http://www.porjarearntum.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ05/04/2009
อัพเดท06/09/2022
ผู้เข้าชม687,028
เปิดเพจ935,385

บริการ

หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ติดต่อเรา

บทกลอนธรรมะ

จูงมือลูกเดิน

ระลึกได้และรู้ตัวหมายความว่าอย่างไร

รัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

อันตรายของภิกษุ สามเณร ผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง

ความจริงอันประเสริฐที่ควรรู้ ๔ ประการ

ธรรมะอันทำให้งาม มี ๒ ประการ

ธรรมคุ้มครองโลก

เสียงเทศน์ทำใหม่ล่าสุด

วงล้อแห่งพระธรรมที่นำไปสู่ความเจริญ ๔ อย่าง

ทุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

สุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

วิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการ หมายความว่าอย่างไร

คุณของรัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด

มูลเหตุของความโง่เขลา

มูลเหตุของความฉลาด

ท่านรู้จักตนเองว่ามีกิเลสหรือไม่ ต้องพิจารณาอย่างไร

ท่านรู้จักมนุษย์ ๔ ประเภทหรือยัง ?

คิดดี พูดดี ทำดี

ความสุข ความทุกข์ ความสบาย แตกต่างกันอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ

ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบและเกิดปัญญา

ศาสนาคืออะไร

ป่วยกาย ป่วยใจ หมายความว่าอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ (เนื้อหา)

ทำความดีเพื่ออะไร

คุณธรรม ๕ ประการ สนับสนุนความสำเร็จ

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมายความว่าอย่างไร

ศีล ในพระพุทธศาสนา ๒๒๗ ข้อ ภาคภาษาไทย อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ปัจจัย ๔ รูปธรรม และ ปัจจัย ๔ นามธรรม

มนุษย์ เป็นโรค ๔ อย่าง บ้า ใบ้ บอด หนวก

ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาปหมายความว่าอย่างไร

ระวังจิต ระวังอารมณ์ หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา มีจริงหรือไม่

จิตสงบ จิตว่าง แตกต่างกันอย่างไร

อยากรู้ อยากห็น อยากเป็น อยากไป หมายความว่าอย่างไร

มืดมามืดไป และสว่างมาสว่างไป หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่มีมาก ทำให้น้อยลง สิ่งที่มีอยู่ทำให้หมดไป

ความเห็นแก่ตัว กับการรักตัวเอง

ท่านพบเห็นเมืองพอแล้วหรือยัง

การทำความชั่วเพราะเหตุ ๔ ประการ

รู้จด รู้จำ รู้แจ้ง หมายความว่าอย่างไร

สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ฟังธรรมเป็นยาฉีด จริงหรือ

ผู้ที่ไม่แต่งงาน จะตกนรก จริงหรือไม่

มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ

ก็ต้อง ก็ได้ ก็ดี หมายความว่าอย่างไร

บันใด ๘ ขั้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

งามทั้ง กาย วาจา ใจ

ผู้ที่ฝีกสมาธินาน ๆ ไม่เกิดปัญญาเพราะเหตุใด

คิดอย่างไรจึงไม่เกิดทุกข์

จิตใต้สำนึก

คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ

ทำใจ หมายความว่าอย่างไร

ประเพณีงานศพที่ถูกต้อง... เหตุใดจึงต้องเผาศพ...

ความเบื่อของปุถุชนกับความเบื่อของพระอริยะ

พระราชดำรัส คุณธรรม ๔ ประการ(เนื้อหา)

มีสิ่งใด สิ่งนั้นก็เสื่อม

บวชเพื่ออะไร

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือ

ทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์

บุคคลที่หาได้ยาก ความกตัญญูกตเวที

การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดหรือถูก...

