http://www.porjarearntum.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ05/04/2009
อัพเดท06/09/2022
ผู้เข้าชม687,011
เปิดเพจ935,368

บริการ

หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ติดต่อเรา

บทกลอนธรรมะ

จูงมือลูกเดิน

ระลึกได้และรู้ตัวหมายความว่าอย่างไร

รัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

อันตรายของภิกษุ สามเณร ผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง

ความจริงอันประเสริฐที่ควรรู้ ๔ ประการ

ธรรมะอันทำให้งาม มี ๒ ประการ

ธรรมคุ้มครองโลก

เสียงเทศน์ทำใหม่ล่าสุด

วงล้อแห่งพระธรรมที่นำไปสู่ความเจริญ ๔ อย่าง

ทุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

สุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

วิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการ หมายความว่าอย่างไร

คุณของรัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด

มูลเหตุของความโง่เขลา

มูลเหตุของความฉลาด

ท่านรู้จักตนเองว่ามีกิเลสหรือไม่ ต้องพิจารณาอย่างไร

ท่านรู้จักมนุษย์ ๔ ประเภทหรือยัง ?

คิดดี พูดดี ทำดี

ความสุข ความทุกข์ ความสบาย แตกต่างกันอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ

ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบและเกิดปัญญา

ศาสนาคืออะไร

ป่วยกาย ป่วยใจ หมายความว่าอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ (เนื้อหา)

ทำความดีเพื่ออะไร

คุณธรรม ๕ ประการ สนับสนุนความสำเร็จ

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมายความว่าอย่างไร

ศีล ในพระพุทธศาสนา ๒๒๗ ข้อ ภาคภาษาไทย อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ปัจจัย ๔ รูปธรรม และ ปัจจัย ๔ นามธรรม

มนุษย์ เป็นโรค ๔ อย่าง บ้า ใบ้ บอด หนวก

ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาปหมายความว่าอย่างไร

ระวังจิต ระวังอารมณ์ หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา มีจริงหรือไม่

จิตสงบ จิตว่าง แตกต่างกันอย่างไร

อยากรู้ อยากห็น อยากเป็น อยากไป หมายความว่าอย่างไร

มืดมามืดไป และสว่างมาสว่างไป หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่มีมาก ทำให้น้อยลง สิ่งที่มีอยู่ทำให้หมดไป

ความเห็นแก่ตัว กับการรักตัวเอง

ท่านพบเห็นเมืองพอแล้วหรือยัง

การทำความชั่วเพราะเหตุ ๔ ประการ

รู้จด รู้จำ รู้แจ้ง หมายความว่าอย่างไร

สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ฟังธรรมเป็นยาฉีด จริงหรือ

ผู้ที่ไม่แต่งงาน จะตกนรก จริงหรือไม่

มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ

ก็ต้อง ก็ได้ ก็ดี หมายความว่าอย่างไร

บันใด ๘ ขั้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

งามทั้ง กาย วาจา ใจ

ผู้ที่ฝีกสมาธินาน ๆ ไม่เกิดปัญญาเพราะเหตุใด

คิดอย่างไรจึงไม่เกิดทุกข์

จิตใต้สำนึก

คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ

ทำใจ หมายความว่าอย่างไร

ประเพณีงานศพที่ถูกต้อง... เหตุใดจึงต้องเผาศพ...

ความเบื่อของปุถุชนกับความเบื่อของพระอริยะ

พระราชดำรัส คุณธรรม ๔ ประการ(เนื้อหา)

มีสิ่งใด สิ่งนั้นก็เสื่อม

บวชเพื่ออะไร

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือ

ทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์

บุคคลที่หาได้ยาก ความกตัญญูกตเวที

การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดหรือถูก...

ความหวัง

มืดมาสว่างไป สว่างมามืดไป หมายความว่าอย่างไร

ผู้ที่ขัดขวางการปฏิบัติธรรม มีโทษอย่างไร

แผ่นพับธรรมะ

ศาสนาคืออะไร

บทที่  

ศาสนา  คืออะไร

ศาสนา  มีไว้เพื่ออะไร

หลักคำสอน พระพุทธศาสนา  มีอะไรบ้าง

 

๑.   ศาสนา  คืออะไร ศาสนาคือคำสอนขององค์พระศาสดาแต่ละพระองค์ เช่น
       -  ศาสนาคริสต์  คือ คำสอนของพระเยซูเจ้า

       -  ศาสนาอิสลาม  คือ คำสอนของพระอัลลอฮ์  มีศาสดาชื่อมุฮัมมัด  นับถือพระเจ้าองค์เดียวคือพระอัลลอฮ์

       -  ศาสนาพุทธ  คือ คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

       -  ศาสนาอื่น ๆ ก็คือ คำสอนขององค์ศาสดาแต่ละพระองค์ตามศาสนาหรือลัทธิความเชื่อของศาสนานั้น ๆ

๒.  ศาสนามีไว้เพื่ออะไร

      -  ศาสนาทุกศาสนามีไว้เพื่อสอนให้มนุษย์ละชั่วประพฤติดี

      -  ศาสนาพุทธหรือพระพุทธศาสนา   มีไว้เพื่อสอนให้มนุษย์ละเว้นการประพฤติชั่ว    ทางกาย        ทางวาจา ทางใจ ให้ประพฤติแต่ความดี ด้วยกาย วาจา ใจ และชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ จากกิเลสทั้งสามอย่าง คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ที่ครอบงำจิตใจให้หมดสิ้นไป

๓.  หลักคำสอนของพระพุทธศาสนามีอะไรบ้าง หลักคำสอนของพระพุทธศาสนา มีไว้เพื่อให้พุทธศาสนิกชนปฏิบัติตาม โดยแบ่งลำดับขั้นจากระดับต้นถึงระดับสูง ดังนี้

       -   ทาน

       -   ศีล

       -   สมาธิ

       -   ปัญญา

ทาน   คือ  การให้ แบ่งได้   ประเภท   ดังนี้
    )   อามิสทาน

 
  ๒)  วิทยาทาน

 
  ๓)   อภัยทาน

 
  ๔)   ธรรมทาน

 

       ๑)  อามิสทาน   การให้อามิสทาน  หมายถึงการเสียสละแบ่งปัน ปัจจัยสี่  มีอาหาร  เครื่องนุ่งห่ม     ที่อยู่อาศัย  ยารักษาโรค  รวมถึงการให้ทรัพย์สินเงินทอง เครื่องอุปโภค บริโภคต่าง ๆ ให้กับผู้ที่ ควรให้ เช่น ภิกษุ สามเณร บิดา มารดา  ครู อาจารย์ ผู้มีพระคุณกับเราทั้งหลาย  รวมถึงผู้ที่ยากจนเข็ญใจ ผู้พิการ  ผู้ยากไร้   ผู้ด้อยโอกาส ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก หรือแม้แต่สัตว์เดรัจฉานที่ เกิดมาร่วมกันในโลกนี้
           การให้อามิสทาน  ก็เปรียบเหมือนกับการที่เรา  ได้เก็บสะสมทรัพย์สมบัติไว้  ถ้าเราให้     อามิสทานมาก ก็เท่ากับเราได้เก็บสะสมทรัพย์สมบัติไว้มาก  ถ้าเราให้อามิสทานน้อยก็เท่ากับเราเก็บสะสมทรัพย์สมบัติไว้น้อย

     การให้ทานด้วยอามิสทานในชาตินี้  ก็เปรียบเหมือนกับเราได้ฝากเงินไว้กับธนาคารเพื่อเบิกใช้ในวันต่อไป  ฉันใด  การให้ทานด้วยอามิสทานในชาตินี้ ก็จะส่งผลให้เรามีทรัพย์สมบัติเงินทองในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป   ฉันนั้น   
     สำหรับผู้ที่ไม่ได้ให้ทานด้วยอามิสทานเลย เมื่อไปเกิดในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป ก็จะยากจนข้นแค้น ทุกข์ทรมาน ดังที่เราสามารถพิสูจน์คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า จากสังคมปัจจุบัน ที่คนเรามีฐานะแตกต่างกัน ทุกคนอยากจะรวยแต่ก็รวยไม่ได้ เนื่องจากให้ทานด้วยอามิสทานในอดีตชาติมาน้อย ยกตัวอย่างเช่น มีบุคคล ๓ คน มีอาชีพมีรายได้เท่ากัน คนแรกชื่อ นายมี ได้เก็บสะสมเงินไว้วันละ   ๑๐๐ บาท คนที่สองชื่อนายกลาง เก็บสะสมเงินไว้วันละ ๕๐ บาท ส่วนคนที่สามชื่อนายจน ไม่ได้เก็บสะสมเงินจากรายได้ไว้เลย เมื่อครบ ๓๐ วัน ทั้งสามคนเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา จะเห็นว่านายมี เก็บสะสมเงินได้รวม ๓,๐๐๐ บาทสามารถซื้ออาหารและยารักษาโรคได้อย่างไม่เดือดร้อน นายกลางเก็บสะสมเงินได้ ๑,๕๐๐ บาท พอมีเงินซื้ออาหารและยารักษาโรคได้บ้างแต่ไม่ถึงกับสะดวกสบายนัก ส่วนนายจน จะไม่มีเงินซื้อทั้งอาหาร และยารักษาโรค ได้รับความทุกข์ทรมานเดือดร้อนอย่างมาก ดังนั้นขอให้ท่านจงพยายามแบ่งปันทรัพย์สมบัติเงินทองที่มีอยู่ ช่วยเหลือจุนเจือผู้ที่ควรให้ ความเจริญรุ่งเรือง จะบังเกิดแก่ท่านในชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไปอย่างแน่นอน

     บางท่านยังไม่เชื่อว่าชาติก่อน  ชาตินี้ หรือชาติหน้ามีจริงหรือไม่  ขอให้ลองพิจารณาเถิดว่า เมื่อวานนี้เป็นอะไร วันนี้เป็นอะไร วันพรุ่งนี้เป็นอะไร เมื่อวานเรากินอาหารเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดมาถึงวันนี้ วันนี้เรากินอาหารเพื่อให้มีชีวิตรอดไปจนถึงวันพรุ่งนี้ ชีวิตเราวนเวียนอยู่อย่างนี้มาโดยตลอด โดยไม่ตระหนักว่าเมื่อวานนี้เป็นอดีต วันนี้เป็นปัจจุบัน วันพรุ่งนี้เป็นอนาคต เปรียบดังชีวิตมนุษย์ และสัตว์ทั้งหลาย ที่เวียนว่าย ตาย เกิด จากอดีตชาติสู่ชาติปัจจุบันไปสู่ชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไปไม่รู้จักจบสิ้น

         ดังนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้แจ้งเห็นจริงทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคตของมนุษย์     
 

ที่เกิดมามีฐานะร่ำรวย หรือยากจนแตกต่างกันไป เพราะผลของการให้ทานด้วยอามิสทานในอดีตชาติ ของแต่ละคนแตกต่างกัน  พระพุทธองค์ จึงทรงวางหลักการให้ทานด้วยอามิสทานไว้  เพื่อให้มนุษย์ได้ปฏิบัติตาม จะได้มีทรัพย์สมบัติเงินทอง  ใช้เป็นเครื่องเอื้ออำนวยให้มนุษย์มีความสะดวกสบายในการใช้จ่ายทรัพย์  เมื่อมีกำลังทรัพย์จะได้ให้ทานต่อไปอีก  เพื่อผลในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป

