http://www.porjarearntum.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ05/04/2009
อัพเดท06/09/2022
ผู้เข้าชม704,746
เปิดเพจ955,410

บริการ

หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ติดต่อเรา

บทกลอนธรรมะ

จูงมือลูกเดิน

ระลึกได้และรู้ตัวหมายความว่าอย่างไร

รัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

อันตรายของภิกษุ สามเณร ผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง

ความจริงอันประเสริฐที่ควรรู้ ๔ ประการ

ธรรมะอันทำให้งาม มี ๒ ประการ

ธรรมคุ้มครองโลก

เสียงเทศน์ทำใหม่ล่าสุด

วงล้อแห่งพระธรรมที่นำไปสู่ความเจริญ ๔ อย่าง

ทุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

สุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

วิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการ หมายความว่าอย่างไร

คุณของรัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด

มูลเหตุของความโง่เขลา

มูลเหตุของความฉลาด

ท่านรู้จักตนเองว่ามีกิเลสหรือไม่ ต้องพิจารณาอย่างไร

ท่านรู้จักมนุษย์ ๔ ประเภทหรือยัง ?

คิดดี พูดดี ทำดี

ความสุข ความทุกข์ ความสบาย แตกต่างกันอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ

ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบและเกิดปัญญา

ศาสนาคืออะไร

ป่วยกาย ป่วยใจ หมายความว่าอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ (เนื้อหา)

ทำความดีเพื่ออะไร

คุณธรรม ๕ ประการ สนับสนุนความสำเร็จ

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมายความว่าอย่างไร

ศีล ในพระพุทธศาสนา ๒๒๗ ข้อ ภาคภาษาไทย อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ปัจจัย ๔ รูปธรรม และ ปัจจัย ๔ นามธรรม

มนุษย์ เป็นโรค ๔ อย่าง บ้า ใบ้ บอด หนวก

ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาปหมายความว่าอย่างไร

ระวังจิต ระวังอารมณ์ หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา มีจริงหรือไม่

จิตสงบ จิตว่าง แตกต่างกันอย่างไร

อยากรู้ อยากห็น อยากเป็น อยากไป หมายความว่าอย่างไร

มืดมามืดไป และสว่างมาสว่างไป หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่มีมาก ทำให้น้อยลง สิ่งที่มีอยู่ทำให้หมดไป

ความเห็นแก่ตัว กับการรักตัวเอง

ท่านพบเห็นเมืองพอแล้วหรือยัง

การทำความชั่วเพราะเหตุ ๔ ประการ

รู้จด รู้จำ รู้แจ้ง หมายความว่าอย่างไร

สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ฟังธรรมเป็นยาฉีด จริงหรือ

ผู้ที่ไม่แต่งงาน จะตกนรก จริงหรือไม่

มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ

ก็ต้อง ก็ได้ ก็ดี หมายความว่าอย่างไร

บันใด ๘ ขั้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

งามทั้ง กาย วาจา ใจ

ผู้ที่ฝีกสมาธินาน ๆ ไม่เกิดปัญญาเพราะเหตุใด

คิดอย่างไรจึงไม่เกิดทุกข์

จิตใต้สำนึก

คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ

ทำใจ หมายความว่าอย่างไร

ประเพณีงานศพที่ถูกต้อง... เหตุใดจึงต้องเผาศพ...

ความเบื่อของปุถุชนกับความเบื่อของพระอริยะ

พระราชดำรัส คุณธรรม ๔ ประการ(เนื้อหา)

มีสิ่งใด สิ่งนั้นก็เสื่อม

บวชเพื่ออะไร

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือ

ทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์

บุคคลที่หาได้ยาก ความกตัญญูกตเวที

การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดหรือถูก...

ความหวัง

มืดมาสว่างไป สว่างมามืดไป หมายความว่าอย่างไร

ผู้ที่ขัดขวางการปฏิบัติธรรม มีโทษอย่างไร

แผ่นพับธรรมะ

งามทั้ง กาย วาจา ใจ

งามทั้งกาย  วาจา  ใจ  หมายความว่าอย่างไร

           

ผู้ที่จะงามกาย  วาจา ได้นั้นต้องมีคุณธรรม  ประจำกาย วาจา    ประการ คือขันติ  โสรัจจะ 

