความไม่อยากได้  ไม่อยากมี ไม่อยากเป็นลง  ความทุกข์ก็จะคลายและลดน้อยลง

         เพราะฉะนั้น  กามตัณหา  ภวตัณหา วิภวตัณหา  เป็นเหตุของการเกิดทุกข์  ซึ่งเกิดจาก กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง  ครอบงำจิตมนุษย์  จึงทำให้โง่เขลาเบาปัญญา  มีความทุกข์ทรมานอยู่ตลอดเวลา  สำหรับผู้ที่มีสติปัญญาดี  รู้เหตุของการเกิดทุกข์  ทั้งหลายทั้งปวงแล้ว หมายถึง เรามีกายหรือที่เรียกว่า รูป  ซึ่งประกอบด้วยธาตุ ๔  ขันธ์  ๕  อาการ ๓๒  แล้วยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตน  เป็นเราเป็นเขา  นี้คือเหตุของการเกิดทุกข์ที่ใหญ่หลวง  เมื่อรู้ทางดับทุกข์  ทุกข์ก็จะค่อยลดลงในที่สุด  เพราะนำพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์  มาประพฤติปฏิบัติตาม  อย่างจริงจัง จริงใจ และต่อเนื่อง  ธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดมา ล้วนแล้วแต่มีกิเลส ครอบงำจิตมาแล้วทั้งสิ้น  จึงเรียกว่า “มนุษย์ปุถุชน”   เพราะมีกิเลส คือ ความโลภ  ความโกรธ ความหลง  อย่างหยาบ  อย่างกลาง อย่างละเอียด เหมือนกันทุกคน ถ้าผู้ใดต้องการเข้าสู่แดนวิมุตเพื่อความหลุดพ้นแล้ว ต้องชำระกิเลสอย่างหยาบ ให้หมดสิ้นไป  เพื่อเข้าสู่ “อริยชน” 

กิเลสอย่างหยาบ 

-         ความโลภอย่างหยาบ เช่น ความอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน  ก็แสวงหาด้วย

การ หลอกลวง ปล้น จี้  ลักทรัพย์  ฉกชิงวิ่งราว  หรือฆ่าผู้อื่นแล้วเอาทรัพย์มาเป็นของตน เป็นต้น

-         ความโกรธอย่างหยาบ เช่น เมื่อมีความโกรธเกิดขึ้น ก็จะมีความอาฆาตพยาบาท

ปองร้าย  ทะเลาะ วิวาท  ชกต่อย ทำร้าย  หรือฆ่าผู้อื่นให้ตายได้  เป็นต้น

-         ความหลงอย่างหยาบ เช่น พอใจรักใคร่ในสิ่งต่าง ๆ  หลงรักใคร่พอใจ ในลาภ

ยศ ก็จะทำให้มี  การทุจริต คดโกง เพื่อให้ได้ทรัพย์สินเงินทอง  และยศถาบรรดาศักดิ์  มาเป็นของตน  เป็นต้น

         ต้องชำระกิเลสอย่างหยาบให้หมดสิ้นไป  เหลือกิเลสอย่างกลางและอย่างละเอียด ก็จะสามารถชำระให้หมดสิ้นไปได้  เมื่อได้ศึกษาแล้วนำพระธรรมคำสอนมาประพฤติปฏิบัติตาม  เพื่อชำระกิเลส ให้ลดน้อยลงเรื่อย ๆ และหมดสิ้นไปในที่สุด เพราะฉะนั้นผู้ที่จะเข้าสู่แดนวิมุต หลุดพ้นได้  ต้องปฏิบัติตาม มรรค ๔  ผล  ๔  นิพพาน  ๑  ตามลำดับ  เป็นขั้นตอน  ดังต่อไปนี้ 

         บันได ขั้นที่  ๑  พระโสดาปัตติมรรค   การที่จะเข้าสู่แดนวิมุตหลุดพ้น  ต้องปฏิบัติ

ตามพระธรรม  คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ทั้ง  ๓  ข้อ ดังต่อไปนี้ให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ

