http://www.porjarearntum.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ05/04/2009
อัพเดท06/09/2022
ผู้เข้าชม704,687
เปิดเพจ955,350

บริการ

หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ติดต่อเรา

บทกลอนธรรมะ

จูงมือลูกเดิน

ระลึกได้และรู้ตัวหมายความว่าอย่างไร

รัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

อันตรายของภิกษุ สามเณร ผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง

ความจริงอันประเสริฐที่ควรรู้ ๔ ประการ

ธรรมะอันทำให้งาม มี ๒ ประการ

ธรรมคุ้มครองโลก

เสียงเทศน์ทำใหม่ล่าสุด

วงล้อแห่งพระธรรมที่นำไปสู่ความเจริญ ๔ อย่าง

ทุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

สุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

วิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการ หมายความว่าอย่างไร

คุณของรัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด

มูลเหตุของความโง่เขลา

มูลเหตุของความฉลาด

ท่านรู้จักตนเองว่ามีกิเลสหรือไม่ ต้องพิจารณาอย่างไร

ท่านรู้จักมนุษย์ ๔ ประเภทหรือยัง ?

คิดดี พูดดี ทำดี

ความสุข ความทุกข์ ความสบาย แตกต่างกันอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ

ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบและเกิดปัญญา

ศาสนาคืออะไร

ป่วยกาย ป่วยใจ หมายความว่าอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ (เนื้อหา)

ทำความดีเพื่ออะไร

คุณธรรม ๕ ประการ สนับสนุนความสำเร็จ

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมายความว่าอย่างไร

ศีล ในพระพุทธศาสนา ๒๒๗ ข้อ ภาคภาษาไทย อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ปัจจัย ๔ รูปธรรม และ ปัจจัย ๔ นามธรรม

มนุษย์ เป็นโรค ๔ อย่าง บ้า ใบ้ บอด หนวก

ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาปหมายความว่าอย่างไร

ระวังจิต ระวังอารมณ์ หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา มีจริงหรือไม่

จิตสงบ จิตว่าง แตกต่างกันอย่างไร

อยากรู้ อยากห็น อยากเป็น อยากไป หมายความว่าอย่างไร

มืดมามืดไป และสว่างมาสว่างไป หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่มีมาก ทำให้น้อยลง สิ่งที่มีอยู่ทำให้หมดไป

ความเห็นแก่ตัว กับการรักตัวเอง

ท่านพบเห็นเมืองพอแล้วหรือยัง

การทำความชั่วเพราะเหตุ ๔ ประการ

รู้จด รู้จำ รู้แจ้ง หมายความว่าอย่างไร

สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ฟังธรรมเป็นยาฉีด จริงหรือ

ผู้ที่ไม่แต่งงาน จะตกนรก จริงหรือไม่

มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ

ก็ต้อง ก็ได้ ก็ดี หมายความว่าอย่างไร

บันใด ๘ ขั้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

งามทั้ง กาย วาจา ใจ

ผู้ที่ฝีกสมาธินาน ๆ ไม่เกิดปัญญาเพราะเหตุใด

คิดอย่างไรจึงไม่เกิดทุกข์

จิตใต้สำนึก

คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ

ทำใจ หมายความว่าอย่างไร

ประเพณีงานศพที่ถูกต้อง... เหตุใดจึงต้องเผาศพ...

ความเบื่อของปุถุชนกับความเบื่อของพระอริยะ

พระราชดำรัส คุณธรรม ๔ ประการ(เนื้อหา)

มีสิ่งใด สิ่งนั้นก็เสื่อม

บวชเพื่ออะไร

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือ

ทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์

บุคคลที่หาได้ยาก ความกตัญญูกตเวที

การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดหรือถูก...