           ผู้ให้ทานมีความปิติ  ยินดี  จิตใจอิ่มเอิบต่อการให้  ผลของการให้ทานในปัจจุบัน คือความสุขที่เราได้รับ ใครเห็นก็นิยมชมชอบ เป็นผู้ที่มีเมตตา คือความรัก มีกรุณา  คือความสงสาร หากชีวิตของเราตกทุกข์ได้ยาก ผลทานที่เราได้เคยทำไว้  จะส่งผลให้เราไม่ต้องลำบากมากนัก จะมีผู้ช่วยเหลือจุนเจือ ยิ่งไปกว่านั้น ผลการให้ทาน  ยังช่วยชำระกิเลส  คือความหลงในทรัพย์ สมบัติเงินทองได้อีกด้วย ถ้าฝึกการให้ทานเสมอ ๆ จิตใจของเราก็จะสะอาดขึ้น ปราศจากความตระหนี่ ไม่  ลุ่มหลงมัวเมาในทรัพย์สมบัติ อีกทั้งยังได้นำกายของเราไปประกอบคุณงามความดีอีกด้วย
    การให้ทานจะได้บุญมากก็ต่อเมื่อให้ทานด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยไม่หวังผลตอบแทนแต่อย่างใด และทรัพย์สินที่นำมาให้ทาน ต้องเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยสุจริต ไม่ได้มาจากการทำผิดกฎหมาย ผิดครรลองคลองธรรม เช่นทุจริตคดโกง จี้ปล้น ฉกชิงวิ่งราว  ค้ายาเสพติด ค้าสิ่งผิดกฎหมาย  ขายอาวุธ  หรือจากการพนันเป็นต้น  เมื่อมีมากก็ให้ทานมาก มีน้อยก็ให้ทานน้อย  พยายามให้บ่อย ๆ เมื่อมีโอกาส โดยไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน ผลของการให้อามิสทาน ก็เพียงส่งผลให้รวยทรัพย์ ซึ่งก็เป็นเพียงการทำบุญขั้นต้นเท่านั้น ส่วนการที่จะให้เราได้ไปสวรรค์ หรือเข้าสู่นิพพานนั้น จะต้องมีคุณธรรม ให้ครบสมบูรณ์  คือ ทาน  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  ซึ่งจะได้อธิบายในตอนต่อไป

     ๒) วิทยาทาน  การให้วิทยาทาน หมายถึงการให้วิชาความรู้ทางโลกในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยการสอนหรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นมี ความรู้ตามที่เรามี โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ เพื่อให้ผู้นั้นสามารถนำวิชาความรู้เหล่านั้น ไปใช้ประกอบอาชีพเลี้ยงตนเอง และครอบครัวในทางที่สุจริตและถูกต้องตามครรลองคลองธรรม  การให้ตำรา หรือบริจาคสร้างโรงเรียน ก็นับว่าได้เป็นผู้ให้วิทยาทานเช่นกัน ตัวอย่างเช่น เรามีวิชาความรู้ในอาชีพต่าง ๆ หรือความรู้สาขาอื่น ๆ สามารถนำมาประกอบอาชีพที่สุจริต  เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ แล้วนำวิชาความรู้เหล่านั้นไปสอนให้ผู้อื่นมีความรู้ตามด้วยใจอันบริสุทธิ์ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ (สอนให้ฟรี) และผู้นั้นสามารถนำเอาความรู้ ดังกล่าวไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้
   ผลบุญที่ส่งในชาตินี้ ทำให้มีผู้นิยมชมชอบ ยกย่องสรรเสริญ ให้ความเคารพนับถือ ว่าเป็นผู้มีคุณธรรมประจำใจ ทำให้เราเกิดความภาคภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ตรงกับคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ที่ตรัสสอนให้มีเมตตา  คือความรักอันกว้างขวาง รักทุกชีวิต

ทุกวิญญาณ ปรารถนาที่จะให้มีความสุขถ้วนหน้ากัน มีกรุณาคือความสงสาร  สงสารทุกชีวิต

ทุกวิญญาณที่มีความทุกข์  ปรารถนาที่จะให้พ้นจากทุกข์
   ผลบุญที่จะส่งในชาติหน้า หรือชาติต่อ ๆ ไป เมื่อไปเกิดเป็นมนุษย์อีก ผลบุญจะส่งให้มีความรอบรู้ในวิชาการต่าง ๆ ที่ได้ให้วิทยาทานไว้ จะเรียนรู้ได้เร็ว ถึงแม้ไม่ได้เรียนวิชาหนึ่งวิชาใด    มาก่อน ก็สามารถมีความรู้แล้วนำไปประกอบอาชีพได้ ซึ่งมักเรียกกันว่าเป็นผู้มี  พรสวรรค์ หมายถึงผู้นั้นได้เคยทำความดี  ให้วิทยาทานมาก่อนในอดีตชาตินั้นเอง

   เราสามารถพิสูจน์คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากสังคมมนุษย์ปัจจุบัน เช่นนักเรียนในห้องเรียนเดียวกัน แต่มีความรู้ความสามารถที่แตกต่างกัน บางคนเรียนรู้ได้เร็ว สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ เนื่องจากในอดีตชาติได้เคยให้วิชาความรู้เป็นทาน หรือเรียกว่า                   วิทยาทาน นั้นเอง

       ส่วนนักเรียนบางคนเรียนรู้ได้ยาก บางคนเรียนรู้ได้ช้า หรือบางคนเรียนรู้ไม่ได้เลย ไม่สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ หรือเรียนไม่จบ เนื่องจากในอดีตชาติไม่เคยให้ความรู้เป็นทาน หรือเรียกว่าไม่เคยให้   วิทยาทาน   นั้นเอง
   เพราะฉะนั้น   การให้วิชาความรู้เป็นทาน หรือเรียกว่า วิทยาทาน ได้ประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับ ต้องให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ  และไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะให้วิชาความรู้   สาขาใดเป็นวิทยาทานกับผู้อื่น ผลก็จะส่งให้เรามีความรู้  ความสามารถในวิชาการสาขานั้น ๆ อย่างแน่นอน ทั้ง  ชาตินี้ ชาติหน้า   และชาติต่อ ๆ ไป
 เพราะฉะนั้น จึงทำให้มนุษย์เราที่เกิดมามีความรู้ความสามารถ หรือมี พรสวรรค์   ที่แตกต่างกันไป
   อนึ่งบางท่านอาจเข้าใจว่า อาชีพครูน่าจะเป็นผู้ให้ วิทยาทาน มากกว่าอาชีพอื่น แต่เมื่อพิจารณาด้วยเหตุและผล ครูมีหน้าที่สอน เพราะเป็นอาชีพ  เพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัว โดยได้รับค่าตอบแทน หรือได้รับเงินเดือนจากภาษีอากรของประชาชนเช่นเดียวกับข้าราชการอื่น ๆ แต่ถ้าครูท่านใดที่อุทิศตนเอง ด้วยความบริสุทธิ์ใจ หวังถ่ายทอดวิชาความรู้ที่มีอยู่ให้กับลูกศิษย์หรือผู้อื่น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน  และไม่รับค่าตอบแทนใด ๆ      (สอนฟรี)   จึงจะถือได้ว่าครูท่านนั้น ได้เป็นผู้ให้    วิทยาทาน   อย่างแท้จริง

       ๓)  อภัยทาน  เป็นทานที่สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง  อภัยทาน  หมายถึงการให้อภัยกับผู้กระทำผิด เช่น ผิดกฎหมาย ผิดครรลองคลองธรรม  ผิดจารีตประเพณี  ผิดระเบียบวินัย  ผิดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ หรือ   ผู้ที่กระทำผิด
คิดร้าย  ล่วงเกินต่อเรา  ด้วยกาย  วาจา  ใจ  จากการกระทำความผิดดังกล่าว  การให้อภัยก็ต้อง
มีขอบเขต คือให้อภัยในสิ่งที่ควรให้ ซึ่งผู้ที่กระทำผิดก็ควรได้รับโทษตามผลของการกระทำนั้น ๆ

       กรณีกระทำผิดกฎหมาย  ถ้ากระทำผิดกฎหมายอย่างร้ายแรง  ก็ไม่สามารถอภัย

กันได้  เช่นการกระทำที่มีผลเสียหายร้ายแรง ต่อชาติบ้านเมืองหรือคนส่วนใหญ่  หรือฆ่าคนตาย ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์หรือเล่นการพนัน เป็นต้น ไม่สามารถอภัยกันได้  ต้องได้รับโทษตามกฎหมายอย่างแน่นอน  ทั้งโทษประหารชีวิต หรือโทษจำคุก ก็แล้วแต่พฤติกรรมในการกระทำผิด  ถ้าผู้กระทำผิดรับสารภาพกฎหมายก็ยังให้อภัย  ได้รับการลดโทษหรือให้รับโทษเพียงครึ่งหนึ่ง เช่นศาลพิพากษาจำคุก ๑๐ ปี อาจจะได้รับโทษจำคุกเพียง    ปี เท่านั้น   แต่ถ้าหากทำผิดกฎหมายเพียงเล็กน้อย เช่นทำผิดกฎหมายจราจร ก็สามารถเปรียบเทียบปรับหรือว่ากล่าวตักเตือนได้  ไม่ต้องรับโทษจำคุก เป็นต้น

       ซึ่งตัวอย่างนี้  เป็นการรับโทษจากการทำผิดกฎหมาย  ทำให้เสียทรัพย์และสูญเสียอิสรภาพ  หรืออาจจะได้รับโทษหนักถึงประหารชีวิต  แต่เราสามารถให้อภัยเขาเหล่านั้นได้ทางจิตใจ  โดยไม่ถือโทษโกรธเคือง  ไม่อาฆาตพยาบาท  ไม่ดูถูกเหยียดหยาม  ประณามว่าเป็นคนชั่ว  ให้อภัยในความผิดพลาด  ซึ่งอาจจะกระทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์  ขาดสติคือระลึกไม่ได้  ขาดสัมปชัญญะคือไม่รู้ตัว  ขาดปัญญาคือขาดความรอบรู้ ขาดความยับยั้งชั่งใจ  เพราะอำนาจของกิเลส คือความโลภ ความโกรธ  ความหลง ครอบงำจิตใจ เราควรให้อภัย  ให้โอกาสปรับปรุงแก้ไข  กลับตัวกลับใจ  เป็นคนดีของสังคมและประเทศชาติบ้านเมืองต่อไป  นี้คือตัวอย่างหนึ่งของการให้อภัย

        กรณีทำผิดครรลองคลองธรรม หมายถึงการทำผิดจากคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เช่นนักเรียนเถียงหรือด่าทอพ่อแม่  ครู อาจารย์  ถือว่าได้กระทำผิด  พระธรรมคำสอนบทที่ว่า  ขาดสติคือระลึกไม่ได้  ขาดสัมปชัญญะ  คือไม่รู้ตัว  ขาดหิริคือไม่ละอายต่อบาป  ขาดโอตตัปปะ  คือไม่มีความเกรงกลัวต่อบาป  และยังขาดขันติคือไม่มีความอดทน  ขาดโสรัจจะคือไม่มีความสงบเสงี่ยม  ด้วยเหตุที่เด็กขาดคุณธรรมดังกล่าว  จึงแสดงกิริยา  วาจา  ที่ไม่เหมาะสม  ไม่รู้จักกาลเทศะ  ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง  ซึ่งท่านเหล่านั้นเป็นผู้มีพระคุณ  ควรต้องเคารพนับถือท่าน    ส่วนพ่อแม่ ครู อาจารย์  ก็ต้องอบรม  สั่งสอน  ว่ากล่าวตักเตือนแล้วให้อภัย  เพื่อให้เด็กกลับตัวกลับใจประพฤติตนให้ถูกต้อง  ตามครรลองคลองธรรมต่อไป

       กรณีเด็กนักเรียนขโมยสิ่งของ  เช่น ดินสอ  ปากกา  ยางลบ  และอื่น ๆ ถือว่าทำผิดศีลข้อที่ ๒  ซึ่งพระพุทธองค์บัญญัติไว้ว่า  ห้ามลักทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน  เมื่อถูกจับได้ก็รับว่าได้ขโมยมาจริง  ครู  อาจารย์และเพื่อน ๆ ก็ให้อภัย  เพื่อให้โอกาสกลับตัวกลับใจ  ประพฤติตนเป็นคนดีต่อไป

       กรณีเด็กมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร  ชอบดื่มสุรา  เสพยาเสพติด ชอบเล่นการพนัน  คบคนชั่วเป็นมิตร  ซึ่งถือว่าผิดพระธรรมคำสอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้า บทอบายมุข    คือเหตุของความเสื่อม  เพื่อให้ประพฤติตนให้ถูกต้อง  ตามครรลองคลองธรรม  ที่เด็กกระทำไป เพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์  พ่อแม่  ครู  อาจารย์ ก็ให้อภัย  แล้วเรียกมาอบรมสั่งสอน  ให้กลับตัวกลับใจ  เป็นคนดีของสังคม  เพื่อช่วยพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป 