๑)    สักกายทิฏฐิ  คือ  ความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน

๒)  วิจิกิจฉา       คือ ความลังเลสงสัยในคำสอน

๓)  สีลัพพตปรามาส  คือ  ความยึดมั่นถือมั่นในศีล  ว่าเป็นสิ่งที่วิเศษสุดแล้ว

นี้คือข้อที่ต้องปฏิบัติ ของ พระโสดาปัตติมรรค  ซึ่งเป็นแดนวิมุตหลุดพ้นหรือ

บันไดขั้นที่  ๑ 

(๑) สักกายทิฏฐิ  คือ  ความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน หมายถึงความยึดมั่นถือมั่นในธาตุ 

๔  ขันธ์  ๕  เป็นร่างกายและเป็นผู้วิเศษ  ต้องมีอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย  ยารักษาโรค ที่ดีเป็นพิเศษ เพื่อให้ร่างกายนี้อยู่อย่างสุขสบาย  เช่นกินอาหารบำรุงผิว บำรุงสายตา บำรุงผม  บำรุงฟัน บำรุงกระดูก เป็นต้น เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับต้องใช้ของราคาแพง  เพื่อส่งเสริมความงามของร่างกาย ที่อยู่อาศัยต้องมีบ้านหลังใหญ่ ราคาแพง มีรถก็ต้องยี่ห้อหรูหราราคาสูง  จึงแสวงหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับตนเอง  เชื่อมั่นในความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่  ไม่เชื่อฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  คิดว่าเป็นตัวกู  ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของกู  ยึดมั่นถือมั่นหวงแหนไม่ให้ใคร  มีผู้แนะนำสั่งสอนติเตียนก็จะเกิดความโกรธ  เพราะคิดว่าตนเองเป็นผู้วิเศษสุดแล้ว  มีทั้งทรัพย์สมบัติ มีทั้งยศถาบรรดาศักดิ์  มีชื่อเสียง  มีความรู้สูงเหนือผู้อื่น  แบ่งชั้นวรรณะ ดูถูกเหยียดหยามผู้ด้อยโอกาสกว่า  ผู้ที่จะเข้าสู่แดนวิมุตหลุดพ้นได้ต้องศึกษาพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า  แล้วนำมาปฏิบัติตาม  จนเห็นว่าตัวเราไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน  เป็นเพียงธาตุ  ๔  ขันธ์  ๕  อาการ  ๓๒  มาประกอบเป็นรูป เป็นร่างกายเท่านั้น  เป็นมนุษย์เสมอเหมือนกันทุกคน ไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ  จะแตกต่างกันที่ความดีและความชั่วเท่านั้น  คนเราเมื่อเกิดมาแล้ว  ต้องแก่  ต้องเจ็บ ต้องตายในที่สุด  เพราะทุกอย่างเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา 

         อนิจจัง  คือ ความไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย 

         ทุกขัง  คือ ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนแล้วแต่เป็นทุกข์ทั้งสิ้น แม้แต่ตัวเราก็เป็นทุกข์จากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย

         อนัตตา  คือ ทุกอย่างในโลกนี้เป็น อนัตตา ต้องสูญสลายไปตามกาลเวลาของสิ่งนั้น ๆ  แม้แต่ตัวเราต้องตายและสูญสลายไปในที่สุด 

         เมื่อพิจารณาได้ดังนี้แล้ว  ความยึดมั่น  ถือมั่นใน ตัวตน  ก็จะคลายหายไปในที่สุด  ถ้าผู้ใดไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนได้แล้ว  แต่ยังยึดมั่นถือมั่น ผู้อื่นเช่น สามี ภรรยา  และลูก  รวมทั้งลาภ ยศ สรรเสริญ สุข อย่างนี้ถือว่ายังมี  สักกายทิฎฐิอยู่  ผู้ที่ไม่มี สักกายทิฏฐิ  ไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวเรา ตัวเขา และสิ่งอื่น ๆ ไม่มี สักกายทฎฐิ  อีกต่อไป    นี้คือคุณสมบัติข้อที่  ๑  ของ  พระโสดาบัน