ความหวัง

มืดมาสว่างไป สว่างมามืดไป หมายความว่าอย่างไร

ผู้ที่ขัดขวางการปฏิบัติธรรม มีโทษอย่างไร

แผ่นพับธรรมะ

ความเบื่อของปุถุชนกับความเบื่อของพระอริยะ

ความเบื่อของปุถุชน   กับความเบื่อของพระอริยะ

 

                คำว่า  ความเบื่อ    หมายถึง   ความไม่พอใจ  ในสิ่งต่าง ๆ  ที่จำเจ  ซ้ำซาก 

            ปุถุชน    จะเบื่อความทุกข์  ไม่เบื่อความสุข

            พระอริยะ  จะเบื่อทั้งความทุกข์และเบื่อความสุข

ความเบื่อของปุถุชน

            ความเบื่อของปุถุชน  หมายถึงความเบื่อของมนุษย์ทั่วไป  เช่นเบื่ออาหาร  เพราะกินบ่อย ๆ เบื่อเสื้อผ้าเพราะสวมใส่บ่อย ๆ  เบื่อการแต่งหน้าเพราะต้องแต่งบ่อย ๆ เบื่อการแต่งผมเพราะตัดแต่งจำเจซ้ำซาก  เบื่อรูปร่างหน้าตาเพราะไม่สวยงามเหมือนผู้อื่น เบื่อความยากจนเพราะไม่มีสิ่งที่ตนเองต้องการเหมือนคนรวย  เบื่ออาชีพของตนเพราะไม่มีการศึกษาต้องทำงานที่ต่ำต้อยกว่าผู้อื่น  บางคนมีการศึกษาดีมีหน้าที่การงานดี มีทรัพย์สินเงินทองมากมายอยู่แล้ว  แต่ก็ยังเบื่อเพราะไม่พอใจ ต้องการอยากได้มากกว่าเดิมไม่มีที่สิ้นสุด  บางคนเบื่อบ้านหลังเล็กเพราะต้องการมีบ้านหลังใหญ่และหลาย ๆ หลัง บางคนเบื่อรถจักรยานยนต์  ต้องการมีรถยนต์  บางคนมีรถยนต์แล้วก็เบื่อคันเก่าเพราะต้องการอยากได้คันใหม่ยี่ห้อดี  มีราคาแพง  บางคนเบื่อความเป็นโสด  เพราะอยากมีคู่ครอง  เมื่อมีคู่ครองแล้วก็เบื่อคนเก่า เพราะต้องการอยากมีคู่ครองคนใหม่ ไปเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด  ทั้งผู้ชาย  ผู้หญิง รวมทั้ง กะเทยและ เกย์  เป็นต้น ไม่มีลูกก็เบื่ออยากมีลูก  แต่พอมีลูกแล้วก็เบื่อลูกเพราะมีลูกเกเร  และยังเบื่อความแก่  เบื่อความเจ็บป่วย  เบื่อความตาย  เพราะไม่อยากแก่  ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย 

            นี้เป็นเพียงตัวอย่างความเบื่อบางอย่างของปุถุชนเท่านั้น  อันที่จริงยังมีความเบื่ออีกมากมาย เพราะมนุษย์ไม่มีความพอใจในสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น  ถึงแม้จะมีน้อยหรือมีมากก็ตาม  มนุษย์จึงมีความทุกข์ตลอดกาล และทุก ๆ ชาติไป  มนุษย์ปุถุชนโดยทั่วไป จะเบื่อความทุกข์ไม่เบื่อความสุข

            ความสุขของมนุษย์ปุถุชนทั่วไป หมายถึง  ความพอใจรักใคร่  ในสิ่งต่าง ๆ  เช่นพอใจรักใคร่ใน ลาภ ยศ  สรรเสริญ สุข  พอใจรักใคร่ใน  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส ธรรมารมณ์ 

            ไม่เบื่อลาภ  ลาภ หมายถึง ทรัพย์สิน  เงินทอง ข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งปัจจัย    เมื่อมีความรักใคร่พอใจในสิ่งใด ๆ แล้ว  ก็คิดว่าเป็นความสุข  จึงยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเรา  ทำให้มีความรู้สึกไม่เบื่อลาภในขณะนั้น  เช่นมีทรัพย์สินเงินทอง ก็ดีใจพอใจเป็นสุข  และอยากได้มาอีกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  ถึงแม้จะได้มาด้วยความทุกข์ยากลำบาก  หรือทุจริตคดโกงก็ตาม  มีทรัพย์น้อยก็เบื่อ   มีทรัพย์มากก็ไม่เบื่อ  อยากมีให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไป  จะได้เห็นว่าเรามีความสุขเหนือกว่าผู้อื่น ดังนั้นมนุษย์ปุถุชนจึงไม่เบื่อลาภ 