       กรณีทำผิดจารีตประเพณี  จารีตประเพณีหมายถึง  ขนบธรรมเนียนประเพณีอันดีงาม  ที่

บรรพบุรุษของไทยได้ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา  เป็นเวลายาวนาน  เช่นประเพณีโกนผมไฟ  โกนจุก สู่ขวัญ บวชนาค  แต่งงาน  วันขึ้นปีใหม่  ลอยกระทง  สงกรานต์ และประเพณีงานศพ เป็นต้น 

       ตัวอย่างเช่น  ผู้ที่ทำผิดประเพณีแต่งงาน  ซึ่งสังคมปัจจุบันทำผิดประเพณีนี้กันมากมาย จนเกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงตนเอง  วงศ์ตระกูล  รวมถึงชื่อเสียงของประเทศชาติบ้านเมือง อีกด้วย      

        ปัจจุบันหนุ่มสาวสมัยนี้ มักอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยา  โดยไม่ได้แต่งงาน  ซึ่งเป็นการทำผิดประเพณีไทย  โดยปกติประเพณีไทย  หญิงชายจะอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาได้  ก็ต่อเมื่อมีการแต่งงานให้ถูกต้องตามกฎหมายและประเพณีไทย ในสังคมปัจจุบันจะเห็นได้ว่าหญิงสาว ชายหนุ่มจะทำผิดประเพณีกันมาก  โดยอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาตั้งแต่วัยเรียน  อายุยังน้อยก็ทำผิดจารีตประเพณี  ไม่รักนวลสงวนตัว  ไม่รู้จักคำว่า พรหมจารี  คือความบริสุทธิ์ของหญิงสาวโดยยังไม่ได้ผ่านชายเชยชม ไม่มีคุณสมบัติของกุลสตรี  ปล่อยให้ชายเชยชมคนแล้วคนเล่า  เห็นเป็นเรื่องสนุก ซึ่งนำความเสื่อมเสียชื่อเสียงมาสู่ตนเอง พ่อแม่ วงศ์ตระกูล ถูกสังคมประณามว่าเป็นคนชั่วมั่วโลกีย์  บางคนถึงกับ ถูกไล่ออกจากโรงเรียน  เพราะประพฤติตนเสื่อมเสียชื่อเสียงของโรงเรียน  บางคนติดเชื้อโรคร้าย (เอดส์) แล้วตายไปในที่สุด  นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่ทำผิดประเพณี 

       การทำผิดจารีตประเพณีอื่น ๆ บางอย่างถูกสังคมลงโทษ  บางอย่างสังคมให้อภัย  เพราะ

ไม่ทำให้เกิดความเดือดร้อนกับผู้ใด  เช่นประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง ถ้าไม่ไปร่วมงานประเพณีดังกล่าว  ถือว่าไม่ได้สร้างความเดือดร้อน  หรือไม่ได้เกิดความเสียหายอะไร แต่อาจจะถูกสังคมตำหนิว่าไม่ให้ความร่วมมือ ไม่สนับสนุน ไม่อนุรักษ์วัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย เท่านั้น

            การที่ผู้ทำผิดกฎหมาย  ผิดครรลองคลองธรรม  ผิดจารีตประเพณี  หรือผิดเรื่องอื่น ๆ  เพียงเล็กน้อย เราควรให้อภัยในการทำผิดนั้น ๆ บางคนทำผิดเพราะความโง่เขลาเบาปัญญารู้เท่าไม่ถึงการณ์  บางคนทำผิดเพราะสิ่งแวดล้อม  บางคนทำผิดเพราะความจำเป็น  บางคนทำผิดเพราะเกรงกลังอิทธิพล  เราต้องให้อภัยในความผิดนั้น ๆ  นี้คือการให้อภัยซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ให้อภัย 

            ผลบุญจะส่งในชาตินี้  จะมีผู้คนเคารพนับถือ  เป็นคนดีมีคุณธรรม  จริยธรรม  จะไม่มีศัตรู 

ยังเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรุ่นหลังสืบต่อไป

            ผลบุญจะส่งในชาติหน้า  การให้อภัยในชาตินี้  ผลบุญจะส่งไปในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป เมื่อไปเกิดเป็นมนุษย์อีก  จะไปเกิดกับพ่อแม่ที่ดี   ในชุมชนที่มีแต่คนดี  มีผู้คนเคารพนับถือ  มีเพื่อนทีดี  มีบริวารที่ดี  ไม่มีศัตรู

            เราสามารถพิสูจน์คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้   ในสังคมปัจจุบัน  บางคนมีผู้คนเคารพนับถือ  มีเพื่อน มีบริวารมากมาย  แต่บางคนไม่มีผู้คนเคารพนับถือ  ไม่มีเพื่อน ไม่มีบริวาร  ที่ดี  มีแต่คนรังเกียจ  ไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมด้วย  นั้นคือผลของการให้อภัยทานในอดีตชาติและชาติปัจจุบันแตกต่างกันนั้นเอง

๔)  ธรรมทาน  การให้ธรรมทาน  เป็นการให้ที่มีคุณค่ามากที่สุด  เหนือทานใด ๆ

ธรรมทาน หมายถึง  การให้ทานด้วยธรรมะ คือคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระองค์ตรัสสอนตามธรรมชาติ  ที่เกิดขึ้นมาแล้วกับมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้  พระพุทธองค์ตรัสรู้แจ้งเห็นจริง  ตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น  เช่นมนุษย์ที่เกิดมามีความทุกข์  ความสุขที่แตกต่างกัน เพราะกฎแห่งกรรมที่มนุษย์และสัตว์เป็นผู้กระทำ  ทั้งทำดีและทำชั่วมาจากอดีตชาติ  จะส่งผลมาในปัจจุบัน  หรือการทำดีหรือทำชั่วในปัจจุบัน  ก็จะส่งผลไปในอนาคต  ดังคำสอนของพระพุทธองค์ที่ว่ากิเลสเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต    อย่าง  ดังนี้

       (๑)  ความโลภ  คือความอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด  อันเป็นธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์ 

ซึ่งเป็นกิเลสข้อหนึ่ง 

       (๒)  ความโกรธ คือความไม่พอใจ  อันเป็นธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์  ซึ่งเป็นกิเลสข้อหนึ่ง

       (๓)  ความหลง  คือความเข้าใจผิดคิดว่ามีสิ่งต่าง ๆ  แล้วจะทำให้มีความสุข  จึงเกิดความ

พอใจ รักใคร่ในสิ่งนั้น ๆ มีความลุ่มหลงมัวเมายึดมั่นถือมั่น  ใน ว่าเป็นของเราของเขา  อันเป็นธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์  ซึ่งเป็นกิเลสข้อหนึ่ง

       กิเลสทั้งสามอย่างนี้  ถือว่าเป็นธรรมชาติที่เป็นโทษ  เพราะทำให้เกิดความทุกข์  เช่นเมื่อเรายังเป็นเด็กพอใจรักใคร่ในของเล่นชิ้นหนึ่ง  นั้นคือความหลงได้เกิดขึ้นกับเราแล้ว  หลงเข้าใจผิดคิดว่าเมื่อได้มาแล้วจะมีความสุข  จึงเกิดความอยากได้ของเล่นนั้นมาเป็นของตน  นั้นคือความโลภได้เกิดขึ้นกับเราแล้ว  เมื่อไม่ได้มาตามความต้องการก็เกิดความไม่พอใจ  โกรธเคืองนั้นคือความโกรธได้เกิดขึ้นกับเราแล้ว  ทำให้เกิดความทุกข์  ถึงแม้จะได้ของเล่นมาแล้วก็ตาม  ก็ยังเกิดความทุกข์อีก  เพราะเกิดความหวงแหน  กลัวเสียหาย  กลัวผู้อื่นมาขโมยเอาของเล่นเราไป  จะเห็นได้ว่า  เด็กก็มีกิเลสติดตัวตามตนมาตั้งแต่เกิดซึ่งบางท่านเข้าใจผิด  คิดว่าเด็กเป็นผู้บริสุทธิ์  ไม่มีกิเลส  เมื่อโตขึ้น กิเลสก็จะเจริญเติบโตตามวัย  ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ก็จะแสดงออกมาให้เห็นเด่นชัด  เช่น ผู้ใหญ่โกรธมากกว่าเด็ก คือมีความอาฆาตพยาบาท  ปองร้าย  ถึงกับฆ่ากันก็มี  ผู้ใหญ่โลภมากกว่าเด็ก คือ ทุจริต  คดโกง  ปล้น  จี้  ฉกชิงวิ่งราว  หรือผู้ใหญ่หลงมากกว่าเด็ก คือ หลงในลาภ  ยศ  สรรเสริญ สุข หลงในรูป รส  กลิ่น  เสียง  สัมผัส  ธรรมารมณ์  จึงมีความทุกข์มากกว่าเด็ก  มนุษย์มีกิเลสทั้งสามอย่าง  คือ ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  เป็นธรรมชาติที่ทำให้เกิดความทุกข์  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนวิธีและอุบายต่าง ๆ มากมาย ที่จะชำระกิเลสให้คลายความทุกข์ลง  โดยให้มนุษย์ศึกษาและปฏิบัติตาม เมื่อรู้แจ้งเห็นจริง  ตามพระพุทธองค์แล้ว  ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ที่มีสติปัญญาดี  สามารถชำระกิเลสทั้งสามอย่าง  คือ ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ให้ลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไปจากจิตใจในที่สุด  นี้คือคำสอนของพระพุทธเจ้า  ที่เรียกว่า  ธรรมทาน


       คุณสมบัติของผู้ที่จะให้ธรรมทาน

       ผู้ที่จะให้ธรรมทานนั้น  จะต้องเป็นผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติตาม พระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จ    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  แล้วรู้แจ้งเห็นจริงด้วยเหตุด้วยผล  เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม  ว่าทำดี  ได้ดี  ทำชั่ว  ได้ชั่ว  เชื่อเรื่อง  เกิด  แก่  เจ็บ  ตาย  เชื่อเรื่องความไม่เที่ยง  ความเป็นทุกข์  ความสูญเปล่า  เชื่อว่า     การชำระกิเลสให้หมดสิ้นแล้วจะพ้นทุกข์  และเชื่อในพระธรรมคำสอนทุกบททุกตอน  นำมาปฏิบัติ จนรู้แจ้งเห็นจริง  เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว  นำไปสอนผู้อื่นที่หลงผิด      คิดชั่ว  พูดชั่ว ทำชั่ว  ทำผิดกฎหมาย  ผิดครรลองคลองธรรม  ผิดจารีตประเพณี  ให้กลับตัวกลับใจเป็นคนที่ คิดดี   พูดดี  ทำดี  นี้คือการให้  ธรรมทาน  ที่ได้ประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับ  ตัวอย่างเช่น

       (๑)  ความเป็นนักเลงผู้หญิง  หมายถึงเป็นคนมักมากในกามารมณ์  เป็นชู้สู่สมกับสามีหรือภรรยาผู้อื่น หรือหญิงอื่นทั่วไป  ไม่เลือกหน้า ไม่เว้นแม้แต่เด็กนักเรียน  เป็นคนชั่วมั่วโลกีย์  สร้างความเดือดร้อน  และความเสื่อมเสียให้กับตนเองและครอบครัว  อาจจะติดเชื้อโรคร้าย  เช่นโรคเอดส์  และเสียชีวิตในที่สุด  ดังนั้นผู้รู้ต้องนำพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  โดยนำศีลและธรรมข้อที่    คือห้ามประพฤติผิดในกามและธรรมประกอบศีลข้อที่    คือมีความสำรวมในกาม  มาอบรมสั่งสอนให้เห็นโทษ  ให้ลดละเลิก การเป็นนักเลงผู้หญิง  ในที่สุดก็เป็นคนดีได้  นี้เป็นตัวอย่างการให้  ธรรมทาน    คือการให้ศีลและธรรมข้อที่    เป็น  ธรรมทาน

        (๒)  ความเป็นนักเลงสุรา  หมายถึงผู้ที่มั่วสุมดื่มสุรา  เครื่องดองของเมาหรือเสพยาเสพติดให้โทษต่าง ๆ  ทำให้เกิดความเสียหาย  เช่น  ทำให้ขาดสติ  สัมปชัญญะ  คือระลึกไม่ได้  ไม่รู้ตัว  ขาดปัญญา คือ