(๒) วิจิกิจฉา  คือ ความลังเลสงสัยในคำสอน หมายถึง  ความไม่แน่ใจในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า  สงสัยในเรื่องกฎแห่งกรรม  ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือไม่  สงสัยว่าชาติก่อน ชาตินี้  ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ สงสัยใน นรก มนุษย์ สวรรค์  นิพพานมีจริงหรือไม่  สงสัยในการเวียนว่ายตายเกิดเป็นความจริงหรือไม่เป็นต้น  ในเมื่อมีความลังเลสงสัยในคำสอนของพระพุทธองค์  จึงมีการปฏิบัติตามบ้าง ไม่ปฏิบัติตามบ้าง ไม่เห็นคุณค่าของพระธรรมคำสอน  ไม่มีความขยันหมั่นเพียร  ศึกษาหาความรู้เพื่อความหลุดพ้น 

         เพราะฉะนั้น  ผู้ใดยังมีความลังเลสงสัยในคำสอนแล้ว  การเข้าสู่แดนวิมุตหลุดพ้นจึงไม่มีโอกาสอย่างแน่นอน  ส่วนผู้ที่ไม่มีความลังเลสงสัยในพระธรรมคำสอน เรียกว่า ไม่มีวิจิกิจฉา  แล้วนำพระธรรมคำสอนที่มีอยู่มากมาย  และนำมาประพฤติปฏิบัติตาม  ยอมมอบกายถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา  หมายถึงการปฏิบัติบูชา  เพื่อให้  รู้แจ้งเห็นจริง  ถึงแม้ตัวจะต้องตายก็ยอม  นี้คือคุณสมบัติข้อที่  ๒ ของ  พระโสดาบัน

         (๓)  สีลัพพตปรามาส  คือ ความยึดมั่นถือมั่นในศีล  หมายถึง  ศีลคือข้องดเว้นการทำความชั่วทางกาย  วาจา สำหรับผู้ที่นำศีลมารักษากาย วาจา ได้สมบูรณ์  มี ศีล  ๕ ศีล  ๘ ศีล  ๑๐ ศีล ๒๒๗ ได้ทุกข้อเป็น  อย่างดีแล้ว  แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นว่า   ผู้มีศีล ดังที่กล่าวมาแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติธรรมขั้นสูงสุด และเป็นผู้วิเศษ ศีลเป็นเหตุเพียงให้กาย วาจา สะอาดเท่านั้น  ส่วนจิตใจยังถูกกิเลส ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ครอบงำอยู่  ถือว่ากายสะอาดปราศจากความชั่ว  แต่จิตยังไม่สะอาดสามารถคิดชั่วได้ตามอำนาจของกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ  ความหลง  ด้วยเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า  จึงไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นว่าศีลเป็นสิ่งวิเศษ  จึงต้องนำพระธรรมคำสอนมาปฏิบัติตามเพื่อชำระกิเลส  เป็นขั้นตอนต่อไป  นี้คือ คุณสมบัติของ 

พระโสดาปัตติมรรค  สำหรับผู้ที่ปฏิบัติอยู่ในบันไดขั้นที่  ๑  นี้   จะรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถทำความชั่วได้อีกแล้ว  แต่ยังมีกิเลส  คือ ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง อย่างกลางอยู่มาก  จึงต้องเข้าสู่การปฏิบัติบันไดขั้นที่  ๒  ต่อไป  นี้คือคุณสมบัติ  ของ

พระโสดาปัตติมรรค  ซึ่งเป็นแดนวิมุติหลุดพ้นหรือบันไดขั้นที่  ๑

         บันได ขั้นที่ ๒  พระโสดาปัตติผล   สำหรับผู้ที่ปฏิบัติอยู่ในขั้นที่ ๒ นี้ ไม่มีการถือตัวถือตน ไม่ลังเลสงสัยในคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว  และมีศีลเป็นนิจ มีคุณธรรมอันพิเศษคือจะมีความรู้สึกว่าไม่สามารถทำความชั่วได้อีกแล้ว  แต่ยังมีกิเลสคือ ความโลภ  ความโกรธ ความหลง อย่างกลางอยู่  จึงต้องเข้าสู่การปฏิบัติบันไดขั้น ต่อ ๆ ไป

