http://www.porjarearntum.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ05/04/2009
อัพเดท06/09/2022
ผู้เข้าชม687,030
เปิดเพจ935,387

บริการ

หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ติดต่อเรา

บทกลอนธรรมะ

จูงมือลูกเดิน

ระลึกได้และรู้ตัวหมายความว่าอย่างไร

รัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

อันตรายของภิกษุ สามเณร ผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง

ความจริงอันประเสริฐที่ควรรู้ ๔ ประการ

ธรรมะอันทำให้งาม มี ๒ ประการ

ธรรมคุ้มครองโลก

เสียงเทศน์ทำใหม่ล่าสุด

วงล้อแห่งพระธรรมที่นำไปสู่ความเจริญ ๔ อย่าง

ทุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

สุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

วิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการ หมายความว่าอย่างไร

คุณของรัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด

มูลเหตุของความโง่เขลา

มูลเหตุของความฉลาด

ท่านรู้จักตนเองว่ามีกิเลสหรือไม่ ต้องพิจารณาอย่างไร

ท่านรู้จักมนุษย์ ๔ ประเภทหรือยัง ?

คิดดี พูดดี ทำดี

ความสุข ความทุกข์ ความสบาย แตกต่างกันอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ

ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบและเกิดปัญญา

ศาสนาคืออะไร

ป่วยกาย ป่วยใจ หมายความว่าอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ (เนื้อหา)

ทำความดีเพื่ออะไร

คุณธรรม ๕ ประการ สนับสนุนความสำเร็จ

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมายความว่าอย่างไร

ศีล ในพระพุทธศาสนา ๒๒๗ ข้อ ภาคภาษาไทย อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ปัจจัย ๔ รูปธรรม และ ปัจจัย ๔ นามธรรม

มนุษย์ เป็นโรค ๔ อย่าง บ้า ใบ้ บอด หนวก

ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาปหมายความว่าอย่างไร

ระวังจิต ระวังอารมณ์ หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา มีจริงหรือไม่

จิตสงบ จิตว่าง แตกต่างกันอย่างไร

อยากรู้ อยากห็น อยากเป็น อยากไป หมายความว่าอย่างไร

มืดมามืดไป และสว่างมาสว่างไป หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่มีมาก ทำให้น้อยลง สิ่งที่มีอยู่ทำให้หมดไป

ความเห็นแก่ตัว กับการรักตัวเอง

ท่านพบเห็นเมืองพอแล้วหรือยัง

การทำความชั่วเพราะเหตุ ๔ ประการ

รู้จด รู้จำ รู้แจ้ง หมายความว่าอย่างไร

สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ฟังธรรมเป็นยาฉีด จริงหรือ

ผู้ที่ไม่แต่งงาน จะตกนรก จริงหรือไม่

มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ

ก็ต้อง ก็ได้ ก็ดี หมายความว่าอย่างไร

บันใด ๘ ขั้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

งามทั้ง กาย วาจา ใจ

ผู้ที่ฝีกสมาธินาน ๆ ไม่เกิดปัญญาเพราะเหตุใด

คิดอย่างไรจึงไม่เกิดทุกข์

จิตใต้สำนึก

คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ

ทำใจ หมายความว่าอย่างไร

ประเพณีงานศพที่ถูกต้อง... เหตุใดจึงต้องเผาศพ...

ความเบื่อของปุถุชนกับความเบื่อของพระอริยะ

พระราชดำรัส คุณธรรม ๔ ประการ(เนื้อหา)

มีสิ่งใด สิ่งนั้นก็เสื่อม

บวชเพื่ออะไร

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือ

ทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์

บุคคลที่หาได้ยาก ความกตัญญูกตเวที

การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดหรือถูก...