ขาดความรอบรู้  ไม่รู้เหตุ  ไม่รู้ผล เสียทรัพย์สินเงินทอง  เสียสุขภาพ  เสียบุคลิก  สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเอง  ครอบครัว  และเสียชีวิตในที่สุด  ผู้รู้ต้องนำคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยนำศีลและธรรมข้อที่   คือห้ามดื่มสุรา ห้ามเสพยาเสพติด ธรรมประกอบศีลข้อที่    คือ มีสติอันรอบคอบ  มาอบรมสั่งสอนให้เห็นโทษ  ให้ลดละเลิก  ความเป็นนักเลงสุรา  ประพฤติตนเป็นคนดีของสังคม  นี้คือตัวอย่างการให้  ธรรมทาน  คือการให้ศีลและธรรมข้อที่    เป็น    ธรรมทาน

       (๓)  ความเป็นนักเลงการพนัน  หมายถึงผู้ที่มั่วสุมเล่นการพนันทุกชนิด  เช่น พนันทายผลฟุตบอล เล่นหวยใต้ดิน  เล่นเกม  เล่นไพ่  ไฮโล  เป็นต้น  ผลเสียหายจากการเล่นการพนัน  ทำให้สูญเสียทรัพย์สมบัติเงินทอง  เป็นหนี้เป็นสิน  เสื่อมเสียชื่อเสียง  หรืออาจจะไปก่อคดี  ทำผิดกฎหมายต่าง ๆ สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น  ท่านผู้รู้ต้องนำคำสอนของพระพุทธเจ้า    อย่าง   ดังนี้ 

            ๑.  เว้นจากทุจริต  คือ  ประพฤติชั่ว  ทางกาย   วาจา   ใจ

            ๒. ประกอบสุจริต  คือ ประพฤติชอบ  ทางกาย  วาจา  ใจ

            ๓.  ทำใจของตนให้หมดจด จากเครื่องเศร้าหมองคือ  ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  เป็นต้น 

ทุจริต      คือ

๑.     ประพฤติชั่วทางกาย  เรียกว่า  กายทุจริต เช่นพากายไปเล่นการพนัน 

       ทำผิดกฎหมาย  ผิดครรลองคลองธรรม

๒.   ประพฤติชั่วทางวาจา  เรียกว่า  วจีทุจริต  เช่น พูดปด  พูดคำหยาบ 

พูดส่อเสียด  พูดเพ้อเจ้อ  ในวงการพนัน

๓.    ประพฤติชั่วทางใจ  เรียกว่า  มโนทุจริต  เช่น โลภ  อยากได้ทรัพย์ของผู้อื่น พยาบาทปองร้าย  เห็นผิดจากครรลองคลองธรรม

       ทุจริต     อย่างนี้   เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ  ควร  ลด  ละ เลิก  การเป็นนักเลงการพนัน 

แล้วกลับตัวกลับใจเป็นคนดีของสังคม  นี้คือตัวอย่าง  การให้  ธรรมทาน  ให้ธรรมะคือคำสอนของพระพุทธเจ้า    อย่างเป็น  ธรรมทาน  

(๔)  การคบคนชั่วเป็นมิตร  หมายถึง การคบนักเลงผู้หญิง  คบนักเลงสุรา  คบนักเลงการ

พนัน  ซึ่งจะชักชวนเราไปทำผิด  คิดชั่ว  เช่นเล่นการพนัน  ดื่มสุรา  เที่ยวผู้หญิง  ไปทำผิดกฎหมาย    ต่าง ๆ  เช่น ฉกชิง วิ่งราว  จี้ปล้น  ทุจริตคดโกง  พาเราไปทำผิดครรลองคลองธรรม  ผิดจารีตประเพณี  สร้างความเดือดร้อน  ให้กับตนเองและผู้อื่น  นำความเสื่อมเสียชื่อเสียงมาสู่วงศ์ตระกูล  ท่านผู้รู้ต้องนำพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าบทที่ว่า  คบสัตบุรุษเป็นมิตร  สัตบุรุษคือ ผู้มีคุณธรรม ๗ ประการได้แก่  รู้เหตุ,  รู้ผล,  รู้ตน,  รู้ประมาณ,  รู้กาลเวลา,  รู้จักชุมชน,  รู้บุคคล  เป็นผู้รู้  ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ  มีศีลธรรมประจำกาย  วาจา  ใจ  แล้วท่านจะสอนให้รู้โทษของการคบคนชั่วเป็นมิตร  คือเลิกคบนักเลงผู้หญิง  เลิกคบนักเลงสุรา เลิกคบนักเลงการพนัน  ให้เลิกทำชั่วดังกล่าว  ให้กลับตัวกลับใจเป็นคนดี  มีศีล มีธรรมประจำกาย  วาจา  ใจ 
ดังสุภาษิต  ที่กล่าวว่า
คบคนพาล  พาลพาไปหาผิด 

คบบัณฑิต  บัณฑิตพาไปหาผล  

       การให้ธรรมทานเพื่อช่วยเหลือผู้ที่หลงกระทำผิด  ด้วยการอบรมสั่งสอน ให้ผู้หลงผิดทำความชั่วต่าง ๆ ให้กลับตัวกลับใจเป็นคนดี  เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น  จะมีความเป็นอยู่ที่ดี  มีความสุข  ถ้าผู้ใดประพฤติปฏิบัติได้มาก  ก็จะมีสติปัญญาดี  สามารถชำระกิเลส  ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง ให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ  ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป  มีความสุข ชั่วนิจนิรันดร เพราะฉะนั้น การให้  ธรรมทาน  จึงเป็นการให้ที่เหนือกว่า  ทานใด ๆ

 

            ศีล  หลักของพระพุทธศาสนา  นอกจากมี  ทาน  แล้ว  ก็มี  ศีล  สมาธิ  และปัญญา  เพราะเหตุใด  พระผู้มีพระภาคเจ้า  จึงกำหนดให้พุทธศาสนิกชน  นำศีลมารักษากาย  วาจา  แล้วปฏิบัติตามจะได้ประโยชน์อย่างไร  ซึ่งทุกคนจะต้องรู้และเข้าใจ  เพื่อให้การปฏิบัติเกิดผลมากขึ้น  นอกจากนั้น การนำศีลมารักษา  กาย  วาจา  ควรให้เหมาะกับฐานะ  และเหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของแต่ละบุคคล

            ศีล  คือข้องดเว้นจากการทำชั่วทางกาย  วาจา (ไม่คุมถึงใจ)  ผู้ใดงดเว้นจากการทำความชั่วได้มาก  กาย วาจา  ก็จะสะอาดปราศจากความชั่ว  ส่วนผู้ใดทำผิดศีลมาก  กาย  วาจา ก็จะมีมลทินมัวหมอง  ไม่บริสุทธิ์ เช่น เดียวกัน  ศีลมีอยู่หลายหมวดด้วยกัน  ดังนี้

                        ศีล                สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป

                        ศีล                สำหรับ อุบาสก  อุบาสิกา

                        ศีล   ๑๐           สำหรับสามเณร

                        ศีล   ๒๒๗      สำหรับพระภิกษุ

                        ศีล   ๓๑๑        สำหรับภิกษุณี  ( ปัจจุบัน  ไม่มีภิกษุณี )

            ในที่นี้จะขออธิบายถึง  ศีล      และธรรม     ประการ  เท่านั้น  ซึ่งมีรายละเอียด   ดังนี้

                        ศีลข้อที่        ปาณาติปาตา  เวระมณีสิกขาปะทัง   สะมาทิยามิ

                                                ห้ามฆ่าสัตว์   ห้ามทรมานสัตว์   ห้ามเบียดเบียนสัตว์

                        ธรรมข้อที่     มีเมตตา คือความรัก  มีกรุณา  คือความสงสาร นี้คือธรรมประกอบ

ศีลข้อที่   

                        ศีลข้อที่        อะทินนาทานา   เวระมณีสิขาปะทัง  สะมาทิยามิ

                                                ห้ามลักทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน

                        ธรรมข้อที่    มีสัมมาอาชีวะ  ประกอบอาชีพสุจริต  นี้คือธรรมประกอบศีลข้อที่ 

                        ศีลข้อที่         กาเมสุมิจฉาจารา  เวระมณีสิขาปะทัง  สะมาทิยามิ

                                                ห้ามประพฤติผิดในกาม  ห้ามเป็นชู้สู่สมกับสามีหรือภรรยาผู้อื่น

ธรรมข้อที่     มีความสำรวมในกาม  พอใจในคู่ครองของตน  นี้คือธรรมประกอบ

                         ศีลข้อที่   

                        ศีลข้อที่         มุสาวาทา   เวระมณีสิขาปะทัง   สะมาทิยามิ

                                                ห้ามพูดปด  หลอกลวง  ห้ามพูดส่อเสียด  พูดเพ้อเจ้อ พูดคำหยาบ

                        ธรรมข้อที่     มีสัจจะ  พูดแต่ความจริง  พูดเรื่องที่ดีมีประโยชน์  นี้คือธรรมประกอบ

                                                ศีลข้อที่ 

                        ศีลข้อที่         สุราเมระยะมัชชะ  ปะมาทัฎฐานา  เวระมณีสิขาปะทัง  สะมาทิยามิ

                                                ห้ามดื่มสุรา  เครื่องดองของเมา  หรือเสพยาเสพติดให้โทษต่าง ๆ 

                        ธรรมข้อที่     มีสติอันรอบคอบ ระลึกรู้ผิดชอบ  ชั่วดี  นี้คือธรรมประกอบศีลข้อที่ 

 

ศีลข้อที่         ปาณาติปาตา  เวระมณีสิกขาปะทัง   สะมาทิยามิ

                                                ห้ามฆ่าสัตว์   ห้ามทรมานสัตว์   ห้ามเบียดเบียนสัตว์

       เพราะเหตุใดพระองค์ท่านจึงห้ามฆ่าสัตว์ มีเหตุผลอะไร  มนุษย์หรือสัตว์ต่าง ๆ ทุกชนิดรวมเรียกว่า  สัตว์  สำหรับมนุษย์เรียกว่าสัตว์ประเสริฐ ส่วนสัตว์อื่น ๆ เรียกว่า สัตว์เดรัจฉาน  การฆ่าสัตว์เป็นการบั่นทอนชีวิตของผู้อื่นให้สั้นลง  ถ้าเราฆ่ากันบั่นทอนชีวิตกัน  ก็จะทำให้เป็นหนี้ชีวิต  ใครฆ่าสัตว์ในชาตินี้มาก  ทำลายชีวิตผู้อื่นมาก ไปเกิดชาติหน้าจะมีอายุสั้น  ตรงกันข้ามหากใครฆ่าสัตว์น้อย  ช่วยเหลือชีวิตสัตว์มาก  ก็จะมีอายุที่ยืนยาว  เราสามารถพิสูจน์คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า  จากที่ปรากฏในสังคมปัจจุบัน  ดังที่มนุษย์เกิดมามีอายุสั้น  อายุยืนแตกต่างกัน  พระพุทธองค์ตรัสรู้แจ้งเห็นจริง  ในธรรมชาติของมนุษย์  จึงทรงบัญญัติศีลข้อที่    ให้ปฏิบัติตาม  เพื่อไปเกิดในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป  จะมีอายุยืนยาว 

        นอกจากนั้นยังห้ามมิให้ทำร้ายสัตว์  และทรมานสัตว์  เพราะจะทำให้สัตว์เจ็บปวดและพิการ  ซึ่งจะส่งผลทำให้   ชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป เราจะเจ็บไข้ได้ป่วย  ทุกข์ทรมาน  มีโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ  ดังจะเห็นได้ว่า  แต่ละคนมีการเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเป็นโรคที่แตกต่างกัน

        อีกประการหนึ่งท่านไม่ให้เบียดเบียนผู้ที่กำลังมีความสุข  เช่นผู้อื่นมีทรัพย์สมบัติซึ่งได้มาจากการทำงานโดยสุจริต  เราก็ไปฉ้อโกง  ทำให้เขาเกิดความดือดร้อน  ความประพฤติเช่นนี้  จะทำให้ผู้อื่นขาดความเชื่อถือ  เมื่อไปเกิดในชาติหน้าเราก็จะถูกเบียดเบียนเช่นนี้บ้าง  ศีลข้อที่    จึงห้ามไว้    ประการ  คือ ห้ามฆ่าสัตว์   ห้ามทรมานสัตว์  ห้ามเบียดเบียนสัตว์  ทั้งสามประการนี้จะส่งผลให้มนุษย์มีอายุที่ยืนยาว  ไม่เจ็บป่วยทุกข์ทรมาน  และไม่มีใครมาทำลายความสุข  เพียงศีลข้อเดียวก็ยังส่งผลให้มนุษย์มีความสุขทั้งในปัจจุบันและชาติต่อ ๆ ไป