            ไม่เบื่อยศ    ยศ หมายถึง  เครื่องหมายแสดงถึง  ตำแหน่ง หน้าที่การงาน  การมียศจึงเป็นเหตุให้ได้มาซึ่งเงินทอง  เพื่อนำมาซื้อหาสิ่งต่าง ๆ ตามที่ตนต้องการ  เพราะเป็นความสุขของมนุษย์ปุถุชน  เมื่อมียศน้อย ก็อยากได้ยศที่สูงขึ้น  จึงร้อนรนกระวนกระวาย  ขวนขวาย  เพื่อให้ได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น  ยอมวิ่งเต้นเสียเงินเสียทอง  ให้กับผู้มีอำนาจในการแต่งตั้งเพื่อเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งให้กับตนเอง  เพราะเข้าใจว่าเมื่อมียศถาบรรดาศักดิ์แล้วเป็นความสุข  ดังนั้นมนุษย์ปุถุชนจึงไม่เบื่อยศ   

            ไม่เบื่อสรรเสริญ    สรรเสริญ   หมายถึง  คำยกย่องชมเชย  ชื่นชมยินดี  เช่น ว่าเป็นคนดี  เป็นคนเก่ง  เป็นคนฉลาด  เป็นคนสวย  เป็นคนรวย  เป็นคนใหญ่คนโต  เป็นคนมีอำนาจ  เป็นคนมีบุญมีวาสนาดี  เป็นคนมีความสุข  เมื่อได้ยินแล้วก็พอใจ  รู้สึกยินดีและเป็นสุข  ดังนั้นมนุษย์ปุถุชนจึงไม่เบื่อคำสรรเสริญ

            ไม่เบื่อความสุข  ความสุข   หมายถึง ความพอใจรักใคร่  ในรูป  เสียง  กลิ่น  รส สัมผัส  ธรรมารมณ์  พอใจรักใคร่ ใน ลาภ ยศ  สรรเสริญ สุข  เช่น

            ตา  เห็นรูป เห็นสิ่งที่สวยงาม  มีความรักใคร่พอใจในรูปนั้น ๆ ก็จะรู้สึกว่าเป็นสุข 

            หู  ได้ยินเสียงที่ไพเราะ  มีความพอใจในเสียงนั้น  ๆ ก็จะรู้สึกว่า เป็นสุข 

            จมูก  ได้ดมกลิ่นหอม  มีความพอใจในกลิ่นหอมนั้น ๆ ก็จะรู้สึกว่าเป็นสุข 

            ลิ้น  ได้ลิ้มรสอาหารที่อร่อย  มีความพอใจในรสอาหารนั้น ๆ ก็จะรู้สึกว่าเป็นสุข

            กาย  สัมผัสกับ  เย็น  ร้อน  อ่อน  แข็ง  เช่น กายสัมผัสกาย  หญิงชายได้ร่วมเสพกาม  มีความพอใจรักใคร่  ในการเสพกามทุก ๆ ครั้ง  ก็จะรู้สึกว่าเป็นสุข  จึงอยากเสพกามบ่อย ๆ และไม่รู้จักอิ่มในรสกาม หรือถ้าได้นอนที่นอนนุ่ม ๆ ก็จะรู้สึกมีความสุข ได้อยู่ในห้องแอร์เย็น ๆ ก็จะรู้สึกมีความสุขเป็นต้น 

            ธรรมารมณ์  หมายถึงธรรมชาติของจิต  ที่มีหน้าที่คิด  ตามสิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบ  ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย   เมื่อจิตเกิดมีความพอใจในการกระทบหรือสัมผัสนั้น ๆ ก็จะรู้สึกเป็นสุข 