ความหวัง

มืดมาสว่างไป สว่างมามืดไป หมายความว่าอย่างไร

ผู้ที่ขัดขวางการปฏิบัติธรรม มีโทษอย่างไร

แผ่นพับธรรมะ

บวชเพื่ออะไร

ท่านบวชเพื่ออะไร

 

๑) บวชตามประเพณี

            ๒) บวชเพราะต้องการมีคู่ครอง

            ๓) บวชเพื่อแก้บน

            ๔) บวชหน้าไฟ

            ๕) บวชเรียน

            ๖) บวชเพราะแก่

            ๗) บวชทดแทนบุญคุณพ่อแม่

            ๘) บวชหนีคดี

            ๙) บวชใจ

            ๑๐) บวชกาย บวชใจ

๑๑) ไม่บวชกาย ไม่บวชใจ

๑๒) บวชเพื่อปฏิบัติให้พ้นทุกข์


บวชกาย หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจาก ฆราวาสเป็นเพศบรรพชิต ได้แก่ พระภิกษุ สามเณร และชี


๑) บวชตามประเพณี หมายถึง ผู้ชายที่มีอายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ แล้วต้องบวช เพราะถือเป็นประเพณีสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน ไม่ได้ตั้งใจบวชเพื่อศึกษาพระธรรม

คำสอน เพื่อนำมาชำระกิเลสให้หมดจากจิตใจ จึงไม่มีศีล ไม่มีธรรม ประจำใจ เมื่อลาสิกขาออกมา ก็เป็นคนที่มีกิเลส คือมีความโลภ ความโกรธ ความหลง เหมือนเดิม สิ่งที่ได้ทำความดี  ก็คือการได้งดเว้นการทำความชั่ว ทาง กาย วาจาได้บ้าง   นี้คือการบวชกายตามประเพณี

๒) บวชเพราะต้องการมีคู่ครอง หมายถึง ถ้าไม่บวชฝ่ายหญิงจะไม่แต่งงานด้วย เพราะถือว่ายังไม่ผ่านการอบรมบ่มนิสัยจากครูบาอาจารย์  ให้รู้ผิดถูก ชั่วดี เพราะเข้าใจว่า ผู้ที่บวชแล้วเป็นคนดีทั้งสิ้น แต่ผู้ที่บวชโดยไม่ได้ตั้งใจที่จะศึกษาปฏิบัติตามพระธรรม พระวินัยอย่างแท้จริง บวชแล้วนับวันลาสิกขาบท เพื่อจะได้เข้าสู่พิธีสมรส ตามที่ตนปรารถนา  แต่ผู้บวชไม่สามารถเป็นคนดีได้สมบูรณ์ นี้คือ การบวชกาย เป็นเพียงการบวชเพื่ออยากมีคู่ครองเท่านั้น

๓) บวชเพื่อแก้บน หมายถึง ผู้ที่ไปบนบาน ศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเองนับถือว่า ขอให้สำเร็จในสิ่งที่ตนเองปรารถนา เมื่อสำเร็จแล้วจะไปทำการบวชให้ ๓ วัน ๗ วัน  ๑ เดือน หรือ ๑ ปี ตามที่กำหนดไว้ ในขณะที่บวชก็ไม่ได้ศึกษาพระธรรม พระวินัย เมื่อครบกำหนดลาสิกขาบทออกมาแล้ว ไม่มีความซาบซึ้งในรสพระธรรมเลย ถ้าไม่บวชก็เกรงกลัวว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บนไว้จะลงโทษ  นี้คือ การบวชเพื่อแก้บน

๔) บวชหน้าไฟ หมายถึง พ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติพี่น้องเสียชีวิต ลูกหลานก็บวชเณรเพื่อจูงศพ ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน การบวชส่วนมากจะบวชตอนเช้า แล้วลาสิกขาบทตอนเย็น บางคนก็บวชเพียง ๑ คืน หรือ ๒-๓ คืน ยังไม่เข้าใจ ในศีล ๕ ธรรม ๕ ก็ลาสิกขาบท  แล้วผู้ที่ตายไปจะได้บุญจากการบวชได้อย่างไร นี้คือ การบวชกายที่เรียกว่าบวชหน้าไฟ

) บวชเรียน หมายถึง บวชเพราะต้องการศึกษาหาความรู้ เมื่อเรียนจบตามหลักสูตรแล้วก็ลาสิกขาบท เพื่อจะได้นำความรู้ไปประกอบอาชีพ ไม่ได้ตั้งใจบวชเพื่อปฏิบัติตามพระธรรมพระวินัยให้กิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง เบาบางลง เมื่อลาสิกขาบทแล้วจะเห็นว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง ไม่ได้เบาบางลงเลย นี้คือ การบวชกาย เพื่อเรียน