ความหวัง

มืดมาสว่างไป สว่างมามืดไป หมายความว่าอย่างไร

ผู้ที่ขัดขวางการปฏิบัติธรรม มีโทษอย่างไร

แผ่นพับธรรมะ

ระลึกได้และรู้ตัวหมายความว่าอย่างไร

ระลึกได้  และรู้ตัวหมายความว่าอย่างไร

 

๑.สติ คือ ความระลึกได้

๒.สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว

            ๑.สติ คือ ความระลึกได้ หมายถึง ระลึกได้อยู่ตลอดเวลาว่า

            จิตกำลัง คิดดี หรือ คิดชั่วก็ระลึกได้

            วาจากำลัง พูดดี หรือ พูดชั่วก็ระลึกได้

            กายกำลัง ทำดี หรือ ทำชั่วก็ระลึกได้

            ปกติแล้วทุกคน ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ เช่น พระภิกษุ สามเณร พ่อ แม่ ครู อาจารย์ ข้าราชการพลเรือน แพทย์ พยาบาล ทหาร ตำรวจ นักการเมือง นักเรียน นักศึกษา ชาวไร่ ชาวนา พ่อค้า ประชาชน และผู้สูงอายุ เป็นต้น การใช้ชีวิตประจำวัน ของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกันไป ทุกคนจะต้องมีสติระลึกได้  ถึงหน้าที่การงาน และความรับผิดชอบของตน เช่น

            พระภิกษุ สามเณร จะต้องมีสติระลึกได้อยู่ตลอดเวลาว่า ท่านอยู่ในเพศบรรพชิต มีหน้าที่ศึกษาพระธรรมพระวินัย แล้วประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม พระวินัย เช่น พระภิกษุมีศีล ๒๒๗ ข้อ สามเณรมีศีล ๑๐ ข้อ ที่จะต้องนำมารักษา กาย วาจา ให้สะอาดปราศจากความชั่ว และนำพระธรรมคำสอนมาประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อชำระใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ  นี่คือ พระภิกษุ สามเณรที่มีสติระลึกได้ และปฏิบัติตามพระธรรม พระวินัย อย่างเคร่งครัด สำรวมกาย วาจา ใจ มีกิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อย เป็นที่น่าเคารพนับถือ  ของพุทธศาสนิกชนทั่วไป  นำความเจริญรุ่งเรือง  มาสู่ตนเองและพระพุทธศาสนา

            พ่อ แม่ ก็ต้องมีสติระลึกได้อยู่ตลอดเวลาว่า  มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน ให้บุตรธิดา เป็นคนดี

            ครู อาจารย์ ก็ต้องมีสติระลึกได้อยู่ตลอดเวลาว่าต้องมีหน้าที่อบรมสั่งสอน ให้วิชาความรู้แก่นักเรียน นักศึกษาให้เต็มความสามารถ เพื่อที่นักเรียน นักศึกษาได้นำความรู้ต่างๆ ไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว ประพฤติตนเป็นพลเมืองดี  ของสังคม และประเทศชาติต่อไป

            ข้าราชการพลเรือน แพทย์ พยาบาล ทหาร ตำรวจ  จะต้องมีสติระลึกได้อยู่ตลอดเวลาว่า ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในหน้าที่การงาน  ที่ตนได้รับมอบหมายจากหน่วยงานนั้น ๆ  แตกต่างกันไป มีสติระลึกได้ว่า  ต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริตต่อหน้าที่การงาน  ต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เพื่อความเจริญก้าวหน้าของตนเอง  องค์กรและประเทศชาติบ้านเมือง  ทั้งยังเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับข้าราชการรุ่นหลังสืบต่อไป

            นักการเมือง จะต้องมีสติระลึกได้อยู่ตลอดเวลาว่า มีหน้าที่อย่างไร  นักการเมืองนั้นมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย การบริหารบ้านเมือง  คิดหาหนทางบริหารประเทศให้เจริญรุ่งเรือง นำความสุขความร่มเย็นมาสู่ประชาชน  ไม่คิดคดทรยศต่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ไม่ทุจริตคดโกงงบประมาณแผ่นดิน  ไม่เป็นทาสของกิเลสทั้ง ๓ อย่าง คือความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น  มีสติระลึกได้อยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องคิดหาหนทาง วิธีการบริหารประเทศให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป

            นักเรียน นักศึกษา จะต้องมีสติระลึกได้อยู่ตลอดเวลาว่าหน้าที่ของตน คือการศึกษาเล่าเรียนเพื่อที่จะได้มีวิชาความรู้  ความสามารถ  ไปประกอบอาชีพ เลี้ยงตนเองและครอบครัว ไม่ประพฤติตนเป็นคนเกเร ไม่มั่วสุมเรื่องเพศ และดื่มสุราเสพยาเสพติด เป็นคนดีสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติบ้านเมืองต่อไป

