http://www.porjarearntum.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ05/04/2009
อัพเดท06/09/2022
ผู้เข้าชม689,330
เปิดเพจ938,151

บริการ

หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ติดต่อเรา

บทกลอนธรรมะ

จูงมือลูกเดิน

ระลึกได้และรู้ตัวหมายความว่าอย่างไร

รัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

อันตรายของภิกษุ สามเณร ผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง

ความจริงอันประเสริฐที่ควรรู้ ๔ ประการ

ธรรมะอันทำให้งาม มี ๒ ประการ

ธรรมคุ้มครองโลก

เสียงเทศน์ทำใหม่ล่าสุด

วงล้อแห่งพระธรรมที่นำไปสู่ความเจริญ ๔ อย่าง

ทุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

สุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

วิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการ หมายความว่าอย่างไร

คุณของรัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด

มูลเหตุของความโง่เขลา

มูลเหตุของความฉลาด

ท่านรู้จักตนเองว่ามีกิเลสหรือไม่ ต้องพิจารณาอย่างไร

ท่านรู้จักมนุษย์ ๔ ประเภทหรือยัง ?

คิดดี พูดดี ทำดี

ความสุข ความทุกข์ ความสบาย แตกต่างกันอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ

ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบและเกิดปัญญา

ศาสนาคืออะไร

ป่วยกาย ป่วยใจ หมายความว่าอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ (เนื้อหา)

ทำความดีเพื่ออะไร

คุณธรรม ๕ ประการ สนับสนุนความสำเร็จ

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมายความว่าอย่างไร

ศีล ในพระพุทธศาสนา ๒๒๗ ข้อ ภาคภาษาไทย อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ปัจจัย ๔ รูปธรรม และ ปัจจัย ๔ นามธรรม

มนุษย์ เป็นโรค ๔ อย่าง บ้า ใบ้ บอด หนวก

ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาปหมายความว่าอย่างไร

ระวังจิต ระวังอารมณ์ หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา มีจริงหรือไม่

จิตสงบ จิตว่าง แตกต่างกันอย่างไร

อยากรู้ อยากห็น อยากเป็น อยากไป หมายความว่าอย่างไร

มืดมามืดไป และสว่างมาสว่างไป หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่มีมาก ทำให้น้อยลง สิ่งที่มีอยู่ทำให้หมดไป

ความเห็นแก่ตัว กับการรักตัวเอง

ท่านพบเห็นเมืองพอแล้วหรือยัง

การทำความชั่วเพราะเหตุ ๔ ประการ

รู้จด รู้จำ รู้แจ้ง หมายความว่าอย่างไร

สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ฟังธรรมเป็นยาฉีด จริงหรือ

ผู้ที่ไม่แต่งงาน จะตกนรก จริงหรือไม่

มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ

ก็ต้อง ก็ได้ ก็ดี หมายความว่าอย่างไร

บันใด ๘ ขั้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

งามทั้ง กาย วาจา ใจ

ผู้ที่ฝีกสมาธินาน ๆ ไม่เกิดปัญญาเพราะเหตุใด

คิดอย่างไรจึงไม่เกิดทุกข์

จิตใต้สำนึก

คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ

ทำใจ หมายความว่าอย่างไร

ประเพณีงานศพที่ถูกต้อง... เหตุใดจึงต้องเผาศพ...

ความเบื่อของปุถุชนกับความเบื่อของพระอริยะ

พระราชดำรัส คุณธรรม ๔ ประการ(เนื้อหา)

มีสิ่งใด สิ่งนั้นก็เสื่อม

บวชเพื่ออะไร

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือ

ทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์

บุคคลที่หาได้ยาก ความกตัญญูกตเวที

การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดหรือถูก...

ความหวัง

มืดมาสว่างไป สว่างมามืดไป หมายความว่าอย่างไร

ผู้ที่ขัดขวางการปฏิบัติธรรม มีโทษอย่างไร

แผ่นพับธรรมะ

การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดหรือถูก...

การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่างๆ  ผิดหรือถูก...