         พระโสดาปัตติมรรค  หมายถึงผู้ที่ปฏิบัติธรรม  ชำระกิเลสอย่างหยาบได้แล้ว จึงเข้าสู่การปฏิบัติขั้นสูงต่อไปเรียกว่า  พระโสดาปัตติผล

พระโสดาปัตติผล หมายถึง การปฏิบัติเพื่อชำระกิเลสอย่างกลางให้เบาบางลงมาอีก  เช่น

-         ความโลภอย่างกลาง หมายถึง ยังมีความโลภอยากได้ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ยังติดอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ จิตยังคงเศร้าหมองและเป็นทุกข์อยู่ จึงต้องมีความขยันหมั่นเพียร ศึกษา แล้วนำพระธรรมคำสอน มาประพฤติปฏิบัติเพื่อชำระความโลภ ให้ลดน้อยลง

-         ความโกรธ อย่างกลาง หมายถึง ยังมีความโกรธแค้น ความขุ่นข้องหมองใจ และความผูกโกรธอยู่ ซึ่งเป็นกิเลสอย่างกลาง จิตยังมีความเศร้าหมองและเป็นทุกข์อยู่ จึงต้องปฏิบัติเพื่อให้คลายความโกรธแค้น ความขุ่นข้องหมองใจ ความผูกโกรธให้

ลดน้อยลง เป็นต้น

-         ความหลงอย่างกลาง หมายถึง  ยังมีความพอใจรักใคร่ ในสิ่งต่าง ๆ จิตจึง เศร้าหมองและเป็นทุกข์  ผู้ปฏิบัติต้องศึกษาแล้ว  นำพระธรรมคำสอนมาชำระความหลงให้เบาบางลง 

         นี้คือคุณสมบัติของ พระโสดาปัตติผล เมื่อสำเร็จขั้นที่ ๒ นี้แล้ว  ยังต้องปฏิบัติต่อในขั้นที่ ๓ อีกต่อไป

         บันได ขั้นที่ ๓  พระสกทาคามีมรรค  หมายถึงการชำระกิเลสขั้นละเอียดให้เบาบางลงอีก เช่น

-         ความโลภลดลง  หมายถึง ยังมีความโลภ มีความรู้สึกอยากได้ แต่ไม่พึงนำมา เป็นของตน จิตยังคงเศร้าหมองและเป็นทุกข์อยู่บ้าง  จึงต้องมีความขยันหมั่นเพียร ศึกษา พระธรรมคำสอน แล้วนำ มาประพฤติปฏิบัติเพื่อชำระความอยากได้ให้ลดน้อยลง

-         ความโกรธลดลง หมายถึง  ความโกรธแค้น และความผูกโกรธหายไป ยังเหลือ เพียง ความขุ่นข้อง  หมองใจ ซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียด จิตยังมีความเศร้าหมองและเป็นทุกข์อยู่  จึงต้องปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน  เพื่อให้คลายความ ขุ่นข้องหมองใจ ให้ลดน้อยลง

-         ความหลงลดลง  หมายถึง ความรักใคร่ในสิ่งใด ๆ หมดไป  ยังเหลือเพียง  ความพอใจในสิ่งต่าง ๆ อยู่บ้าง จิตจึงเศร้าหมองและเป็นทุกข์   ผู้ปฏิบัติต้องนำ พระธรรมคำสอนมาปฎิบัติเพื่อชำระกิเลสความหลง  คือ ความพึงพอใจให้เบาบางลง 

         นี้คือคุณสมบัติของ  พระสกทาคามีมรรค  ยังต้องปฏิบัติต่อขั้นที่ ๔ อีกต่อไป

         บันได ขั้นที่ ๔  พระสกทาคามีผล  หมายถึง การชำระกิเลสอย่างละเอียดให้เบาบางลงไปอีก เช่น