๖) บวชเพราะแก่ หมายถึง ผู้ที่บวชเพราะอายุมาก อาศัยศาสนาหากิน มาอาศัยวัด เพราะบ้านไม่ต้องเช่า ข้าวไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องทำมาหากิน  อยู่อย่างสบาย ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมพระวินัย บวชนาน ๆ บางรูปก็สะสมทรัพย์สินเงินทองไว้เป็นของตนเอง และให้ญาติพี่น้อง เพราะมีความหลง ความโลภในทรัพย์สมบัติ ในที่สุดก็ตายในผ้าเหลือง บวชลักษณะนี้ไม่ได้บุญ ไม่ได้กุศล และไม่ได้อานิสงส์ ในการบวช กลับเป็นบาป เพราะไม่ได้ทำประโยชน์อะไรเลย ให้กับพระพุทธศาสนา ตรงกับคำกล่าวที่ว่า

บวชเสียผ้าเหลือง เปลืองข้าวชาวบ้าน แต่คนแก่บางคนก็มีสติปัญญาดี  ตั้งใจบวชเพื่อชำระกิเลส บวชแล้วตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม พระวินัยอย่างเคร่งครัด เมื่อหมดอายุขัยก็จะไปสู่สุคติ   นี้คือ การบวชกายเพราะแก่

๗) บวชเพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่ เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานแล้ว ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ เมื่อมีอายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์  พ่อแม่ ก็จะจัดพิธีบวชให้เพราะ เข้าใจว่าพ่อแม่จะได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์ได้  อันที่จริงถ้าผู้บวชนั้นตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระธรรมคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นจริงตามคำสอนว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ชาติก่อน ชาตินี้ และชาติหน้ามีจริง เชื่อกฎแห่งกรรม และเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมา มีกิเลส คือความโลภ ความโกรธ ความหลงครอบงำจิต เป็นเหตุให้เกิดทุกข์อยู่ตลอดเวลา ผู้บวชนั้นได้ปฏิบัติตาม และเห็นประโยชน์ของคำสอนที่แท้จริง  เกิดปัญญาขึ้นกับตนเอง ว่ามีกิเลสมาก ก็ทุกข์มาก มีกิเลสน้อยก็ทุกข์น้อย  ถ้าชำระกิเลสให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ ก็เข้าสู่แดนวิมุต หลุดพ้นเมื่อสิ้นชีวิต ก็จะเข้าสู่นิพพาน ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงดังนี้แล้ว จึงนำคำสอนไปแนะนำพ่อแม่ ให้ละชั่วประพฤติดีทำจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์  ปราศจากกิเลส โดยการเริ่มต้นให้พ่อแม่ รู้จักการให้ทาน นำศีลมารักษากาย วาจา เจริญสมาธิให้จิตใจสงบ แล้วนำพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า มาพิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริง  แล้วจึงเกิดปัญญา เมื่อพ่อแม่ได้ปฏิบัติตามที่ลูกแนะนำจนกิเลสเบาบางหรือหมดสิ้นไป ในที่สุดพ่อแม่ก็จะไปสู่แดนสวรรค์หรือนิพพาน อย่างแน่นอน  นี้คือ การบวชเพื่อทดแทนบุญคุณพ่อแม่ อย่างแท้จริง