            เพราะฉะนั้น มนุษย์ปุถุชนจึงไม่เบื่อความสุข พยายามแสวงหา ดิ้นรนขวนขวายหาความสุขอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  จนกว่าจะตาย  นี้คือความสุขของมนุษย์ปุถุชนทั่วไป  คือจะเบื่อในสิ่งที่ตนไม่พอใจ ถึงแม้บางอย่างเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย ตามครรลองคลองธรรม เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์  ต่อตนเองและผู้อื่น แต่มีความไม่พอใจในการทำความดี  มนุษย์ประเภทนี้  จะเบื่อในการทำความดีต่าง ๆ  แต่ถ้าสิ่งใดหรือการกระทำใด ๆ เมื่อตนเองมีความพอใจรักใคร่  เช่นเล่นการพนัน ดื่มสุรา เสพยาเสพติด ก็จะมีความสุขกับสิ่งนั้น ๆ ไม่รู้สึกเบื่อ แม้สิ่งนั้น จะผิดกฎหมาย  ผิดครรลองคลองธรรม  สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น  รวมทั้งสังคมประเทศชาติบ้านเมืองก็ตาม  มนุษย์ประเภทนี้  ถูกกิเลส  ความโลภ ความโกรธความหลง  เข้าครอบงำจิตให้มืดมน  ไม่มีสติปัญญาพิจารณาได้ว่า  อะไรผิด ถูก  ชั่ว  ดี  เพราะลุ่มหลงมัวเมาอยู่ใน  รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส  ธรรมารมณ์  หลงอยู่ใน ลาภ ยศ  สรรเสริญ  สุข  จึงเข้าใจผิดว่า  มีสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้แล้วจะมีความสุข  แท้ที่จริงสิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้เป็นเหตุของการเกิดทุกข์ทั้งสิ้น 

            เพราะฉะนั้น  การที่มนุษย์ปุถุชนเบื่อความทุกข์  เป็นการถูกต้องแล้ว  แต่ที่ไม่เบื่อความสุขนั้นเป็นความเข้าใจผิด  เพราะเกิดจากความหลงพอใจรักใคร่ในสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น จึงไม่เบื่อ  แต่ถ้าเกิดความไม่พอใจหรือหมดรักแล้ว  ก็จะเกิดความเบื่อสิ่งนั้นขึ้นมาทันที  เช่น

ชาย  หญิง มีความพอใจรักใคร่ซึ่งกันและกัน  ก็จะหาทางมาอยู่ด้วยกันฉันท์สามี ภรรยา  จะถูกหรือผิดประเพณีก็ตาม  ใหม่ ๆ ก็รู้สึกมีความสุขมากไม่เบื่อ  แต่อยู่ด้วยกันอีกไม่นานทั้งสองเกิดความไม่พอใจ ด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดขึ้นมา  เกิดความโกรธ  เกลียด  อาฆาตพยาบาทปองร้าย  บางครั้งด่าว่า  ตบตี  ทำร้าย  หรือฆ่ากันตายก็มี  บางคู่เกิดความทุกข์ทรมาน  เบื่อหน่าย  และเลิกราหย่าร้าง แยกทางกันไปในที่สุด

            ดังนั้น  จะเห็นได้ว่าเมื่อมีความพอใจกับสิ่งใด  ก็จะรู้สึกมีความสุขกับสิ่งนั้น  แต่เมื่อเกิดความไม่พอใจกับสิ่งเดียวกันนั้น  ก็จะรู้สึกมีความเบื่อและเป็นทุกข์ในทันที

            หรือกรณี  บ้าน  รถ  ตู้เย็น  โทรทัศน์ พัดลม  แก้วแหวน  เงินทอง  เครื่องประดับ   เพชรนิล จินดา  เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม  เป็นต้น  สิ่งของเหล่านี้ เมื่อมีความพอใจ  เคยทำให้เรามีความสุขมาก  แต่เมื่อเกิดความไม่พอใจในสิ่งของเหล่านี้  ทำให้เกิดความทุกข์  อยากเปลี่ยนใหม่ก็เป็นทุกข์    ความสุขที่เคยมีกับสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้   กลับหายไปมีแต่ความทุกข์ตามมาในทันที 