-         ความโลภลดลง หมายถึง ยังมีความรู้สึกอยากได้อยู่บ้าง  แต่จิตยังคงเศร้าหมองและเป็นทุกข์  เล็กน้อย  จึงต้องมีความขยันหมั่นเพียร ศึกษา พระธรรมคำสอน มาประพฤติปฏิบัติ  เพื่อชำระกิเลสความโลภ  คือ ความอยากได้ให้ลดน้อยลงไปอีก

-         ความโกรธลดลง หมายถึง ความผูกโกรธหายไป ยังเหลือเพียงความขุ่นข้องหมองใจอยู่เล็กน้อย  ซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียด จิตยังมีความเศร้าหมองและเป็นทุกข์อยู่  จึงต้องปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน เพื่อให้คลายความ ขุ่นข้องหมองใจ ให้ลดน้อยลง ไปอีก

-         ความหลงลดลง  หมายถึง ยังเหลือเพียงความพอใจในสิ่งต่าง ๆ อยู่บ้างเล็กน้อย จิตจึงเศร้าหมอง  และเป็นทุกข์ ผู้ปฏิบัติต้องนำพระธรรมคำสอน มาชำระกิเลส ความหลง คือ ความพึงพอใจให้เบาบางลงไปอีก

         นี้คือคุณสมบัติของ  พระสกทาคามีผล  เมื่อสำเร็จในขั้นที่ ๔ นี้แล้ว ยังต้องปฏิบัติต่อขั้นที่ ๕ อีกต่อไป

         บันได ขั้นที่ ๕  พระอนาคามีมรรค  หมายถึง การชำระกิเลสขั้นละเอียดให้เบาบางลงไปอีก เช่น

-         ความโลภลดลง หมายถึง ยังมีความรู้สึกอยากได้อยู่บ้างเล็กน้อย  แต่จิตยังคง

เศร้าหมอง จึงต้องมีความขยันหมั่นเพียร ศึกษา พระธรรมคำสอน  นำมาประพฤติปฏิบัติเพื่อชำระความโลภ คือ ความอยากได้ให้ลดน้อยลงไปอีก

-         ความโกรธลดลง หมายถึง ความขุ่นข้องหมองใจหายไปยังเหลือเพียงความไม่พอใจ ซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียด จิตจึงยังมีความเศร้าหมองอยู่  จึงต้องปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน  เพื่อให้คลายความไม่พอใจ ให้ลดน้อยลงไปอีก

-         ความหลงลดลง  หมายถึง ยังเหลือเพียงความพอใจในสิ่งต่าง ๆ อยู่บ้างเล็กน้อย จิตจึงเศร้าหมองอยู่  ผู้ปฏิบัติต้องนำพระธรรมคำสอน  มาชำระกิเลส ความหลง คือความพึงพอใจให้เบาบางลงไปอีก

         นี้คือคุณสมบัติของ  พระอนาคามีมรรค  เมื่อสำเร็จในขั้นที่ ๕ นี้แล้ว ยังต้องปฏิบัติต่อขั้นที่ ๖ อีกต่อไป

          บันได ขั้นที่ ๖  พระอนาคามีผล  หมายถึง การชำระกิเลสขั้นละเอียดให้เบาบางลงและหมดสิ้นไป จากจิตใจ เช่น

-         ความโลภหมดไป หมายถึง ไม่มีความอยากได้ในสิ่งใด ๆ แล้ว จิตที่เคยเศร้าหมอง จึงผ่องใส

-         ความโกรธลดลง หมายถึง ยังเหลือเพียงความไม่พอใจเพียงเล็กน้อย จิตจึงยังมีความเศร้าหมองอยู่บ้างเล็กน้อย  จึงต้องปฏิบัติเพื่อให้ความไม่พอใจที่ยังเหลืออยู่ ให้หมดสิ้นไปในที่สุด

-         ความหลงหมดไป  หมายถึง ความพอใจในสิ่งต่าง ๆ หมดไป จิตที่เคยเศร้าหมอง  จึงผ่องใส

