http://www.porjarearntum.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ05/04/2009
อัพเดท06/09/2022
ผู้เข้าชม687,050
เปิดเพจ935,407

บริการ

หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ติดต่อเรา

บทกลอนธรรมะ

จูงมือลูกเดิน

ระลึกได้และรู้ตัวหมายความว่าอย่างไร

รัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

อันตรายของภิกษุ สามเณร ผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง

ความจริงอันประเสริฐที่ควรรู้ ๔ ประการ

ธรรมะอันทำให้งาม มี ๒ ประการ

ธรรมคุ้มครองโลก

เสียงเทศน์ทำใหม่ล่าสุด

วงล้อแห่งพระธรรมที่นำไปสู่ความเจริญ ๔ อย่าง

ทุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

สุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

วิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการ หมายความว่าอย่างไร

คุณของรัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด

มูลเหตุของความโง่เขลา

มูลเหตุของความฉลาด

ท่านรู้จักตนเองว่ามีกิเลสหรือไม่ ต้องพิจารณาอย่างไร

ท่านรู้จักมนุษย์ ๔ ประเภทหรือยัง ?

คิดดี พูดดี ทำดี

ความสุข ความทุกข์ ความสบาย แตกต่างกันอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ

ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบและเกิดปัญญา

ศาสนาคืออะไร

ป่วยกาย ป่วยใจ หมายความว่าอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ (เนื้อหา)

ทำความดีเพื่ออะไร

คุณธรรม ๕ ประการ สนับสนุนความสำเร็จ

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมายความว่าอย่างไร

ศีล ในพระพุทธศาสนา ๒๒๗ ข้อ ภาคภาษาไทย อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ปัจจัย ๔ รูปธรรม และ ปัจจัย ๔ นามธรรม

มนุษย์ เป็นโรค ๔ อย่าง บ้า ใบ้ บอด หนวก

ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาปหมายความว่าอย่างไร

ระวังจิต ระวังอารมณ์ หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา มีจริงหรือไม่

จิตสงบ จิตว่าง แตกต่างกันอย่างไร

อยากรู้ อยากห็น อยากเป็น อยากไป หมายความว่าอย่างไร

มืดมามืดไป และสว่างมาสว่างไป หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่มีมาก ทำให้น้อยลง สิ่งที่มีอยู่ทำให้หมดไป

ความเห็นแก่ตัว กับการรักตัวเอง

ท่านพบเห็นเมืองพอแล้วหรือยัง

การทำความชั่วเพราะเหตุ ๔ ประการ

รู้จด รู้จำ รู้แจ้ง หมายความว่าอย่างไร

สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ฟังธรรมเป็นยาฉีด จริงหรือ

ผู้ที่ไม่แต่งงาน จะตกนรก จริงหรือไม่

มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ

ก็ต้อง ก็ได้ ก็ดี หมายความว่าอย่างไร

บันใด ๘ ขั้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

งามทั้ง กาย วาจา ใจ

ผู้ที่ฝีกสมาธินาน ๆ ไม่เกิดปัญญาเพราะเหตุใด

คิดอย่างไรจึงไม่เกิดทุกข์

จิตใต้สำนึก

คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ

ทำใจ หมายความว่าอย่างไร

ประเพณีงานศพที่ถูกต้อง... เหตุใดจึงต้องเผาศพ...

ความเบื่อของปุถุชนกับความเบื่อของพระอริยะ

พระราชดำรัส คุณธรรม ๔ ประการ(เนื้อหา)

มีสิ่งใด สิ่งนั้นก็เสื่อม

บวชเพื่ออะไร

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือ

ทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์

บุคคลที่หาได้ยาก ความกตัญญูกตเวที

การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดหรือถูก...

ความหวัง

มืดมาสว่างไป สว่างมามืดไป หมายความว่าอย่างไร

ผู้ที่ขัดขวางการปฏิบัติธรรม มีโทษอย่างไร

แผ่นพับธรรมะ

สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา มีจริงหรือไม่

สิ่งที่เป็นอนิจจัง  สิ่งที่เป็นทุกขัง  สิ่งที่เป็นอนัตตา

และ สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง   สิ่งที่ ไม่เป็นทุกขัง   สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา  มีจริงหรือไม่

 

๑)   สิ่งที่เป็นอนิจจัง (ความไม่เที่ยง)  หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้วในโลกนี้

ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  เช่น มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย  มีการเกิด  แก่  เจ็บและตายไปในที่สุด  เหมือนกันทุกชีวิต  บางชีวิตยังไม่แก่แต่ก็ต้องตายก่อนแก่ก็มี หรือต้นไม้ซึ่งเป็นพืช  เป็นสิ่งที่มีชีวิตแต่ไม่มีวิญญาณเหมือนมนุษย์และสัตว์ ทั้งหลาย  ก็ยังต้องมีการเกิด  แก่ และก็ตายไปในที่สุด  จะเป็นต้นไม้เล็กหรือต้นไม้ใหญ่ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน เพราะเป็นอนิจจังคือความไม่เที่ยง  ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา  ซึ่งเป็นธรรมชาติที่สามารถพิสูจน์ได้  แม้แต่สิ่งต่าง ๆ ที่ไม่มีชีวิต  ก็เป็นอนิจจัง คือความไม่เที่ยงต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา  เช่น ภูเขา  แม่น้ำ  ลำคลอง สิ่งปลูกสร้าง  ตึก บ้านเรือน  ยานพาหนะต่าง ๆ  เป็นต้น ก็มีการเกิดขึ้น หรือสร้างขึ้น แล้วผุพังไปตามอายุของวัตถุ สิ่งของนั้น ๆ  เพราะเป็นอนิจจัง คือความไม่เที่ยง  ต้องเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ซึ่งเป็นธรรมชาติ ที่สามารถพิสูจน์ได้  นี้คือ  สิ่งที่เป็นอนิจจัง (ความไม่เที่ยง)

๒)  สิ่งที่เป็นทุกขัง ( ความทุกข์กาย  ทุกข์ใจ )  หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาแล้ว

ในโลกนี้  เราหลงเข้าใจผิดคิดว่า จะทำให้เรามีความสุข  จึงไปยึดมั่นถือมั่น ลุ่มหลงมัวเมาในสิ่งนั้น 

ความทุกข์กาย  หมายถึงความไม่สบายกาย ที่เกิดจากเรามีร่างกาย มีธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ต้องเลี้ยงด้วยปัจจัย  ๔ คืออาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค  ที่อยู่อาศัย  ถ้าไม่มีปัจจัย ๔ ก็เป็นทุกข์  หรือถ้ามีมากก็เป็นทุกข์อีก  หิวก็ทุกข์  อิ่มก็ทุกข์  ทุกข์ขับถ่าย ทุกข์หนาว ทุกข์ร้อน กระทบอ่อน กระทบแข็ง ก็เป็นทุกข์  เจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ก็เป็นทุกข์  นั่ง  นอน  ยืน เดิน  เกิด แก่ เจ็บ ตาย  ล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น    นี้คือ  ความทุกข์กาย

            ความทุกข์ใจ  หมายถึงความไม่สบายใจ  ที่เกิดจาก ความอยากรวย  อยากสวย  อยากเป็นใหญ่มียศสูง  มีบริวารมาก  อยากมีชื่อเสียง  อยากมีคู่ครอง อยากมีลูก  เป็นต้น เมื่อไม่ได้ตามความต้องการก็เป็นทุกข์อีก  หรือถ้าหากได้มาตามความปรารถนา ก็กลัวสิ่งต่าง ๆ ที่ได้มาแล้ว  จะสูญหายไปจากตน  กลัวจะพลัดพรากจากของรักใคร่พอใจทั้งหลายทั้งปวง  ก็ยิ่งเป็นทุกข์มากขึ้น  นี้คือ  ความทุกข์ใจ

นี้เป็นเพียงตัวอย่างสาเหตุของการเกิดทุกข์ และยังมีสิ่งต่าง ๆ อีกมากมายที่เป็นเหตุของการเกิดทุกข์  นี้คือ  สิ่งที่เป็นทุกขัง

๓)   สิ่งที่เป็นอนัตตา  ( ความสูญสลาย ไม่มีตัวไม่มีตน)  หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่

เกิดขึ้นมาแล้วในโลกนี้  เช่น มนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ  ต้องสูญสลายไปตามกาลเวลาและอายุของสิ่งนั้น ๆ  เช่น มนุษย์ มีอายุแตกต่างกันไป  บางคนมีอายุสั้นบ้าง ยืนยาวบ้าง  สัตว์ทุกชนิดก็เช่นเดียวกัน  ต้นไม้ก็มีอายุแตกต่างกันไป บางชนิดอายุน้อย บางชนิดอายุมากเป็น ร้อยปีก็มี  ทั้งนี้ไม่ว่ามนุษย์ สัตว์ และต้นไม้  หรือสิ่งต่าง ๆ ก็ต้องสูญสลายไปตามกาลเวลาของสิ่งนั้น  ทุกสิ่งทุกอย่างดังที่กล่าวมาแล้วนี้  ต้องสูญสลายหมดสิ้นไปตามกาลเวลา  ไม่มีตัวไม่มีตน   นี้คือ  สิ่งที่เป็นอนัตตา

            ๔)  สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง   สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง   สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา     หมายถึง 

พระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทั้ง  ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์  ล้วนแล้วแต่เป็นความจริง  ที่เที่ยงแท้แน่นอน  ไม่มีการเปลี่ยนแปลง  แม้กาลเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็ตาม  พระธรรมคำสอนของพระองค์ท่าน  ยังคงเป็นสัจธรรม คือความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ตลอดมา    

            สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง ( มีความเที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ) หมายถึงคำสอนของศาสนาพุทธ  ซึ่งมีพระพุทธเจ้าหลายพระองค์  ที่ผ่านมาจนถึงองค์ปัจจุบัน  ก็มี

คำสอนเช่นเดียวกัน  เช่น บทสอนที่ว่า  ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว  มนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายเกิดมา เพราะกฎแห่งกรรม  มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น  ซึ่งเป็นคำสอนที่เป็นสัจธรรม  คือความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ และคำสอนอื่น ๆ อีกมากมายล้วนแล้วแต่เป็นความจริงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย  นี้คือ สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

            สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง   ( ไม่ทุกข์ใจ )  หมายถึง  คำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้ง  ๘๔,๐๐๐  พระธรรมขันธ์  ถ้าผู้ใดศึกษาแล้วนำมาประพฤติปฏิบัติตาม  ไม่มีความทุกข์ใจ  มีแต่ความสุข  ความสบายใจ  เช่น พระองค์ท่านสอนให้มีสติ สัมปชัญญะ คือให้ระลึกได้และรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา  สอนให้มีหิริ  โอตตัปปะ  คือความละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาป  สอนให้มีขันติ  โสรัจจะ  คือความอดทน และสงบเสงี่ยม ,  สอนให้มีพรหมวิหาร ๔  เมตตา   กรุณา  มุทิตา  อุเบกขา  คือมีความรัก ความสงสาร พลอยยินดี  มีใจเป็นกลาง  เป็นต้น  นี้คือ คำสอนที่ไม่เป็นทุกข์  ผู้ใดประพฤติ ปฏิบัติตามจนมีคุณธรรมประจำกาย วาจา ใจ แล้วจะมีแต่ความสุข   นี้คือ สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง

สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา  ( ไม่สูญสลาย )  หมายถึง คำสอนของพระพุทธเจ้า  ทั้ง 

๘๔,๐๐๐  พระธรรมขันธ์   ซึ่งคำสอนของพระองค์ท่าน ยังคงเป็นสัจธรรม  คือความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้   ถึงแม้กาลเวลา  จะผ่านไปนานสักเพียงใด    คำสอนเหล่านั้น  ไม่มีวันที่จะสูญสลาย  นี้คือ  สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา 

            สิ่งที่เป็นอนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา  คือสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ               

            สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง  ไม่เป็นทุกขัง  ไม่เป็นอนัตตา  คือความจริงที่เกิดขึ้นมานานแสนนาน   เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า  ทุก ๆ พระองค์  ทรงสอนอย่างเดียวกัน 
เป็นอมตธรรม  นิรันดรกาล

 


ท้ายนี้แม่ขออัญเชิญ คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ และเทพเทวาทั้งหลาย จงปกปักรักษา ลูก ๆ ของแม่  ให้มีความสุข  ความเจริญ พ้นจากทุกข์ภัยไข้เจ็บ  และอันตรายต่าง ๆ  ขอให้มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ  ลูกปรารถนาสิ่งใดในสิ่งที่ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม ขอให้สมความมุ่งมาดปรารถนาทุกประการ  ขอให้ลูกมีมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ  ขอให้ลูก มีปัญญาอันเป็นเลิศ  มีดวงตาเห็นธรรม ปฏิบัติธรรม ตามคำสอนของพระพุทธองค์  จนสำเร็จมรรคผลนิพพาน เข้าสู่แดนวิมุต หลุดพ้นในชาตินี้ด้วยกัน...ทุก ๆ คน...นะลูกนะ... 

 


บรรณานุกรม

 

๑)  นวโกวาท  ( ฉบับประชาชน )  สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณ   วโรรส  โรงพิมพ์  มหามกุฏราชวิทยาลัย  หน้า     วัดบวรนิเวศน์วิหาร  กรุงเทพฯ             พลอากาศเอก  หะริน  หงสกุล  ผู้พิมพ์      ผู้โฆษณา  .. ๒๕๔๓

๒)  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. ๒๕๔๒  จัดพิมพ์โดย  บริษัท       นานมีบู๊คส์  พับลิเคชั่นส์  จำกัด  ๙๔๗ / ๑๕๘-๑๕๙  หมู่  ๑๒ ถนน บางนา-ตราด เขต     บางนา แขวงบางนา  กรุงเทพฯ (๑๐๒๖๐)  พ.ศ. ๒๕๔๖

๓)  หนังสือบูรณาการแผนใหม่  นักธรรมชั้นตรี  เรียบเรียงโดย  คณาจารย์สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง  เพียรเพื่อพุทธศาสน์ สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง  ๖๗๙/๗๑-๗๔ ถนนประชาอุทิศ  ซอย ๔๕  เขตทุ่งครุ   กรุงเทพฯ  (๑๐๑๔๐)  พ.ศ. ๒๕๔๖


view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view