            ๘)  บวชหนีคดี  หมายถึง  ผู้กระทำผิดกฎหมายต่าง ๆ  เช่น ฆ่าคนตาย  ลักทรัพย์  ปล้นทรัพย์  ชิงทรัพย์  หรือข่มขืนกระทำชำเรา  ค้าอาวุธ  ค้ามนุษย์  ค้ายาเสพติด ทุจริต คดโกงต่าง    หรือเป็นนักโทษการเมือง เป็นต้น  ผู้ที่ได้กระทำความผิดดังกล่าว  ได้หลบหนีไปบวชเพื่อหลบซ่อนตัว  ไม่ให้ถูกจับกุม  ที่จริงแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้า  กำหนดไว้ว่าไม่ให้ผู้ที่กระทำผิดกฎหมายมาบวชเป็นพระภิกษุ สามเณร  เพราะฉะนั้น  เมื่อทางการเจ้าหน้าที่บ้านเมืองสืบทราบ  ก็มาจับกุมตัวต้องลาสิกขาบทแล้วนำตัวไปดำเนินคดีตามกฎหมายบ้านเมืองต่อไป  เพราะการทำความชั่วแม้แต่บวชเป็นพระภิกษุ ก็หนีกฎแห่งกรรมไม่พ้น  เมื่อเป็นคนชั่วทำให้ศาสนามัวหมอง นี้คือการบวชหนีคดี

๙) บางรูปบวชเพื่ออาศัยศาสนาหากิน  หมายถึง ผู้ที่บวชแล้ว  เรียนเพื่อตนเอง เพียงให้มีความรู้ตามหลักสูตรเท่านั้น เช่น  เรียนนักธรรม  เรียนบาลี จากประโยค ๑ ถึง ๙ พอจบแล้ว  ก็ไม่ได้นำพระธรรมคำสอนมาประพฤติปฏิบัติตาม  ตรงข้ามกลับแสวงหา ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ต้องการมียศถาบรรดาศักดิ์ใหญ่โต ตามตำแหน่งของพระสงฆ์  เมื่อได้ยศใหญ่เท่านี้แล้วก็ยังต้องการยศที่สูงกว่าเดิมไม่มีที่สิ้นสุด และยังมีการวิ่งเต้น ซื้อขายตำแหน่งกัน  เพื่อให้ได้ ลาภ  ยศ สรรเสริญ ตามที่ตนต้องการ  พระบางรูปบอกหวย เป็นหมอดู  ทำเสน่ห์เล่ห์กล  เรี่ยไรเพื่อเอาทรัพย์มาเป็นของตน  เพราะอำนาจของกิเลส ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง จึงเป็นเหตุให้ลุ่มหลงมัวเมา  ในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข  ติดอยู่ในรูป  เสียง กลิ่น  รส  สัมผัส ธรรมารมณ์  ทำให้พุทธศาสนิกชนเสื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนา  นี้คือ บวชเพื่ออาศัยศาสนาหากิน ( สมมุติสงฆ์ )

๑๐) บวชใจ หมายถึง ฆราวาสที่ไม่ได้บวชกาย เพราะมีความจำเป็นบางประการ แต่บวชใจเพราะมีปัญญา รู้ว่า ตัวเรามีกิเลส ทั้ง ๓ อย่างนี้ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต และเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ทั้งกาย และใจ จะต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้อีกนานแสนนาน หลายภพหลายชาติ จึงศึกษาพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านำมาประพฤติปฏิบัติตาม เช่น ท่านสอนว่าให้เราพิจารณาความไม่เที่ยง มีความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา เมื่อพิจารณาตามแล้วก็เห็นว่า ความไม่เที่ยงมีจริง เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเห็นตามว่า เรามีทุกอย่างเป็นทุกข์ ตั้งแต่ตัวเรา สามี ภรรยา บุตร ธิดา ทรัพย์สมบัติ ยศถาบรรดาศักดิ์ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งสิ้น และทุกอย่างที่เรามีก็เป็น อนัตตา คือ ความสูญสลายไปตามกาลเวลา ของสิ่งนั้น ๆ เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว ก็จะคลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปหรือนามใด ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ว่า เมื่อตายแล้วเราก็นำติดตัวไปไม่ได้ แม้เพียงอย่างเดียว เมื่อเราไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด ๆ ว่าเป็นของเรา จิตใจก็จะคลายทุกข์ลง เพราะรู้ว่าสิ่งที่จะติดตัวตามตนไปได้นั้น คือ กรรมดีและกรรมชั่ว เพราะฉะนั้นเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ควรชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง เพื่อเข้าสู่แดนวิมุตหลุดพ้น นี้คือ ฆราวาสที่บวชใจแต่ไม่ได้บวชกาย