         นี้คือคุณสมบัติของ  พระอนาคามีผล  เมื่อสำเร็จในขั้นที่ ๖ นี้แล้ว ยังต้องปฏิบัติต่อขั้นที่ ๗ อีกต่อไป

         บันได ขั้นที่  ๗  พระอรหันตมรรค  หมายถึง การชำระกิเลสอย่างละเอียดให้ เบาบางและหมดสิ้นไปจากจิตใจ เช่น

-         ความโลภหมดไป ตั้งแต่ขั้นที่ ๖ พระอนาคามีผลแล้ว จิตจึงผ่องใสไร้ความทุกข์

-         ความโกรธลดลง หมายถึง ความไม่พอใจหมดไป  จิตที่เคยเศร้าหมอง จึงผ่องใส

-         ความหลงหมดไป  ตั้งแต่ขั้นที่ ๖ พระอนาคามีผลแล้ว จิตจึงผ่องใสไร้ความทุกข์

         นี้คือคุณสมบัติของ  พระอรหันตมรรค  เมื่อสำเร็จในขั้นที่ ๗ นี้แล้ว  เข้าสู่ขั้นที่ ๘ เป็น  พระอรหันตผล

         บันได ขั้นที่  ๘  พระอรหันตผล  หมายถึง การชำระกิเลสให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ ในเมื่อกิเลสทั้ง  ๓  อย่าง คือ ความโลภ  ความโกรธ ความหลง หมดสิ้นไปจากจิตใจ  ก็ส่งผลเป็น  พระอรหันต์ โดยสมบูรณ์  เมื่อละสังขาร วิญญาณก็เข้าสู่  นิพพาน แดนวิมุตหลุดพ้นในที่สุด

          ถ้าผู้ใดมีความประสงค์  จะเข้าสู่แดนวิมุตหลุดพ้น  และเข้าสู่นิพพานในที่สุด  ต้องปฏิบัติดังที่ได้กล่าวมาแล้ว  ต้องปฏิบัติจนมีคุณสมบัติของ  พระโสดาบัน  ซึ่งเป็นพระอริยะขั้นต้นก่อน  โดยนำพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ มา

         -  ปฏิบัติจนหมด สักกายทิฎฐิ  จนเห็นว่า  ตัวเราก็ไม่มีตัวไม่มีตน  ผู้อื่นก็ไม่มีตัวไม่มีตน เช่นเดียวกัน 

         -  ปฏิบัติจนหมด วิจิกิจฉา  จนไม่มีความลังเลสงสัย ในพระธรรมคำสอนของ พระพุทธองค์และมอบกายถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา  หมายถึงแม้จะต้องตายก็ยอม ไม่ยอมทำความชั่วอีกต่อไป  ดังคำสอนที่ว่า “ มีชีวิตอยู่เพียงหนึ่งวันเป็นคนดี  ดีกว่ามีชีวิต

อยู่อีกร้อยปีเป็นคนชั่ว ” 

         -  สีลัพพตปรามาส ปฏิบัติจนไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าศีลเป็นสิ่งวิเศษสุด แต่มีศีลเป็นนิจหมายถึง   มีศีลประจำกาย วาจา ตลอดเวลา  จนกาย วาจา  สะอาดปราศจากความชั่ว  มีคุณธรรมประจำใจ มีสติปัญญา ระวังกาย วาจา ใจ  อยู่ตลอดเวลา  ไม่ให้คิดชั่ว  พูดชั่ว  ทำชั่ว ถึงกระนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า  พระองค์ท่านตรัสสอนไม่ให้ลูบคลำศีล  หมายถึง ไม่ให้คิดว่า มีศีล ประจำ กาย วาจา แล้วเป็นสิ่งวิเศษสุด  เพราะสิ่งวิเศษสุดกว่าศีลยังมีอยู่อีกมาก  คือ มีสติปัญญา  ชำระกิเลส คือ ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ  จึงจะเข้าสู่แดนวิมุตหลุดพ้น  ถ้ามีเพียง ศีล ๕  ศีล  ๘  ศีล  ๑๐  ศีล  ๒๒๗ แต่กิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง  ยังไม่หมดไปจากจิตใจ  ก็ไม่สามารถ  เข้าสู่แดนวิมุตหลุดพ้นได้เลย