            ตัวเราก็เช่นเดียวกัน  เมื่อครั้งเป็นหนุ่มเป็นสาว เคยมีความพอใจที่มีรูปร่างหน้าตาที่สวยงามก็มีความสุข เมื่ออายุมากขึ้นความแก่ทำให้ร่างกายโค้งงอ ผิวหนังเหี่ยวย่นก็เป็นทุกข์   บางคนทำศัลยกรรม ดึงหน้าดึงหลังให้เต่งตึงเหมือนเดิม หรือฉีดสารบางอย่างที่ใบหน้าเพื่อให้สวยงามแต่กลับทำให้ใบหน้าเสียโฉมน่าเกลียดน่าชังก็มี  บางคนเอาแป้งพอกหน้าหนาจนขาวน่าเกลียด  ผมที่หงอกขาวก็ย้อมให้ดำ  ก็ไม่พ้นความแก่ความตายไปได้เลย

            พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนไว้ว่า  มนุษย์เกิดมาในโลกนี้  ไม่มีความสุข มีแต่ความทุกข์  ตั้งแต่ลมหายใจเข้า - ออก นั่ง นอน ยืน เดิน กิน ขับถ่าย หิว หรืออิ่มก็เป็นทุกข์  จะมีทรัพย์  มียศ  หรือมีสิ่งต่าง ๆ มากมาย  ล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น  มนุษย์เข้าใจผิดว่า ความพอใจคือความสุขที่แท้จริงพระพุทธองค์ทรงสอนไว้ว่า   ความสุขของมนุษย์เป็นความสุขที่อิงอามิส ( สิ่งของต่าง ๆ )  ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง  เพราะมีความทุกข์เจือปนอยู่ในความสุขเหล่านั้น 

            อันที่จริงแล้ว  ความสุขที่แท้จริงของมนุษย์  คือความสบายใจที่ไม่มีกิเลสครอบงำจิต  เมื่อไม่มีความโลภ  ความทุกข์ก็ไม่มี  เมื่อไม่มีความโกรธ  ความทุกข์ก็ไม่มี  เมื่อไม่มีความหลง  ความทุกข์ก็ไม่มี  จึงมีแต่ความสบายใจ  เพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด ๆ   มีความสันโดษเป็นสันดาน  พอใจในสิ่งที่มี ที่ได้ ที่เป็น  มีความต้องการเท่าที่จำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์เท่านั้น  เพราะเข้าใจดีว่าตายไปแล้วเอาอะไร  ติดตัวไปไม่ได้เลย  นอกจากความดีและความชั่วเท่านั้น  นี้คือความจริงที่เกิดขึ้นแล้วกับมนุษย์ทุกคน 

 

ความเบื่อของพระอริยะ

 

พระอริยะ  มีความเบื่อทั้งความทุกข์และเบื่อความสุข เช่นเบื่อความทุกข์ประจำ ที่มีร่างกายต้องเลี้ยงด้วยปัจจัย    คือต้องหาอาหารเลี้ยงร่างกาย  (ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ) ต้องมีเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม  มาห่อหุ้มร่างกาย ต้องมีที่อยู่อาศัยให้ร่างกายพ้นแดด พ้นฝน พ้นอันตรายจากสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลาย  ต้องมียารักษาโรค เมื่อร่างกายเจ็บป่วย  จึงต้องดิ้นรนหาเงินหาทอง  มาซื้อขายแลกเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จนกว่าจะตาย  เป็นความทุกข์ที่ไม่มีที่สิ้นสุด พระอริยะจึงเบื่อความทุกข์เหล่านี้