       ธรรมประกอบศีลข้อที่   มีเมตตา  คือความรัก  มีกรุณา คือความสงสาร

มีจิตใจที่ไม่โหดเหี้ยม  มีความโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น  เป็นการชำระกิเลสคือความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ให้ลดน้อยลง  การนำศีลมารักษากาย  วาจา  เท่านั้นยังไม่พอ  เมื่อเราละชั่วแล้วเราต้องทำความดี  และทำด้วยจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์  เช่นเราไม่ฆ่าสัตว์  เราต้องช่วยเหลือชีวิตสัตว์  หรือขณะที่เราปล่อยสัตว์  ถ้าเราอธิษฐานขอให้อายุยืนยาว  เช่นนี้ถือว่าเราทำความดีโดยไม่บริสุทธิ์ใจ  ที่ถูกต้องนั้นเราจะต้องช่วยเหลือให้ผู้อื่นมีความสุข  ดังนั้นขณะที่เราปล่อยสัตว์  เราควรอธิษฐานให้เขามีชีวิตรอดเป็นสุข และมีอายุยืนยาว ในเมื่อมีศีลประจำกาย วาจาแล้ว  ต้องมีธรรมประจำใจมาประกอบศีล  เราจึงจะสะอาดบริสุทธิ์ทั้งกาย  วาจา  ใจ

       ศีลข้อที่              อะทินนาทานา   เวระมณีสิขาปะทัง  สะมาทิยามิ

                                    ห้ามลักทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน

       การลักทรัพย์ หมายถึงการเอาทรัพย์สินเงินทอง หรือเอาสิ่งของผู้อื่น ที่เจ้าของไม่ได้อนุญาต  มาเป็นของตน  ซึ่งจะทำให้เจ้าของทรัพย์มีความเสียใจ และได้รับความเดือดร้อน  ตัวอย่างเช่น  นาย ก.ถูกนาย ข.ลักทรัพย์ไป นาย ก.และครอบครัวได้รับความเดือดร้อน  หลังจากนาย ข.ลักขโมยไป  นาย ก. ก็เสียใจ  เกิดความโกรธแค้น  อาฆาตพยาบาท  ปองร้าย  ไปแจ้งความให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวนาย ข. มาลงโทษตามกฎหมาย  ส่วนนาย ข.เมื่อได้ลักเอาทรัพย์สมบัติสิ่งของไปแล้วก็เกิดความทุกข์กระวนกระวายใจ  กลัวนาย ก.จะมาตามเอาทรัพย์สินคืน  หรือมาทำร้ายถึงแก่ชีวิต  กลัวตำรวจจะมาจับติดคุกติดตะราง  จึงหลบ    ซ่อน ๆ  พลัดพรากจากครอบครัวที่อยู่อาศัย  เกิดความเดือดร้อนเป็นทุกข์ไปตลอดชีวิต  นี้คือผลกรรมที่ทำในชาตินี้

       ส่วนผลจะส่งในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป  เมื่อไปเกิดเป็นมนุษย์อีก  นาย ข. เมื่อมีทรัพย์สมบัติจะถูกโจร
ปล้นจี้  ลักขโมยได้รับความเดือดร้อนเป็นทุกข์  เช่นเดียวกับที่ได้กระทำไว้กับนาย ก. นี้คือ
กฎแห่งกรรม  ดัง

คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า ใครทำกรรมอันใดไว้จะเป็นบุญหรือเป็นบาปจักต้องได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป 

            ด้วยเหตุนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติศีลข้อที่    ให้มนุษย์นำมารักษากาย  วาจา ให้สะอาดปราศจากความชั่ว  เมื่อละชั่วตามศีลข้อที่ ๒ แล้วต้องประพฤติดี  โดยการบริจาคทรัพย์สินเงินทองให้กับผู้ที่ควรให้ เช่น  พระภิกษุ  สามเณร พ่อแม่ ครู อาจารย์  คนยากจน  คนพิการ  หรือผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น เมื่อมีศีลประจำกาย วาจา แล้ว ต้องมีธรรมประกอบศีลข้อที่ 

       ธรรมประกอบศีลข้อที่  คือมีสัมมาอาชีวะ มีอาชีพชอบ  มีความซื่อสัตย์สุจริต  ต่อ

หน้าที่การงาน  ไม่ทุจริตคดโกง  ชีวิตก็จะอยู่อย่างเป็นสุขตลอดไป

       ศีลข้อที่              กาเมสุมิจฉาจารา  เวระมณีสิขาปะทัง  สะมาทิยามิ

                                    ห้ามประพฤติผิดในกาม  ห้ามเป็นชู้สู่สมกับสามีหรือภรรยาผู้อื่น

       ผู้ใดที่นำศีล ๕ มารักษากาย  วาจา  นั้นยังสามารถเสพกามได้  แต่ห้ามไปเสพกามกับสามีหรือภรรยาผู้อื่น หรือหญิงชายที่ไม่ใช่คู่ครองของตน  เพราะการที่เราไปเสพสมกับผู้อื่น  จะทำให้เกิดความเดือดร้อนทุกฝ่าย  ทั้งสองครอบครัวก็จะเกิดการทะเลาะวิวาท  เพราะความหึงหวง  บางครอบครัวต้องหย่าร้างแยกทางกันไป  เกิดปัญหาทำให้ลูกขาดความอบอุ่น  นำความเสื่อมเสียมาให้กับตนเองและครอบครัว  ทำให้ผู้อื่นขาดความเคารพนับถือ บางคนมีความโกรธแค้น  เกิดความอาฆาตพยาบาทปองร้าย  ถึงกับทำลายชีวิตซึ่งกันและกัน  หรือหากผู้ใดละเมิดศีลข้อที่    มาก ๆ  จะได้รับโทษจากการกระทำในปัจจุบัน เช่นอาจติดเชื้อโรคร้ายอื่น ๆ หรือติดเชื้อโรคเอดส์  เจ็บป่วยทุกข์ทรมาน และตายไปในที่สุด  นี้คือโทษที่ได้รับในปัจจุบัน

            เพราะฉะนั้น  พระพุทธองค์จึงกำหนดให้มนุษย์  นำศีลข้อที่  ๓ มารักษากาย  วาจา เพื่อไม่ให้ครอบครัวเกิดความเดือดร้อน  พระพุทธองค์ชี้โทษทั้งในปัจจุบันและอนาคต  ถ้าเราละเมิดศีลข้อที่    นี้  เมื่อไปเกิดในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป  จะส่งผลให้มีสามีหรือภรรยาที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อกัน ดังที่พบเห็นในสังคมปัจจุบันนี้  บางคนสามีเป็นคนดีแต่ภรรยาก็มีชู้  บางคนภรรยาเป็นคนดีแต่สามีก็ยังนอกใจ  นั้นเป็นเพราะกฎแห่งกรรมที่ได้ทำไว้ในอดีตชาติ  ที่ได้ละเมิดศีลข้อที่ ๓  แต่ถ้าหากเรานำศีลข้อที่    มารักษากาย  วาจาในปัจจุบัน  ครอบครัวก็จะมีความสุข  ลูกมีความอบอุ่น มีผู้คนเคารพนับถือเพื่อนก็ไว้วางใจ  กายเราก็สะอาดปราศจากความชั่ว แต่ศีลข้อที่    รักษาได้เพียงกาย  วาจา เท่านั้น หากจะให้สมบูรณ์ทางใจต้องมีธรรมมาประกอบศีลข้อที่ 

       ธรรมประกอบศีลข้อที่    คือ มีความสำรวมในกาม  เมื่อไม่ได้ประพฤติชั่ว  ไม่เป็นชู้

สู่สมกับสามีหรือภรรยาผู้อื่น หรือหญิงชายอื่นที่ไม่ใช่คู่ครองของตนแล้ว  ยังต้องทำสิ่งตรงกันข้าม  คือเราจะต้องไม่ยุยงส่งเสริมให้สามีหรือภรรยาคู่อื่น ๆ แตกแยกกัน  ช่วยเหลือให้เขามี ความรักใคร่ปรองดองกัน  อันนี้เป็นการละชั่วแล้วประพฤติดี  ในการช่วยเหลือก็ต้องทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ 

โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนแต่อย่างใด การที่เราไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ใช้วาจาเล้าโลมผู้ใด  แต่ใจคิดอยากที่จะได้สามีหรือภรรยาผู้อื่นมาเสพสมถือว่าไมผิดศีล เพราะกายไม่ได้ไปทำชั่ว แต่ใจไม่สะอาด

ใจมีมลทินมัวหมอง  จึงถือว่าไม่ผิดศีลแต่ผิดธรรม  คือ ไม่สำรวมในกาม  ฉะนั้นพระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติศีลข้อที่    และธรรมข้อที่  ๓ นี้ขึ้น  เพื่อให้มนุษย์มีความสะอาดทั้งกาย  วาจา  ใจ  นั้นเอง

            ศีลข้อที่         มุสาวาทา   เวระมณีสิขาปะทัง   สะมาทิยามิ

                                    ห้ามพูดปด  หลอกลวง  ห้ามพูดส่อเสียด  พูดเพ้อเจ้อ พูดคำหยาบ

            การพูดปดหลอกลวง  หมายถึงการใช้วาจา  ไปชักจูงผู้อื่นให้หลงเชื่อ  ในเรื่องที่ไม่จริง  ให้เชื่อว่าเป็นเรื่องจริง  เช่นการพูดปด  หลอกลวงเอาทรัพย์สิน  เงินทองหรือสิ่งของต่าง ๆ ของผู้อื่นมาเป็นของตน  ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน ต้องเสียทรัพย์  เสียใจ  บางคนถูกหลอกลวงเสียทรัพย์สินเงินทองมากมาย  หมดเนื้อหมดตัว  ถึงกับเป็นบ้าเสียสติหรือฆ่าตัวตายไปก็มี

            การพูดส่อเสียด  หมายถึงการพูดให้ผู้อื่นเจ็บช้ำน้ำใจ  หรือการพูดนินทาว่าร้ายให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงเป็นต้น

           การพูดเพ้อเจ้อ หมายถึง การพูดเรื่องไร้สาระไม่มีประโยชน์  สร้างความรำคาญใจให้ผู้อื่น  ไม่รู้จักกาลเทศะในการพูด  ( ไม่รู้จักเวลาและสถานที่ในการพูด )

            การพูดคำหยาบ หมายถึงการพูดที่ไม่สุภาพ พูดลามกอนาจาร ไม่เกิดประโยชน์กับผู้ฟัง 

            การพูดที่กล่าวมาแล้วนี้  เป็นการทำลายตนเอง  และสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น  ขาดความเชื่อถือจากคนทั่วไป  ไม่มีผู้คนเคารพนับถือ  ไม่มีใครอยากคบค้าสมาคมเป็นเพื่อนด้วย  ศีลข้อที่    นี้  จะสะอาดบริสุทธิ์ต้องมีธรรมประจำใจ 

            ธรรมประจำศีลข้อที่    คือมีสัจจะ  พูดแต่ความจริง  พูดแต่เรื่องที่ดีมีประโยชน์  และมีวาจาที่อ่อนหวาน  ที่เรียกว่า  ปิยวาจา   ถ้าผู้ใดนำศีล  นำธรรมข้อที่    มารักษากาย  วาจา  ใจ ในชาตินี้  จะส่งผลให้เป็นคนดี  มีผู้คนเคารพนับถือ  ยกย่องสรรเสริญว่าเป็นผู้ที่มีสัจจะวาจาที่เชื่อถือได้ของคนทั่วไป 

            ผลจะส่งในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป  ถ้าไปเกิดเป็นมนุษย์อีก  จะไม่ถูกใครหลอกลวง ให้เสียทรัพย์สินเงินทอง  ไม่มีใครใส่ร้ายป้ายสีให้เสียชื่อเสียง  ให้ได้รับความเดือดร้อน  ไม่เป็นคนพูดเพ้อเจ้อ  ไม่เป็นคนพูดคำหยาบ  เป็นคนที่มีกิริยาวาจาดี  มีริมฝีปากที่สวยงาม  มีเสียงอันไพเราะ  มีคนชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง 