         เพราะฉะนั้น  ขอให้ท่านทั้งหลาย  จงปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของ พระพุทธองค์  ตั้งแต่การให้ทาน  นำศีลมารักษา  กาย  วาจา  ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบ  ฝึกวิปัสสนา นำพระธรรมคำสอนมาพิจารณาให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง  แล้วสร้างบารมี  ๑๐  อย่าง (บารมี  ๑๐ ทัศ )  ตามพระผู้มีพระภาคเจ้า  ถ้าผู้ใดปฏิบัติตามได้แล้วหมายถึง  ผู้นั้นขึ้นบันไดขั้นที่ ๑ แล้ว  และให้ปฏิบัติต่อไป  ตามบันได  ขั้นที่  ๒ , ๓ , ๔, ๕, ๖ , ๗ , ๘ ,  ที่เรียกว่า  มรรค ๔  ผล  ๔  และ นิพพาน  ๑    

         อนึ่ง  ถ้าสำเร็จขั้น พระโสดาบันปัตติผล  ขั้นที่ ๒  แล้ว   จะต้องไปเกิดอีก  ๗ ชาติ  จึงสำเร็จ พระอรหันต์  โดยเลื่อนตามลำดับ ขั้นที่  ๓  ขั้นที่ ๔ ขั้นที่  ๕ ขั้นที่  ๖ ขั้นที่  ๗ และขั้นที่  ๘   แต่ถ้าผู้ใดมีความเพียรเป็นเลิศ และตั้งใจประพฤติปฏิบัติอย่างจริงจัง  จริงใจ  และต่อเนื่อง  ก็สามารถสำเร็จเป็น พระอรหันต์   ได้ ภายใน ชาติที่ ๑ ชาติที่  ๒ หรือชาติที่ ๓  อาจจะไม่ถึง  ๗  ชาติ ก็เป็นได้

         ต้องขออภัยที่ไม่ได้นำภาษาบาลีมากล่าวไว้  ณ  ที่นี้  เพราะข้าพเจ้าแปลภาษาบาลีไม่ได้  แต่ข้าพเจ้าศึกษาและรู้ธรรมะ  ในฐานะของความเป็นจริงที่สามารถพิสูจน์ได้   ขออนุโมทนากับผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ  จนสำเร็จมรรคผลนิพพานไว้  ณ  ที่นี้ด้วย...เทอญ...

 

  ป. เจริญธรรม 

( แม่ชี  ประยงค์  ธัมวงศานุกูล ) 

๒๔  มิถุนายน  ๒๕๕๓

 

 

บรรณานุกรม

 

๑)  นวโกวาท  ( ฉบับประชาชน )  สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณ   วโรรส  โรงพิมพ์  มหามกุฏราชวิทยาลัย  หน้า     วัดบวรนิเวศน์วิหาร  กรุงเทพฯ             พลอากาศเอก  หะริน  หงสกุล  ผู้พิมพ์      ผู้โฆษณา  พ.ศ. ๒๕๔๓

๒)  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. ๒๕๔๒  จัดพิมพ์โดย  บริษัท       นานมีบู๊คส์  พับลิเคชั่นส์  จำกัด  ๙๔๗ / ๑๕๘-๑๕๙  หมู่  ๑๒ ถนน บางนา-ตราด เขต     บางนา แขวงบางนา  กรุงเทพฯ (๑๐๒๖๐)  พ.ศ. ๒๕๔๖

๓)  หนังสือบูรณาการแผนใหม่  นักธรรมชั้นตรี  เรียบเรียงโดย  คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง  เพียรเพื่อพุทธศาสน์ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง  ๖๗๙/๗๑-๗๔ ถนนประชาอุทิศ  ซอย ๔๕  เขตทุ่งครุ   กรุงเทพฯ  (๑๐๑๔๐)  พ.ศ. ๒๕๔๖

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view