๑๑) บวชกาย บวชใจ หมายความว่า พระภิกษุ สามเณร หรือแม่ชี ก่อนที่จะบวชก็ตั้งใจไว้ว่า จะบวชเพื่อชำระกิเลสเมื่อบวชแล้วก็พยายามศึกษาหาความรู้ จากพระธรรมพระวินัยขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จากครูอาจารย์ หรือจากตำรับตำราว่าควรจะหาธรรมะข้อใดมาชำระกิเลส  เช่น  เมื่อความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นจะนำคำสอนบทใดมาชำระกิเลสแต่ละอย่างให้คลายลงเมื่อกิเลสทั้ง ๓ อย่างนี้เกิดขึ้นอีก ก็ให้นำคำสอนที่สมควรกับกำลัง ของกิเลสที่เกิดขึ้นขณะนั้น มาพิจารณาให้กิเลสเบาบางลง จิตใจก็จะสดชื่นแจ่มใส เพราะมีความทุกข์น้อยลง นี้คือ การบวชกาย บวชใจ ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ให้มนุษย์บวช เพื่อชำระกิเลสให้หมดจากจิตใจ เข้าสู่แดนวิมุตหลุดพ้น เมื่อสิ้นชีวิตวิญญาณก็เข้าสู่นิพพานในที่สุด นี้คือ การบวชกาย บวชใจ

๑๒) ไม่บวชกาย ไม่บวชใจ หมายถึง ผู้ที่เป็นทาสของกิเลสทั้งสามอย่าง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ลุ่มหลงมัวเมาในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส  ธรรมารมณ์ ไม่รู้บาป บุญ คุณ โทษ เห็นแก่ตัวไม่เชื่อคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่า ทำดี ได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ไม่เชื่อว่า ชาติก่อน ชาตินี้  ชาติหน้ามีจริง จึงมีชีวิตอยู่อย่างประมาท ไม่มีการให้ทาน ไม่มีการนำศีลมารักษากาย วาจา ไม่มีคุณธรรมประจำใจ ไม่รู้จักการเจริญสมาธิเพื่อให้จิตสงบ ไม่เคยนำคำสอนมาพิจารณา  จึงไม่เกิดปัญญาที่จะรู้ได้ว่า เราเป็นใคร มาจากไหน กำลังทำอะไร และจะไปไหน คิดแต่เพียงว่า เกิดมาชาตินี้ชาติเดียวอยากจะทำอะไร ก็ทำตามใจที่ถูกกิเลสครอบงำ โดยไม่คำนึงว่า การกระทำนั้น ๆ จะผิดกฎหมาย หรือผิดครรลองคลองธรรม เราจะเห็นได้ว่าผู้ที่อยู่ใต้อำนาจของกิเลสแต่ละอย่าง ย่อมจะมีโทษต่างกัน เช่น ถูกความหลงครอบงำจะลุ่มหลงมัวเมา รักใคร่พอใจในสิ่งต่างๆ ความโลภก็จะตามมา จะเกิดการดิ้นรน กระวนกระวาย แสวงหาสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการ เมื่อได้ก็ดีใจ เมื่อไม่ได้ตามที่ต้องการก็จะเกิดความโกรธ อาฆาตพยาบาท คิดทำร้าย ทำลายกัน บางครั้งถึงกับต้องฆ่าฟันกัน เกิดความเดือดร้อนขึ้นกับครอบครัว  สังคม ดังที่กำลังเป็นอยู่ทุกวันนี้ นี้คือ การไม่บวชกาย และไม่บวชใจ