           ศีลข้อที่         สุราเมระยะมัชชะ  ปะมาทัฎฐานา  เวระมณีสิขาปะทัง  สะมาทิยามิ

                                    ห้ามดื่มสุรา  เครื่องดองของเมา  หรือเสพยาเสพติดให้โทษต่าง ๆ

            การดื่มสุราเครื่องดองของเมา  หรือเสพยาเสพติดให้โทษต่าง ๆ ทำให้เสื่อมเสียหลายอย่าง  เช่นเสียเงินเสียทอง  เสียสุขภาพร่างกาย  (ป่วยเป็นโรคตับหรือโรคอื่น ๆ ) เสียสติ ( เป็นบ้า )

เสียปัญญา ( เป็นคนโง่ )  เสียบุคลิก ( กิริยาท่าทางที่น่าเกลียด  เดินโซเซ )  เสียสัจจะ ( พูดโกหก )

เสียภรรยา ( ถูกภรรยาทอดทิ้งเพราะเป็นคนขี้เหล้าเมายา )  เสียชื่อเสียง (ถูกประณามว่าเป็นคนไม่ดี) นอกจากนั้นยังนำความเสื่อมเสียให้กับสังคม  ประเทศชาติบ้านเมือง  และเสียชีวิตไปในที่สุด

            ผู้ที่ดื่มสุราหรือเสพยาเสพติด  สามารถทำชั่วได้ทุกอย่าง   เช่น การฆ่าสัตว์  ลักทรัพย์  ประพฤติผิดในกาม  พูดปดหลอกลวง  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนให้งดเว้นการดื่มสุรา  เครื่องดองของเมา  งดเสพยาเสพติดให้โทษต่าง ๆ เพราะเราจะไม่ต้องเสียเงิน  ไม่เสียสุขภาพ  ไม่เสียสติ  ไม่เสียปัญญา  ไม่เสียบุคลิก  ไม่เสียสัจจะ  ไม่เสียชื่อเสียง  ไม่เสียภรรยาหรือสามี ศีลข้อที่    จะบริสุทธิ์ทั้งกาย  วาจา  ใจ  ต้องมีธรรมมาประกอบ

            ธรรมประกอบศีลข้อที่    คือมีสติอันรอบคอบ  หมายถึงมีสติระลึกรู้   รู้ผิด  รู้ถูก  รู้ชั่ว  รู้ดี  ไม่ทำความชั่ว  ทำแต่ความดี คือมีทาน  มีศีล  มีสติปัญญาดี   

            ผู้ใดนำศีลทั้ง    ข้อนี้มารักษากาย วาจา  นำธรรมทั้ง    ประการมารักษาใจ  ผู้นั้นจะบริสุทธิ์  ทั้งกาย  วาจา  ใจ  เรียกได้ว่าเป็นคนดี  มีคุณธรรม  และจริยธรรมโดยสมบูรณ์

            พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แจ้งเห็นจริงแล้วว่า ผู้ใดที่เกิดมา มีรูปร่างหน้าตา ที่สวยงาม  แตกต่างกันในชาตินี้  เพราะผลจากอดีตชาติ  นำศีลมารักษากาย  วาจา  มากน้อยต่างกัน  ด้วยเหตุนี้พระองค์ท่านจึงทรงบัญญัติศีล  ให้มนุษย์นำศีลมารักษากาย  วาจา  ให้สะอาดปราศจากความชั่ว  เมื่อไปเกิดในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ  ไป  จะได้มีรูปร่างหน้าตาที่สวยงาม  ( ศีลส่งผลให้สวยงาม )

            ศีลไม่คุมถึงใจ  หมายถึง ศีลคือข้องดเว้นทำความชั่วทางกาย  วาจา  แต่ไม่คุมถึงใจ  ตัวอย่างเช่นวันนี้เรารับศีล    จากพระสงฆ์  ศีลข้อที่    ห้ามฆ่าสัตว์  เราไม่นำกายไปฆ่าสัตว์ แต่จิตคิดอยาก      กินเนื้อ  เป็ด  ไก่  กุ้ง  หอย  ปู  ปลา วันนี้เราจะพูดหรือนำกายไปฆ่าสัตว์เหล่านั้นไม่ได้  เพราะได้รับศีลจากพระภิกษุ  มารักษา  กาย  วาจาไว้แล้ว  ใจก็คิดต่อไปอีกว่า  พรุ่งนี้เช้าออกศีลเสียก่อน  เราจะฆ่าสัตว์เหล่านั้นกินให้สมใจ  ถือว่าผู้นั้นไม่ผิดศีล  เพราะงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ได้  แต่ผิดธรรมคือไม่มีคุณธรรมประจำใจ  เพราะจิตใจขาดเมตตาคือความรัก  ขาดกรุณาคือความสงสาร  จึงมีความโหดร้ายทารุณ  คิดฆ่าสัตว์ต่าง ๆ ได้  เพราะฉะนั้นศีลจึงคุมได้เพียงกาย  วาจา  เท่านั้น  ไม่คุมถึงใจ  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนให้มนุษย์มีทั้งศีล    ธรรม    ประจำกาย  วาจา  ใจ 

 

บางท่านนำศีลมารักษา  กาย  วาจา  ได้แต่ไม่มีธรรมประจำใจ  จึงสะอาด  เฉพาะกาย  วาจา  แต่จิตใจไม่สะอาด  มีมลทินมัวหมอง

บางท่าน ไม่ได้นำศีลมารักษา  กาย  วาจา  ฆ่าสัตว์ต่าง ๆ ด้วยเพราะมีเหตุจำเป็น ในการประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว  แต่จิตใจกลับมีเมตตา  คือความรัก  มีกรุณาคือความสงสาร  ต่อสัตว์ทั่วไป  เพราะฉะนั้นท่านผู้นี้จึงมีกายสกปรก มีมลทิน แต่จิตใจสะอาด  นี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของศีลและธรรมข้อที่    เท่านั้น  ส่วนท่านใดจะประพฤติตามหรือประพฤติผิดศีลและธรรม ทางกาย  วาจา  ใจ  ของข้ออื่น ๆ ก็ขอให้ท่านพิจารณา  ด้วยสติปัญญาของท่านเองเถิด  
 

            สมาธิ    สมาธิ  หมายถึงการทำจิตให้สงบ  มั่นคง  อยู่ที่ใดที่หนึ่ง  จิตเป็นนามธรรมมีหน้าที่คิด  เหตุที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงสอนให้ฝึกสมาธิ  เพราะพระองค์ท่านรู้ว่าตามธรรมชาติจิตใจของมนุษย์มีกิเลส ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  เป็นเครื่องปรุงแต่งจิตให้ฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลา  พระองค์ท่านจึงทรงหาอุบายให้ใช้สติ  ควบคุมจิตให้สงบ  โดยการฝึกสมาธิ  แล้วนำมาพิจารณาไตร่ตรองคำสอน  จนเกิดปัญญา  ปัญญาคือความรอบรู้  รู้ทุกอย่าง ที่ได้มาจากการศึกษา  มีทั้งปัญญาทางโลก  และปัญญาทางธรรม

            การฝึกสมาธิ   หมายถึง การฝึกสติควบคุมจิตให้อยู่ที่ใดที่หนึ่ง  สติ  เป็นนามธรรม  มีหน้าที่ระลึกรู้   ตามที่เรากำหนดจิต  ให้อยู่กับบทภาวนาบทใดบทหนึ่ง  การฝึกสมาธิมีด้วยกันหลายวิธี  สามารถฝึกได้ทุกที่  ทุกเวลา  ไม่ว่าจะนั่ง  นอน  ยืน  เดิน หรือทำอย่างอื่นโดยการใช้สติควบคุมจิตให้ระลึกอยู่ตลอดเวลาว่า กำลังทำอะไร  ให้จิตของเราอยู่กับการกระทำนั้น ๆ  เช่นเมื่อเรานั่งสมาธิ  โดยใช้บทภาวนาว่า  พุทโธ   สัมมา  อะระหัง   หรือ ยุบหนอ พองหนอ   เป็นต้น โดยเลือกบทใด     บทหนึ่ง  เราก็ใช้สติควบคุมจิต  ให้อยู่กับลมหายใจเข้าออก  พร้อมบทภาวนานั้น  หรือขณะที่เรียนหนังสือ  ก็ใช้สติควบคุมจิตให้อยู่กับการเรียน  กรณีที่เรากำลังเขียนหนังสือ  ถ้าเรามีสมาธิเราก็จะเขียนหนังสือ  ได้ถูกต้องและสวยงาม  ถ้าเราฝึกจิตอยู่เสมอ ๆ แล้วจะทำให้เรามีสติอันรอบคอบ  มีจิตใจ   เยือกเย็น  ไม่วู่วาม  ไม่เจ้าอารมณ์  มีเหตุผลมากขึ้น  นั้นแสดงว่าเรามีพลังสติมากขึ้นแล้ว  การฝึกสมาธิ  เป็นเพียงการทำจิตให้สงบ  แต่ยังไม่เกิดปัญญาความรู้แจ้งเห็นจริง  ส่วนปัญญานั้นเกิดได้จากการศึกษาเช่น  การฟัง  การอ่าน  การพิจารณาไตร่ตรอง ในเรื่องนั้น ๆ  ให้รู้แจ้งเห็นจริง  ด้วยเหตุด้วยผล 

            ตัวอย่างปัญญาที่เกิดจากการฟัง เช่น  มีนักเรียน    คน  คนหนึ่งตั้งใจฟังครูสอนเรียกว่า  มีสมาธิ ในการฟัง  แสดงว่านักเรียนคนนั้น มีสมาธิเป็นพื้นฐานของจิต มาจากอดีตชาติมาก จึงมีพลังสติมาก  สามารถที่จะควบคุมจิต  ให้อยู่กับวิชาการที่ครูกำลังสอน  ทำให้รู้และเข้าใจเรื่องที่ครูสอนเป็นอย่างดี  จึงมีความรู้เพิ่มขึ้น  เรียกว่า  เกิดปัญญา   ส่วนนักเรียนอีกคน  ไม่ตั้งใจฟัง  เรียกว่า ไม่มีสมาธิ  ในการฟัง  แสดงว่านักเรียนคนนั้น  มีสมาธิเป็นพื้นฐานของจิต  มาจากอดีตชาติน้อย จึงมีพลังสติน้อย  ไม่สามารถควบคุมจิต  ให้อยู่กับวิชาที่ครูกำลังสอน  จิตฟุ้งซ่าน  เป็นเหตุให้ไม่รู้ว่าครูสอนเรื่องอะไร  จึงไม่มีความรู้เพิ่มขึ้นอีก  เรียกว่า  ไม่เกิดปัญญา  ดังนั้นผลของการมีสมาธิในการเรียน  ทำให้เกิดปัญญา  คือมีความรู้เพิ่มขึ้น  แต่ปัญญาเพียงเท่านี้ไม่ใช่ปัญญาอันดีเลิศ  ต้องอาศัยการศึกษาและปฏิบัติตามในขั้นตอนต่อไป 

 

       ปัญญา   ปัญญา  คือความรู้ หรือความรอบรู้  ที่ได้มาจากการศึกษามีอยู่    อย่างด้วยกัน  ดังนี้

๑)      ปัญญาทางโลก

๒)    ปัญญาทางธรรม

๑)       ปัญญาทางโลก  คือการศึกษาหาความรู้จากโรงเรียน  หรือสถานศึกษาต่าง ๆ

ที่เป็นรูปธรรม  ที่สัมผัสได้  เช่นการเรียนรู้เรื่องต้นไม้  พืชชนิดต่าง ๆ  การเรียนรู้  ดิน ฟ้า อากาศ หรือเชื้อโรคต่าง ๆ  การเรียนรู้เรื่องช่างฝีมือ  และศิลปะต่าง ๆ  เป็นต้น  เพื่อนำมาประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว  หรือสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับประเทศชาติบ้านเมือง  ถ้าท่านได้ศึกษาอย่างละเอียดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ท่านก็จะเป็นผู้มีความรู้  ความชำนาญ ในเรื่องนั้น ๆ ที่ทางโลกเรียกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีความชำนาญ  ในแต่ละสาขาอาชีพ  นี้คือ  ปัญญาทางโลก