            การฝึกสมาธิ เพื่อให้เห็นสิ่งต่างๆนั้น เป็นการเข้าใจผิด การฝึกสมาธิที่ถูกต้อง คือ การฝึกจิตให้สงบอยู่ที่เดียว เป็นการฝึกสติให้ควบคุมจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน เพราะจิตมีหน้าที่คิดตามสิ่งที่มากระทบ  เมื่ออายตนะภายนอก กระทบกับอายตนะภายใน เช่น ตากระทบรูป วิญญาณรับรู้ จิตก็จะคิดตามรูปที่เห็น จะเกิดอารมณ์พอใจ หรือไม่พอใจ ขึ้นอยู่กับเครื่องปรุงแต่งจิต คือกิเลสทั้ง ๓ อย่าง มี ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่ครอบงำจิตในขณะนั้น เสียงกระทบหู กลิ่นกระทบจมูก อาหารกระทบลิ้น เย็น ร้อนอ่อน แข็งกระทบกาย เรื่องราวต่างๆ กระทบใจ แต่ละวันสิ่งที่มากระทบ หลายรูป หลายเสียง หลายกลิ่น หลายรส หลายอย่างกระทบกาย หลายเรื่องกระทบจิตใจ ทำให้จิตคิดตามสิ่งที่มากระทบ  เป็นเหตุให้จิตฟุ้งซ่านกระวนกระวาย กระสับกระส่าย เป็นทุกข์ ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงมีอุบายต่างๆ ที่ทำให้จิตสงบ โดยใช้บทภาวนาแล้วแต่ใครจะใช้บทใดบทหนึ่ง เช่น พุทโธ สัมมาอรหัง ยุบหนอพองหนอ เป็นต้น หรือ วิธีเพ่งกะสิน เพ่งดิน เพ่งน้ำ    เพ่งไฟ เป็นต้น ฝึกสมาธิได้ทุกอิริยาบท เช่น นั่ง นอน ยืน เดิน ใช้สติควบคุมจิตให้อยู่กับอริยาบทนั้น และใช้ปัญญาพิจารณาดูว่าจิตคิดตามที่เรากำหนดหรือไม่ ผู้ใดที่จิตฟุ้งซ่าน ก็จะคิดถึงอดีตและอนาคต จิตไม่อยู่กับปัจจุบัน เราต้องใช้สติควบคุมจิตให้อยู่กับบทภาวนาอย่างเดียว ต้องฝึกสมาธิบ่อยๆ และนานๆ เพื่อให้จิตสงบ ตามที่เราต้องการ ที่เรียกว่า สมาธิ การฝึกสมาธิสิ่งที่เราควรเห็นคือ เห็นจิต เห็นอารมณ์ เห็นกิเลส เห็นสติ เห็นปัญญา เช่น เห็นจิตคิดอะไรในขณะนั้น เห็นอารมณ์พอใจหรือไม่พอใจ เห็นกิเลสข้อใด ครอบงำจิตในขณะนั้น เห็นสติระลึกรู้ว่า กาย วาจา ใจ สงบหรือไม่ ปัญญาจะทำหน้าที่คอยช่วยเหลือจิต ให้คิดแต่เรื่องที่ดีมีประโยชน์ ไม่ให้อยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส ควบคุมอารมณ์ไม่ให้หวั่นไหวไปตามกิเลส ใช้สติให้คอยควบคุม กาย วาจา ใจ ผู้ที่มีปัญญามากก็สามารถควบคุมการทำสมาธิได้ จิตก็จะไม่ฟุ้งซ่าน และสงบในที่สุด ผู้ที่มีสติปัญญาน้อยไม่สามารถที่จะควบคุมกาย วาจา ใจ ได้ การฝึกสมาธิก็ไม่เกิดผล จิตจะฟุ้งซ่านไปตามอำนาจของกิเลส จึงเกิดความล้มเหลวในการทำสมาธิ ดังที่เราจะได้ยินกันเสมอว่าฉันฝึกสมาธิไม่ได้ จากหลายคนที่หัดฝึกสมาธิ เมื่อเป็นเช่นนี้เราต้องฝึกสติ และศึกษาหาความรู้จากครูบาอาจารย์ เพื่อให้เกิดปัญญามากขึ้น จะได้นำมาช่วยเหลือจิตที่ถูกกิเลสครอบงำต่อไป การฝึกสมาธิให้จิตสงบอย่างเดียว ปัญญาไม่เกิด ปัญญาจะเกิดได้ต้องนำ คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นำมาพิจารณาแล้วปฏิบัติตาม แต่ละบทเพื่อให้รู้แจ้งเห็นจริงตามพระองค์ท่าน เช่น ท่านสอนให้เรารู้ว่าตัวเราไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เป็นเพียง ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ เราต้องพิจาณาให้เห็นจริง ท่านสอนให้เราพิจารณาให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกอย่างไม่เที่ยง ทุกอย่างเป็นทุกข์ ทุกอย่างเป็นอนัตตา ต้องสูญสลายไปตามกาลเวลา ทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปในที่สุด การฝึกสมาธิเมื่อจิตสงบ จึงใช้ให้จิตพิจารณาธรรมต่างๆ แล้วเห็นสัจธรรม นี่คือ ความเห็นที่ถูกต้องเพราะเกิดปัญญา

            การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่างๆ เช่น เห็นแสง สี เห็นเปรต เห็นเทวดา  เห็นพระพุทธรูป หรือเห็นสิ่งอื่น ๆ ก็ตาม เป็นความเห็นที่ไม่เกิดประโยชน์ อาจารย์บางท่านสอนให้นั่งสมาธิ เพื่อให้เห็นเทวดา ผู้นั่งสมาธิก็เกิดจินตนาการวาดภาพเทวดาขึ้นในจิต ภาพเทวดาก็เกิดขึ้นเป็นมโนภาพ เพราะจิตประหวัด เป็นเหตุให้ผู้นั่งสมาธิ หลงผิดคิดว่าตนเองเป็นผู้วิเศษ เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสำเร็จแล้ว ที่จริงเป็นการหลอกตัวเอง และหลอกผู้อื่นด้วย การนั่งสมาธิดังกล่าวไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย กลับเกิดโทษกับตนเอง ทำให้ลุ่มหลง  มัวเมาในตัวตน กิเลสเพิ่มขึ้น จิตไม่มีโอกาสสงบ ปัญญาก็ไม่เกิด เพราะจิตไปติดอยู่กับมโนภาพต่างๆ ที่นั่งสมาธิแล้วเห็น เพราะฉะนั้นขอให้ท่านทั้งหลายพิจารณาไตร่ตรองให้ดีว่า การทำสมาธิอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์ ท่านจะไม่ต้องเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

            ขอความสุขสวัสดี จงเกิดแก่ผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่าน...เทอญ...


view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view