ถึงแม้จะมีปัจจัย    ที่สมบูรณ์แล้วก็ยังไม่มีความสุขที่แท้จริง  เพราะยังมีทุกข์ประจำวัน เช่น ทุกข์หิว ทุกข์อิ่ม ทุกข์ขับถ่าย ทุกข์ร้อน ทุกข์หนาว ทุกข์ นั่ง นอน ยืน เดิน ทุกข์เพราะความหมุนเวียนเปลี่ยนไปของโลก  มีมืด มีสว่าง มีกลางวัน มีกลางคืน ซึ่งเป็นธรรมชาติของโลก  มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในโลกนี้  ต้องปรับตัวปรับใจให้ทันกับความหมุนเวียนของโลก  หมายถึงกลางวัน ควรทำอะไร  กลางคืนควรทำอะไร  ให้เหมาะสมกับกาลเวลา  ถ้าแบ่งเวลาไม่ถูกความทุกข์ความเดือดร้อนก็จะเกิดขึ้นเช่น ทำงานหรือเล่นการพนันทั้งวันทั้งคืนไม่พักผ่อนหลับนอน  ร่างกายก็จะทรุดโทรมทำให้เจ็บป่วยเป็นโรคต่าง ๆ  บางคนเอาแต่นอนทั้งวันทั้งคืนไม่ทำงาน  เกิดความเสื่อมเป็นคนเกียจคร้าน  เป็นที่น่ารังเกียจของคนทั่วไป พระอริยะจึงเบื่อความทุกข์ ที่เกิดขึ้นทุกอย่างในโลกนี้

พระอริยะเบื่อความสุข  ความสุข หมายถึง ความพอใจรักใคร่ใน ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข พอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส  ธรรมารมณ์  พระอริยะเข้าใจในธรรมชาติ  ของจิตที่ถูกกิเลสครอบงำ จึงติดอยู่ในความพอใจว่าเป็นสุข  แต่พระอริยะเบื่อในความสุขเหล่านั้น  เพราะท่านมีสติปัญญาดี  รู้แจ้งเห็นจริงว่า สิ่งใดที่เป็นเหตุให้เรามีความสุข  สิ่งนั้นย่อมเป็นเหตุให้เราเกิดความทุกข์อย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้พระอริยะจึงเบื่อทั้งความทุกข์และความสุข  เพราะเห็นว่า  ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้  เกิดขึ้น  ตั้งอยู่ แล้วดับไป  ทุกอย่างไม่เที่ยง  ต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่า  เป็นความทุกข์หรือเป็นความสุข  เพราะทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามธรรมชาติ  พระอริยะจึงแสวงหาความสบายใจ  โดยการนำพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า  มาชำระกิเลส ความโลภ ความโกรธ  ความหลง ให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ  พระอริยะจึงไม่มีความทุกข์ใจและไม่มีความสุขใจ  มีแต่ความสบายใจ  เป็นผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบาน  เมื่อดับขันธ์  ก็จะเข้าสู่แดนวิมุตหลุดพ้น ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป  เข้าสู่พระนิพพาน ในที่สุด

           

 

 

บรรณานุกรม

 

๑)  นวโกวาท  ( ฉบับประชาชน )  สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณ   วโรรส  โรงพิมพ์  มหามกุฏราชวิทยาลัย  หน้า วัดบวรนิเวศน์วิหาร  กรุงเทพฯ พลอากาศเอกหะรินหงสกุล  ผู้พิมพ์  ผู้โฆษณา  .. ๒๕๔๓

๒)  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. ๒๕๔๒  จัดพิมพ์โดย  บริษัท       นานมีบู๊คส์  พับลิเคชั่นส์  จำกัด  ๙๔๗ / ๑๕๘-๑๕๙  หมู่  ๑๒ ถนน บางนา-ตราด เขต     บางนา แขวงบางนา  กรุงเทพฯ (๑๐๒๖๐)  พ.ศ. ๒๕๔๖

๓)  หนังสือบูรณาการแผนใหม่  นักธรรมชั้นตรี  เรียบเรียงโดย  คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง  เพียรเพื่อพุทธศาสน์ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง  ๖๗๙/๗๑-๗๔ ถนนประชาอุทิศ  ซอย ๔๕  เขตทุ่งครุ   กรุงเทพฯ  (๑๐๑๔๐)  พ.ศ. ๒๕๔๖

 

 

 

 

 

 

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view