๒)     ปัญญาทางธรรม  คือการเรียนรู้จากคำสอนของ  องค์สมเด็จพระสัมมา 

สัมพุทธเจ้า  ซึ่งพระองค์ทรงสอนให้เรารู้จักตัวเองว่า  อะไรเป็นรูป  อะไรเป็นนาม เช่นตัวตนของเรา ประกอบไปด้วย  ธาตุ    ( ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ )  ขันธ์    ( รูป เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ ) เป็นต้น

                                    ธาตุ    ประกอบด้วย  ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ 

(๑)      ธาตุดิน  หมายถึง ส่วนที่เป็นของแข็งของร่างกาย  เช่น ผม, ขน, เล็บ ฟัน,

หนัง,  เนื้อ,  เอ็น,  กระดูก, เยื่อในกระดูก,  ม้าม, หัวใจ, ตับ, ผังผืด, ไต, ปอด, ลำไส้ใหญ่, ลำไส้เล็ก, อาหารใหม่, อาหารเก่า, เยื่อในสมองศีรษะ

(๒)    ธาตุน้ำ  หมายถึงของเหลวในร่างกาย  เช่น น้ำดี, น้ำเสลด, น้ำเหลือง, น้ำ

เลือด, น้ำเหงื่อ, น้ำมันข้น, น้ำตา, น้ำมันเหลว, น้ำลาย, น้ำมูก, น้ำมันไขข้อ,  น้ำมูตร ( น้ำปัสสาวะ )

(๓)    ธาตุลม  หมายถึง  ลมเข้าออกทุกทวาร  เช่น ลมหายใจเข้า ออก ทางจมูก

ออกทางหู  ออกทางปาก  ออกทางทวารหนัก ( ผายลม )

(๔)    ธาตุไฟ หมายถึง  ความร้อนในร่างกาย  ซึ่งคนปกติจะมีอุณหภูมิในร่างกาย

ประมาณ  ๓๗  องศาเซลเซียส  ซึ่งให้ความอบอุ่นและช่วยย่อยอาหารให้กับร่างกาย

                                    ขันธ์     ประกอบด้วย  รูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ

                                    (๑)  รูป    เป็นรูปธรรม   คือตัวเราประกอบด้วย  ธาตุ    และ อาการ  ๓๒

                                    (๒)  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ   เป็นนามธรรม

            ขันธ์ที่    รูป   เป็นรูปธรรม  ประกอบด้วย

(๑)    ธาตุ    คือ  ดิน  น้ำ  ลม  ไฟ

(๒)  อาการ  ๓๒  มีดังนี้   ๑) เกสาคือผม, ๒) โลมาคือขน, ๓) นขาคือเล็บ,

๔) ทันตาคือฟัน,                ๕) ตะโจคือหนัง,                      ๖) มังสังคือเนื้อ,      ๗) นะหารูคือเอ็น,

๘) อัฏฐิคือกระดูก,            ๙) อัฏฐิมินชังคือเยื่อในกระดูก,  ๑๐) วักกังคือม้าม,  ๑๑) หะทะยังคือหัวใจ,

๑๒) ยะกะนังคือตับ,         ๑๓) กิโลมะกังคือผังผืด,            ๑๔) ปิหะกังคือไต,  ๑๕) ปัปผาสังคือปอด,

๑๖) อันตังคือลำไส้ใหญ่,   ๑๗) อันตะคุณัง คือลำไส้เล็ก,    ๑๘) อุทะริยังคืออาหารใหม่,

๑๙) การีสังคืออาหารเก่า,   ๒๐) ปิตตังคือน้ำดี,                    ๒๑)เสมหังคือน้ำเสลด,

๒๒) ปุพโพคือน้ำเหลือง,  ๒๓) โลหิตังคือน้ำเลือด,            ๒๔) เสโทคือน้ำเหงื่อ,

๒๕) เมโทคือน้ำมันข้น,    ๒๖) อัสสุคือน้ำตา,                     ๒๗) วะสาคือน้ำมันเหลว,

๒๘) เขโฬคือน้ำลาย,         ๒๙) สังฆานิกาคือน้ำมูก,            ๓๐) ละสิกาคือน้ำมันไขข้อ,

๓๑) มุตตังคือน้ำมูตร (น้ำปัสสาวะ) ,   ๓๒) มัตถะเก  มัตถะลุงคัง คือ เยื่อในสมองศีรษะ

            นี้คือรูปธรรมที่เราสามารถสัมผัสได้ด้วยตา  ด้วยกาย  หรือจับต้องได้

 

                        (๒)  นามธรรม  มี    อย่าง   ดังนี้  คือ  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ

            ขันธ์ที่     เวทนา  เป็นนามธรรม  เวทนา หมายถึง ความทุกข์  ความสุข  อุเบกขา  ( ความรู้สึกเฉย ๆ )

                        ความสุข   คือความรู้สึกสบายกาย  สบายใจ หรือความพอใจในสิ่งต่าง ๆ

                        ความทุกข์  คือความไม่สบายกาย  ไม่สบายใจ

                        อุเบกขา  ( ความรู้สึกเฉย ๆ ) คือ ไม่ทุกข์กาย  ไม่ทุกข์ใจ  ไม่ดีใจ  ไม่เสียใจ  กับสิ่งใด ๆ

            ขันธ์ที่    สัญญา  เป็นนามธรรม สัญญา หมายถึงความจำได้  หมายรู้  คือจำทุกข์กาย  ทุกข์ใจ  จำสุขกาย  สุขใจ  จำรูป  เสียง กลิ่น  รส  สัมผัส  ธรรมารมณ์ ( อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางใจ )

            ขันธ์ที่    สังขาร  เป็นนามธรรม  สังขาร  หมายถึงเครื่องปรุงแต่งจิต  คือกิเลสทั้ง    อย่าง มี

ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง 

                         ความโลภ หมายถึง กิเลสที่ปรุงแต่งจิตให้มีความอยากได้ สิ่งต่าง ๆ มากขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด

                        ความโกรธ  หมายถึง กิเลสที่ปรุงแต่งจิตให้มีความไม่พอใจ โกรธแค้นเกลียดชัง อาฆาต พยาบาท  ปองร้ายต่อผู้อื่น

                        ความหลง  หมายถึง กิเลสที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดความรักใคร่พอใจ  ในสิ่งที่มากระทบ  ทางตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ  แล้วเกิดความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งเหล่านั้น เพราะความเข้าใจผิด  คิดว่ามีทุกอย่างแล้วจะเป็นสุข  แท้ที่จริงแล้วเป็นทุกข์ทั้งสิ้น

            ขันธ์ที่    วิญญาณ  เป็นนามธรรม วิญญาณ หมายถึง การรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบ  กระทบตาก็รับรู้ว่าเป็นรูปอะไร  สวยงามหรือไม่สวยงาม, กระทบหูก็รับรู้ว่าเป็นเสียง  ไพเราะหรือไม่ไพเราะ,  กระทบจมูกก็รับรู้ว่าเป็นกลิ่น หอมหรือเหม็น, กระทบลิ้นก็รับรู้ว่าเป็นรส เปรี้ยว  หวาน  มัน  เค็ม, กระทบกายก็รับรู้ถึงการสัมผัส เย็น  ร้อน  อ่อน  แข็ง,  กระทบทางใจ ก็รู้สึกว่าพอใจหรือไม่พอใจ 

เป็นสุขหรือเป็นทุกข์

            นี้คือคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า  เรื่องธาตุ    ขันธ์    เมื่อเราได้ศึกษาจากคำสอน  แล้วนำมาพิจารณา  จากตัวเราจนรู้แจ้งเห็นจริง ตามพระองค์ท่านว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมา  มีร่างกายประกอบไปด้วย  ธาตุ    ขันธ์ ๕ เท่านั้น  ไม่ใช่ตัว  ไม่ใช่ตน  ทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป  คือเมื่อเกิดขึ้นมีชีวิตอยู่  แล้วต้องตายไปในที่สุด  และเห็นว่า ทุกอย่างเป็น อนิจจัง  ทุกขัง  อนัตตา คือความไม่เที่ยง  มีความเป็นทุกข์  และสูญเปล่าไปในที่สุด  ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น  ลุ่มหลงมัวเมา ว่าเป็นตัวเป็นตน  เป็นเราเป็นเขา เพราะทุกคนที่เกิดมาแล้วต้องตายทั้งหมด  และนำสิ่งใด ๆ ติดตัวตามตน ไปไม่ได้เลย  นอกจากความดีและความชั่วเท่านั้น  ที่จะติดตัวไปทุกชาติ ๆ เมื่อพิจารณาได้ดังกล่าวแล้วนี้    จึงเรียกว่า  เกิดปัญญา              

            นี้เป็นตัวอย่างเพียงบทเดียวในคำสอนของ พระผู้มีพระภาคเจ้า  ซึ่งมีมากถึง ๘๔,๐๐๐            พระธรรมขันธ์  ถ้าท่านศึกษาแล้วปฏิบัติตาม  ท่านจะมีปัญญา  คือความรอบรู้  รู้ความเป็นธรรมชาติของมนุษย์  เพิ่มมากขึ้น  จึงเรียกว่า  ปัญญาทางธรรม

            เราสามารถพิสูจน์คำสอนของ  พระองค์ท่านได้  จากมนุษย์ในปัจจุบันที่เกิดมาแต่ละคน  มีความแตกต่างกัน  ดังนี้

๑)     บางคน  จน  สวย  ปัญญาดี  เป็นคนจนเพราะขาดการให้ทาน,  มีความสวยงาม

เพราะมีการนำศีลมารักษา กาย วาจา,  มีปัญญาดีเพราะมีการฝึกสมาธิและวิปัสสนา พิจารณาพระธรรมคำสอน มาจากอดีตชาติ

                       ๒)   บางคน  จน  สวย  แต่โง่  เป็นคนจนเพราะขาดการให้ทาน,  มีความสวยงามเพราะ

การนำศีลมารักษา กาย วาจา, โง่ เพราะขาดการฝึกสมาธิและวิปัสสนา ไม่พิจารณาพระธรรมคำสอน  มาจากอดีตชาติ

๓)    บางคนจน  ไม่สวย  แต่ปัญญาดี  เป็นคนจนเพราะขาดการให้ทาน,  ไม่สวยเพราะ

ขาดการนำศีลมารักษา กาย วาจา, มีปัญญาดีเพราะมีการฝึกสมาธิ และวิปัสสนา พิจารณาพระธรรมคำสอน  มาจากอดีตชาติ

๔)    บางคนจน  ไม่สวย  และโง่  เป็นคนจน เพราะขาดการให้ทาน, ไม่สวย เพราะขาด

การนำศีลมารักษา  กาย  วาจา, โง่  เพราะขาดการฝึกสมาธิและวิปัสสนา ไม่พิจารณาพระธรรมคำสอน  มาจากอดีตชาติ

๕)   บางคนรวย  ไม่สวย  แต่ปัญญาดี เป็นคนรวย เพราะให้ทานมามาก, ไม่สวย เพราะ

ขาดการนำศีลมารักษา กาย วาจา, ปัญญาดี เพราะการฝึกสมาธิและวิปัสสนา พิจารณาพระธรรมคำสอน  มาจากอดีตชาติ

๖)     บางคนรวย  ไม่สวย  และโง่  เป็นคนรวย เพราะให้ทานมามาก, ไม่สวย เพราะขาด

การนำศีลมารักษา กาย วาจา, โง่ เพราะขาดการฝึกสมาธิและวิปัสสนา ไม่พิจารณาพระธรรมคำสอน  มาจากอดีตชาติ

๗)   บางคนรวย  สวย  แต่โง่  เป็นคนรวย เพราะให้ทานมามาก,  มีความสวย เพราะนำศีล

มารักษา กาย วาจา, โง่ เพราะขาดการฝึกสมาธิและวิปัสสนา ไม่พิจารณาพระธรรมคำสอน  มาจากอดีตชาติ

๘)    บางคนรวย  สวย  ปัญญาดี เป็นคนรวย เพราะให้ทานมามาก, มีความสวย เพราะมี

การนำศีลมารักษา กาย  วาจา, มีปัญญาดี เพราะมีการฝึกสมาธิและวิปัสสนาพิจารณาพระธรรมคำสอน  มาจากอดีตชาติ

พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสรู้แจ้งเห็นจริง  ทั้งอดีต ปัจจุบัน  และอนาคต จึงทรงวางหลัก