๑)  ขันติ  แปลว่า   ความอดทน

๒)  โสรัจจะ แปลว่า   ความสงบเสงี่ยม

๑)  ขันติ แปลว่า ความอดทน  หมายถึง  อดทนต่อความทุกข์กาย  ทุกข์ใจ   

-   ความทุกข์กาย   หมายถึง ความไม่สบายกาย  เช่น

ทุกข์ประจำ (ทุกข์ที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ)  เช่นทุกข์เพราะหิว  ทุกข์เพราะอิ่ม  ทุกข์เพราะขับถ่าย  ทุกข์เพราะหนาว  ทุกข์เพราะร้อน  ทุกข์เพราะนั่ง  นอน  ยืน เดิน เป็นต้น 

ทุกข์จร (ทุกข์ที่เกิดขึ้นในบางครั้ง) เช่น ทุกข์เพราะเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ  ทุกข์เพราะถูกทำร้ายร่างกาย หรือเกิดอุบัติเหตุ  สูญเสียอวัยวะบางอย่างเช่น  แขนขาด  ขาขาด ตาบอด พิการเป็นต้น 

ผู้ที่มี  ขันติ  โสรัจจะ  มีความอดทน  ความสงบเสงี่ยม  เป็นคุณธรรมประจำกาย  วาจา  แล้ว เมื่อมีความทุกข์ทางกายเกิดขึ้น  ก็ไม่แสดงกิริยา วาจา ที่ไม่สุภาพ เรียบร้อย เช่นไม่โวยวาย  ไม่ร้อนรนกระวนกระวาย  กระสับกระส่าย  กับความทุกข์เหล่านั้น  นี้คือผู้ที่มี  ขันติ  โสรัจจะ  ควบคุม กาย  วาจา  ให้มีความสุภาพอ่อนโยน เรียกว่า งามทั้งกายงามทั้งวาจา 

-         ความทุกข์ใจ  หมายถึง  ความไม่สบายใจ เกิดจากมีสิ่งต่าง ๆ มากระทบตา  หู 

จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ เช่น ตาเห็นรูป  หูได้ยินเสียง  จมูกได้ดมกลิ่น  ลิ้นได้ลิ้มรส  กาย  สัมผัสรู้สึกหนาวร้อน  สัมผัสอ่อน  แข็ง  เกิดความพอใจก็เป็นทุกข์ เพราะอยากได้  รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส  เหล่านั้นมาเป็นของตน  หรือเกิดความไม่พอใจก็เป็นทุกข์  เพราะไม่อยากได้  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  เหล่านั้น ผู้ที่มีความอดทน  มีความสงบเสงี่ยม  มีสติปัญญาดีก็จะระงับ  ยับยั้งชั่งใจไม่แสดงอาการ  ร้อนรน กระวนกระวายใจ  ทางกาย  วาจา ให้ผู้อื่นเห็นเพราะความอยากได้สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น  หรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากความไม่พอใจ  ไม่อยากได้  ก็จะไม่แสดงอาการร้อนรนกระวนกระวาย  กระสับกระส่าย  ทางกาย วาจา ให้ผู้อื่นเห็น  ถึงแม้จะมีความทุกข์ใจอยู่ก็ตาม เพราะมี  ขันติ  โสรัจจะ และสติปัญญา  เป็นคุณธรรม  ประจำใจ  จึงดู  งามทั้งกาย  วาจา  ใจ 

ผู้ที่จะงามทางใจได้นั้น  ต้องมีคุณธรรมประจำใจ  คือ  มีพรหมวิหาร     เมตตา  กรุณา  มุทิตา  อุเบกขา 

-         เมตตา  คือ ความรัก  ผู้ที่มีจิตใจงาม  ต้องมีความรักอย่างกว้างขวาง  ปรารถนา

ให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณ มีความสุขถ้วนหน้ากัน  ส่วนผู้ที่รักเฉพาะ พ่อแม่  สามีภรรยา บุตร ญาติพี่น้อง  พวกพ้องบริวารของตนเอง  ซึ่งเป็นความรักที่เป็นธรรมชาติของปุถุชน  ไม่ถือว่ามีคุณธรรมอันสูงส่ง  ในพรหมวิหาร    นี้แต่อย่างใด 

-         กรุณา  คือ ความสงสาร  ผู้ที่มีจิตใจงามนั้น ต้องมีความสงสารอย่างกว้างขวาง 