๑๓)  บวชเพื่อปฏิบัติให้พ้นทุกข์  หมายถึง ตั้งใจบวชเพื่อชำระกิเลส คือความโลภความโกรธ  ความหลง  ให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ  เพราะเข้าใจว่า  กิเลสคือเหตุของการเกิดทุกข์  ไม่สนใจลาภ ยศ สรรเสริญสุข  ไม่ติดอยู่ในรูป เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส ธรรมารมณ์ใด ๆ  บวชแล้วเข้าป่าหาที่วิเวก  ฝึกจิตให้สงบ  เมื่อจิตสงบแล้วก็ใช้จิตพิจารณาพระธรรมคำสอนของ พระผู้มีพระภาคเจ้า  ให้รู้แจ้งเห็นจริง เช่น  พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า มนุษย์มีธาตุ    ขันธ์    มีอาการ  ๓๒  ประกอบกันเป็นตัวตน  เห็นเป็นอนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตาคือ มีธาตุ ๔  ขันธ์    ทุกอย่าง  เกิดขึ้นตั้งอยู่  แล้วดับไป  ทุกอย่างมีความไม่เที่ยง  เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา  มีทุกอย่างเป็นทุกข์  มี รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ ก็เป็นทุกข์  มี ลาภ  ยศ  สรรเสริญ  สุข  ก็เป็นทุกข์  ติดอยู่ใน  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  ธรรมารมณ์  ก็เป็นทุกข์  ทุกอย่างเป็นอนัตตา  คือทุกอย่างที่มีต้องสูญสลาย  ไปตามกาลเวลา แม้แต่ตัวเรา  ก็ต้องตายและ ดับสูญไปในที่สุด  เมื่อพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว  จึงไม่ยึดมั่นถือมั่น  ในตัวตนเราเขา  ความหลงรักใคร่ในสิ่งต่าง ๆ ก็ลดลง  ความโลภอยากได้ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็ลดลง  ความโกรธ อาฆาตพยาบาทปองร้าย  ก็ลดลง  เมื่อพิจารณาต่อไปให้ละเอียด  หมายถึงพยายามชำระกิเลส  ความโลภ  ความโกรธ ความหลงที่มีอยู่ให้หมดไปเพื่อเข้าสู่แดนวิมุตหลุดพ้นไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร  อีกต่อไป  นี้เรียกว่า  บวชเพื่อปฏิบัติให้พ้นทุกข์  (บริสุทธิสงฆ์ )


ขอให้ท่านทั้งหลายจงพิจารณาเถิดว่า ตัวท่านบวชอยู่ในประเภทใด จะได้บุญ ได้กุศล ได้อานิสงส์ เพียงใด ท่านคงทราบด้วยตัวของท่านเอง ส่วนท่านที่ยังไม่ได้บวช ขอให้ท่านบวชทั้งกาย บวชทั้งใจ แม้เพียง ๓ วัน ๗ วัน ก็ยังดีกว่าบวช ๑๐ ปี ๒๐ ปี ไม่ชำระกิเลสให้เบาบาง แต่กลับปล่อยให้กิเลสครอบงำจิตมากขึ้น เป็นเหตุให้ ลุ่มหลง มัวเมา ในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หลงอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์  ไม่เกิดประโยชน์กับท่านเอง และยังเป็นโทษ เพราะเป็นการทำลายศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมลง ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

 

๑)  นวโกวาท  ( ฉบับประชาชน )  สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณ วโรรส  โรงพิมพ์  มหามกุฏราชวิทยาลัย  หน้าวัดบวรนิเวศน์วิหาร  กรุงเทพฯ พลอากาศเอกหะริน หงสกุล  ผู้พิมพ์  ผู้โฆษณา  .. ๒๕๔๓

๒)  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. ๒๕๔๒  จัดพิมพ์โดย  บริษัท นานมีบู๊คส์     พับลิเคชั่นส์  จำกัด  ๙๔๗ / ๑๕๘-๑๕๙  หมู่  ๑๒ ถนน บางนา-ตราด เขต บางนา แขวงบางนา  กรุงเทพฯ (๑๐๒๖๐)  พ.ศ. ๒๕๔๖

๓)  หนังสือบูรณาการแผนใหม่  นักธรรมชั้นตรี  เรียบเรียงโดย  คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง  เพียรเพื่อพุทธศาสน์ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง  ๖๗๙/๗๑-๗๔ ถนนประชาอุทิศ  ซอย ๔๕  เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ  (๑๐๑๔๐)  พ.ศ. ๒๕๔๖

 

 

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view