พระพุทธศาสนาไว้    ประการ  เพื่อให้มนุษย์ได้ประพฤติปฏิบัติตาม  พระองค์ท่าน  ตรัสสอนให้มนุษย์  ให้ทาน  นำศีลมารักษา กาย วาจา  เจริญสมาธิและวิปัสสนา  เพื่อให้เกิดปัญญา  จะได้มีคุณสมบัติทั้ง    ประการ  ติดตัวตามตนไปในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป เมื่อไปเกิดเป็นมนุษย์อีกจะส่งผล  ให้มีฐานะร่ำรวย  มีรูปร่างหน้าตาสวยงาม และมีปัญญาดี  อันจะเกื้อหนุนเอื้ออำนวยให้สามารถปฏิบัติธรรมในขั้นสูงขึ้นไป  จนรู้แจ้งเห็นจริงตามพระองค์ท่าน ละชั่ว ประพฤติดี ชำระกิเลส คือ ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง ให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ  เข้าสู่แดนวิมุตหลุดพ้น ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏสงสารอีกต่อไป  มีความสุขชั่วนิจนิรันดรตลอดกาล

 

บทที่  

บาป  หมายความว่าอย่างไร

บุญ  หมายความว่าอย่างไร

๑.     บาป คือ ความทุกข์กาย  ทุกข์ใจ ที่เกิดขึ้นจากการทำความชั่วทางกาย  วาจา ใจ สร้าง

ความเดือดร้อนให้กับตนเองและผู้อื่น

            ตัวอย่างบาป  ที่เกิดจากการทำความชั่วโดยการลักทรัพย์  อันเป็นการทำผิดศีลข้อที่    เช่นนักเรียนคนหนึ่งไปขโมยสมุด  ปากกา ดินสอ  ของเพื่อนนักเรียนด้วยกัน  ทำให้เพื่อนที่ถูกขโมย  มีความรู้สึกเสียใจ  เสียดาย  เกิดความรู้สึกเกลียดชัง อาฆาตพยาบาท  ปองร้าย  มีความทุกข์

            ส่วนเพื่อนนักเรียนที่เป็นผู้ขโมยสิ่งของไป  ก็มีความรู้สึกเป็นทุกข์  กลัวถูกจับได้  หรือเมื่อถูกจับได้  ก็จะถูกครูลงโทษ  ถูกเพื่อนประณาม  ทำให้เสียชื่อเสียงถึงพ่อแม่  ไม่มีเพื่อนอยากคบค้าสามาคมด้วย  เกิดความทุกข์อย่างมาก  นี้คือ บาป  ที่เกิดจากการทำความชั่วของตนเอง  และยังนำความเดือดร้อนมาให้ผู้อื่นอีกด้วย  นี้คือ ตัวอย่าง บาป  คือความทุกข์ที่เกิดจากการทำความชั่ว  โดยการลักทรัพย์

มีความทุกข์ทั้งเจ้าของทรัพย์ และผู้ที่ลักทรัพย์ไป

๒.   บุญ  คือ ความสุขกาย  สุขใจ  ที่เกิดขึ้นจากการทำความดี ทางกาย  วาจา ใจ สร้างความสุข

ให้กับตนเองและผู้อื่น

ตัวอย่างบุญ  ที่เกิดจากการทำความดี  เช่นนักเรียนได้นำเสื้อผ้า  สมุด ปากกา  ดินสอ  อุปกรณ์

การเรียนต่าง ๆ  แบ่งปันให้กับเพื่อนนักเรียนที่ยากจน  ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียน  ถือว่าเป็นการให้ทาน  นักเรียนผู้ที่เป็นผู้ให้ก็มีความสุขใจ  ที่ได้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ช่วยเหลือเพื่อนให้พ้นจากความเดือดร้อน  ครู  อาจารย์ก็ชื่นชมยินดี  ยกย่องสรรเสริญว่าเป็นคนดี  มีน้ำใจ  เพื่อนฝูงก็รักใคร่  อยากคบค้าสมาคมเป็นเพื่อนด้วย  พ่อแม่ ก็มีความสุขใจที่มีลูกเป็นคนดี

ส่วนเพื่อนนักเรียนที่ได้รับสิ่งของหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ก็มีความยินดี  มีความสุข ทำให้บรรเทา 

ความทุกข์  ความเดือดร้อน ได้ในระดับหนึ่ง

นี้คือตัวอย่าง บุญ คือความสุขใจ ที่เกิดจากการทำความดี  โดยการให้ทาน มีความสุขทั้งผู้ให้และ

ผู้รับ

 

สรุป  ผู้ใดทำความดีมากก็จะมีความสุขใจมาก ที่เรียกว่าเป็น  บุญ  ส่วนผู้ใดทำ    ความชั่วมาก ก็จะ
มีความทุกข์ใจมาก  ที่เรียกว่าเป็น  บาป ซึ่งตรงกับคำสอนของ  พระผู้มี   พระภาคเจ้า  ตรัสสอนไว้ว่า  ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว   ซึ่งเป็นไปตามการทำดี หรือทำชั่ว ทั้ง กาย วาจา ใจ  แล้วแต่ผู้ใดจะทำกรรมดี กรรมชั่ว  มากน้อยต่างกัน  ผลของบาปและบุญก็จะส่งผลแตกต่างกันไป

 

บทที่ 

กรรม  หมายความว่าอย่างไร

            กรรม  คือ การกระทำ  ทำดี  เรียกว่า  กรรมดี    ทำชั่ว เรียกว่า  กรรมชั่ว

๑.      กรรมดี 

๑)  ทำกรรมดีทางกาย   เรียกว่า  ทำดี

๒) ทำกรรมดีทางวาจา  เรียกว่า  พูดดี

๓)  ทำกรรมดีทางใจ     เรียกว่า  คิดดี

      ตัวอย่างการทำความดีทางกาย  เช่น นักเรียนมาโรงเรียนแต่เช้า  ได้ช่วยกันทำ    

ความสะอาดห้องเรียน  และบริเวณโรงเรียน  เมื่อพบ  ครู อาจารย์ ก็ทำความเคารพ  ด้วยกิริยาอ่อนน้อม    ถ่อมตน  นี้คือการทำดี เรียกว่า ทำกรรมดีทางกาย

                                    ตัวอย่างการทำความดีทางวาจา  เช่นตอนเช้านักเรียนได้รวมแถวเคารพธงชาติ  สวดมนต์  ไหว้พระ กล่าวคำปฏิญาณตน  พูดคุยกับเพื่อนด้วยกิริยา  วาจาที่สุภาพอ่อนโยน  ไม่พูดคำหยาบ  ไม่โต้เถียงกับเพื่อนนักเรียน  หรือครู อาจารย์  นี้คือการพูดดี  เรียกว่า  ทำกรรมดีทางวาจา 

                                    ตัวอย่างการทำกรรมดีทางใจ   เช่นนักเรียน  ตั้งใจเรียนในวิชาที่ครู อาจารย์กำลังสอน  เพื่อให้มีความรู้ในสาขาวิชานั้น ๆ เชื่อฟังคำสั่งสอนของครู อาจารย์  คิดอยู่ตลอดเวลาว่า  จะตอบแทนพระคุณของพ่อแม่  ที่เลี้ยงดูและส่งเสียให้ได้รับการศึกษา  หรือตอบแทนพระคุณของ ครู อาจารย์  ที่ได้อบรมสั่งสอน  ด้วยการประพฤติตนเป็นคนดี  และตั้งใจเรียน  นี้คือการคิดดี  เรียกว่า  ทำกรรมดีทางใจ

                        ๒.  กรรมชั่ว

๑)  ทำกรรมชั่วทางกาย     เรียกว่า  ทำชั่ว

๒)  ทำกรรมชั่วทางวาจา   เรียกว่า  พูดชั่ว

๓)  ทำกรรมชั่วทางใจ       เรียกว่า  คิดชั่ว

 

            ตัวอย่างการทำกรรมชั่วทางกาย  เช่น นักเรียนบางคนเป็นเด็กเกเร  มาโรงเรียนสาย  ไม่ช่วยเพื่อนทำความสะอาดห้องเรียน และบริเวณโรงเรียน  แล้วยังไปก่อกวน  ทิ้งขยะให้เกิดความสกปรกในโรงเรียนอีก พบครู อาจารย์  ก็แสดงกิริยา  มารยาทที่ไม่เรียบร้อย  กระด้างกระเดื่อง ไม่ทำความเคารพ  นี้คือ  การทำชั่ว  เรียกว่า  ทำกรรมชั่วทางกาย

            ตัวอย่างการทำกรรมชั่วทางวาจา  เช่น นักเรียนบางคนเป็นเด็กเกเร  มาโรงเรียนสาย  ไม่ได้เข้าแถวเคารพธงชาติ  ไม่ได้สวดมนต์  ไหว้พระ  แล้วยังไปก่อกวน  ส่งเสียงดัง  เอะอะโวยวาย  ก่อเรื่องทะเลาะวิวาทกับเพื่อนนักเรียนด้วยกัน  เมื่อครู อาจารย์ห้ามปราม  ก็ไม่เชื่อฟัง  แล้วยังไปโต้เถียง  พูดจาหยาบคาย  และใช้กิริยาวาจา  ไม่สุภาพกับครู อาจารย์  นี้คือ  การพูดชั่ว  เรียกว่า ทำกรรมชั่วทางวาจา

            ตัวอย่างการทำกรรมชั่วทางใจ  เช่น นักเรียนบางคน  เป็นเด็กเกเร  คิดว่าจะไม่มาโรงเรียน  ถ้ามาก็มาสาย  มาแล้วก็ไม่ตั้งใจเรียน  ขณะที่ครู อาจารย์กำลังสอน  ก็ไม่ใส่ใจในการเรียน คิดดูถูกเหยียดหยาม  ไม่เคารพยำเกรง  ลบหลู่  พระคุณของครู อาจารย์  นี้คือ  การคิดชั่ว  เรียกว่า ทำกรรมชั่วทางใจ

            นี้คือตัวอย่าง  การทำกรรมชั่วทาง  กาย  วาจา  ใจ  ตามปกติคนทั่วไป  จะทำกรรมดีบ้าง  กรรมชั่วบ้าง  ตามธรรมชาติของมนุษย์ปุถุชนคนทั่วไป  เช่น ขณะที่ทำความดีทางกาย  แต่พูดไม่ดี  ก็เรียกว่า

ทำกรรมดีทางกาย  ทำกรรมชั่วทางวาจา 

ตัวอย่าง  การทำดี  แต่พูดไม่ดี  เช่นนักเรียนบางคน  ขณะทำความสะอาดห้องเรียน ทำไปบ่นไป  ใช้วาจาไม่สุภาพ  เช่น ขี้เกียจจังโว้ย  เหนื่อยจังเลย  รำคาญจริง ๆ หรือ เบื่อจังโว้ย  นี้คือตัวอย่าง 
ทำกรรมดีทางกาย  แต่ทำกรรมชั่วทางวาจา

            ตัวอย่าง การคิดดี  แต่พูดไม่ดี  เช่นนักเรียนบางคน  เห็นหน้าเพื่อนดีใจ  เพราะคิดถึงกัน  แต่กลับพูด  เกลียดขี้หน้าเธอจังเลย  ไม่อยากพบหน้าเธออีกแล้ว   เรียกว่า ทำกรรมดี    ทางใจ  แต่ทำกรรมชั่วทางวาจา  หรือโบราณกล่าวว่า  ปากกับใจไม่ตรงกัน

            ดังนั้น  กรรม  คือการกระทำ  เราสามารถพิสูจน์คำสอนของพระผู้มีพระภาคาเจ้า  ได้จากสังคมมนุษย์ในปัจจุบัน  ที่คนเราเกิดมามีความทุกข์  ความสุขแตกต่างกัน  เพราะการกระทำหรือเรียกว่ากฎแห่งกรรมนี้เอง  ผู้ใดทำกรรมดีไว้มาก  ก็จะมีความสุขมาก  ผู้ใดทำกรรมชั่วไว้มากก็จะมีความทุกข์มาก ซึ่งเป็นไปตาม
กฎแห่งกรรม  ดังพระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ว่า 
กัมมุนาวัตตีโลโก   สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม  ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์  จึงตรัสสอนให้เราประกอบแต่กรรมดี  ทั้งกาย  วาจา  ใจ  ที่เรียกว่า  กายกรรม  วจีกรรม  มโนกรรม   เพื่อให้ทุกคนได้มีความสุขกาย  สุขใจถ้วนหน้ากัน

 

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view