ปรารถนา ให้ทุกชีวิตทุกวิญญาณ ที่ได้รับความทุกข์  ให้พ้นจากความทุกข์  ส่วนผู้ที่มีความสงสารเฉพาะ พ่อแม่  สามีภรรยา บุตร ญาติพี่น้อง  พวกพ้องบริวารของตนเองซึ่งเป็นความสงสาร  ที่เป็นธรรมชาติของปุถุชน  ไม่ถือว่ามีคุณธรรมอันสูงส่ง  ในพรหมวิหาร    นี้แต่อย่างใด    

-         มุทิตา  คือ ความพลอยยินดี  ผู้ที่มีจิตใจงามนั้น ต้องมีความพลอยยินดีอย่าง

กว้างขวาง  มีความพลอยยินดีกับทุกชีวิตทุกวิญญาณ ที่ได้ดีมีสุข  ส่วนผู้ที่มีความพลอยยินดี  ให้เฉพาะ พ่อแม่  สามีภรรยา บุตร ญาติพี่น้อง  พวกพ้องบริวารของตนเอง  ซึ่งเป็นความพลอยยินดี  ที่เป็นธรรมชาติของปุถุชน  ไม่ถือว่ามีคุณธรรมอันสูงส่ง  ในพรหมวิหาร    นี้แต่อย่างใด    

-         อุเบกขา  คือ ความเป็นกลาง  มีใจเป็นธรรมไม่ลำเอียง  ผู้ที่มีจิตใจงามนั้น ต้องมี

ความเป็นธรรม  อย่างกว้างขวาง  ให้กับทุกชีวิตทุกวิญญาณ อย่างเสมอกัน ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง  ส่วนผู้ที่มีความเป็นธรรมให้เฉพาะ พ่อแม่  สามีภรรยา บุตร ญาติพี่น้อง  พวกพ้องบริวารของตนเอง  ซึ่งมีความเป็นธรรม  ที่เป็นธรรมชาติของปุถุชน  ไม่ถือว่ามีคุณธรรมอันสูงส่ง  ในพรหมวิหาร    นี้แต่อย่างใด   

ส่วนผู้ที่จะงามทั้งกาย  วาจา ใจ นั้น ต้องมีคุณธรรม  ขันติ โสรัจจะ ประจำกาย

วาจา  และมีพรหมวิหาร    ประจำใจ แล้วยังต้องมี สติ ปัญญาที่ดี 

-         สติ คือความระลึกได้ 

-         ปัญญา  คือความรอบรู้  รู้เหตุ  รู้ผล  รู้ผิด  ถูก  ชั่ว  ดี  รู้บาป  บุญ  คุณ  โทษ 

จะคิด  จะพูด จะทำสิ่งใด ๆ ก็เลือกทำแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์  ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น  รวมทั้งสังคม ประเทศชาติบ้านเมือง

       ส่วนผู้ที่ขาดคุณธรรม  ดังที่กล่าวมาแล้วนี้  จะมีจิตใจโหดร้ายทารุณ  มีกิริยา วาจา

ที่หยาบคาย  ไม่สุภาพเรียบร้อย  ไม่งามทั้งกาย  วาจา  ใจ  เพราะขาด สติ  ปัญญา  ไร้เหตุ 

ไร้ผล  ไม่รู้ผิด  ถูก  ชั่ว  ดี  ไม่รู้ บาป บุญ คุณ โทษ จิตอยู่ใต้อำนาจของกิเลส มีความโลภ  ความโกรธ  ความหลง เป็นพื้นฐานของจิต  จึงคิด พูด ทำแต่สิ่งที่ไม่ดี ไม่มีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น   นี้เรียกว่า   ผู้ที่ไม่งามทั้งกาย  วาจา  ใจ  

       คุณธรรมอันทำให้งามทั้งกาย วาจา ใจ  นี้ มีประโยชน์มาก ถ้าผู้ใดยังไม่มีก็ขอให้สร้างคุณธรรม เหล่านี้ให้เกิดขึ้น กับตนเอง  แต่ถ้าผู้ใดที่มีคุณธรรมเหล่านี้แล้ว ก็ขอให้สร้างเสริม ให้มีมากยิ่ง ๆ ขึ้นไป  ท่านจะได้ชื่อว่า เป็น    ผู้ที่งามทั้งกาย  วาจา ใจ 

 

 

 

กลอน  ธรรมอันทำให้งาม

 

                                                 อันขันติ         คืออดทน       คนควรคิด

                                          มิยึดติด                 ความทุกข์      ไม่สุขี

                                          จงอดทน              รับกรรม         ทำไม่ดี

                                          ในชาตินี้               จึงทุกข์           สุขไม่เป็น

                                                 ต้องอดทน    รันทด             ความอดอยาก

                                          ทนลำบาก            ทางใจ            ใครไม่เห็น

                                          ทนเหน็ดเหนื่อย ตรากตรำ       แสนลำเค็ญ

                                          ทั้งเจ็บเป็น           ป่วยไข้           ไม่สบาย

                                                 โสรัจจะ        คือเสงี่ยม       เจียมตัวไว้

                                          ระวังกาย              ให้สงบ           เมื่อพบเห็น

                                          กิริยา                     มารยาท          ทำให้เป็น

                                          ตัวอย่างเช่น         คนดี                มีจรรยา

                                                 จะรู้สึก          ดีใจ                 หรือเสียใจ

                                          เสงี่ยมไว้              อย่าให้ออก    มานอกหน้า

                                          จะเจ็บแค้น          แสนปวด       ในอุรา

                                          ต้องรักษา            มารยาทไว้     จะได้งาม

                                                 ขอทุกท่าน    จงคิด              พิจารณา

                                          ว่าอดทน              กับสิ่งใด        ได้บ้างหนา

                                          ถ้าทนได้              ก็ดูงาม            อร่ามตา

                                          ทั้งวาจา                กายใจ             ใช่คนดี

 

 

กลอน  พรหมวิหารธรรม 

 

                                                 อันเมตตา      คือความรัก    จักเผื่อแผ่

                                          จะมากแท้            ก็ต่อเมื่อ         เผื่อมากหลาย

                                          ทั้งพ่อแม่              เพื่อนพ้อง      น้องหญิงชาย

                                          สัตว์ทั้งหลาย      ในโลก           จงโชคดี

                                                 กรุณา             คือสงสาร      วานช่วยบอก

                                          ใครช้ำชอก          เป็นทุกข์        ไม่สุขี

                                          จงช่วยเขา            ให้พ้นทุกข์    เป็นสุขดี

                                          แม้สัตว์ที่              เจ็บป่วย          จงช่วยกัน

                                                 มุทิตา             คือยินดี           ผู้มีโชค

                                          อย่าเศร้าโศก       เสียใจ             ภัยมหันต์

                                          จงทำใจ                ให้ดี                มีต่อกัน

                                          พระองค์ท่าน      สอนไว้           ให้ยินดี

                                                 อุเบกขา         คือวางเฉย     เคยหรือไม่

                                          คือทำใจ               ให้เป็นกลาง  สว่างศรี

                                          ไม่ดีใจ                  หรือเสียใจ     เมื่อภัยมี

                                          จะเกิดที่               สัตว์เหล่าใด  ใครก็ตาม

                                                 ขอทุกท่าน    จงคิด              พินิจดู

                                          หากไม่รู้               แม้นชอบ       ให้สอบถาม

                                          คุณธรรม              ทั้งสี่                นี้ช่างงาม

                                          มีประจำ               ก็เป็นพรหม   สมดังใจ

 

 

บรรณานุกรม

 

๑)  นวโกวาท  ( ฉบับประชาชน )  สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณ   วโรรส  โรงพิมพ์  มหามกุฏราชวิทยาลัย  หน้าวัดบวรนิเวศน์วิหาร กรุงเทพฯ พลอากาศเอกหะริน  หงสกุล  ผู้พิมพ์  ผู้โฆษณา  .. ๒๕๔๓

๒)  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. ๒๕๔๒  จัดพิมพ์โดย  บริษัท นานมีบู๊คส์  พับลิเคชั่นส์  จำกัด  ๙๔๗ / ๑๕๘-๑๕๙ หมู่  ๑๒ ถนน บางนา-ตราด เขต  บางนา แขวงบางนากรุงเทพฯ (๑๐๒๖๐)  พ.ศ. ๒๕๔๖

๓)  หนังสือบูรณาการแผนใหม่  นักธรรมชั้นตรี  เรียบเรียงโดย  คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง  เพียรเพื่อพุทธศาสน์ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง  ๖๗๙/๗๑-๗๔ ถนนประชาอุทิศ  ซอย ๔๕  เขตทุ่งครุ   กรุงเทพฯ  (๑๐๑๔๐)  พ.ศ. ๒๕๔๖

 

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view