            ผู้สูงอายุ จะต้องมีสติระลึกได้อยู่ตลอดเวลาว่า จะต้องใช้เวลาที่เหลือให้เป็นประโยชน์ เช่นช่วยเหลืออบรมสั่งสอนลูกหลานให้เป็นคนดี เข้าวัดฟังธรรม ถึงวันพระหรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ควรให้ทาน นำศีลมารักษากาย วาจา ฝึกสมาธิ  ฟังพระธรรมเทศนาเพื่อนำพระธรรมคำสอน  มารักษาใจให้สะอาดบริสุทธิ์  ปราศจากกิเลสทั้ง ๓ อย่าง คือความโลภ ความโกรธ ความหลง  เพื่อเป็นการสะสมคุณงามความดี จะได้ติดตัวตามตนไปในชาติหน้า  หรือชาติต่อ ๆ ไป  และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกหลานสืบต่อไป

            ผู้ที่มีสติ คือความระลึกได้อยู่ตลอดเวลาว่า จิตกำลังคิดอะไร วาจากำลังพูดอะไร กายกำลังทำอะไร ผิดถูก ชั่วดี สติระลึกได้อยู่ตลอดเวลา  สติมีหน้าที่ระลึกได้เท่านั้น ส่วนจิตมีหน้าที่คิด ตามอำนาจของกิเลส และอำนาจของปัญญา เมื่อใดจิตอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส กิเลสก็จะปรุงแต่งจิตให้คิดแต่เรื่องที่ทำให้เกิดทุกข์ทั้งสิ้น เช่น คิดโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน คิดโกรธแค้นอาฆาต พยาบาทปองร้ายผู้อื่น คิดหลงพอใจรักใคร่ในสิ่งต่าง ๆ เข้าใจผิดคิดว่าถ้ามีสิ่งต่าง ๆ แล้วจะเป็นสุขอย่างยิ่ง  ผู้ที่มีปัญญา ก็จะนำปัญญามาพิจารณาไตร่ตรองด้วยเหตุด้วยผล ว่าเรื่องที่จิตคิดนั้น  เป็นเหตุของการเกิดทุกข์ ปัญญาก็จะยับยั้งไม่ให้จิตคิดเรื่องนั้นต่อไป ขณะที่จิตอยู่ใต้อำนาจของปัญญา จิตก็จะคิดแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์ นำความสุขมาให้ตนเองและผู้อื่น  และนำกาย วาจา ไปประกอบกรรมดี ตามที่จิตคิด

            ผู้ที่ทำความชั่วก็มีสติ คือความระลึกได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ดื่มสุราเสพยาเสพติด เล่นการพนัน จะไปปล้นจี้ ฉกชิงวิ่งราว หรือเป็นมือปืนรับจ้าง วางแผนฆ่าคน หรือทุจริตคดโกง เขาเหล่านั้นก็มีสติระลึกได้ตลอดเวลาว่า   จะไปทำอะไร ที่ไหน กับใคร เมื่อไร เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะคิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว ย่อมมีสติระลึกได้ และยังประกอบกรรมชั่วต่างๆ ให้สำเร็จตามที่จิตคิดไว้ มีบางกรณีที่ขาดสติแล้วทำชั่ว เช่นบางคนเมื่อเกิดบันดาลโทสะ สติไม่สามารถควบคุมจิตได้ ก็จะประกอบกรรมชั่วในบางครั้ง ดังที่จะพบเห็นเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน หรือบางครั้งศาลพิพากษาลงโทษผู้ที่กระทำผิดโดยเจตนา   แต่บางครั้งศาลก็พิจารณาลดโทษให้ผู้กระทำความผิด เนื่องจากไม่มีเจตนา ทำผิดไปเพราะขาดสติชั่วคราว เป็นต้น

            อีกประการหนึ่ง การขาดสติเพราะอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย หรือมีความพิการทางสมอง เช่น หลงๆ ลืมๆ จำสิ่งต่าง ๆ ได้บ้างไม่ได้บ้าง หรือมีอาการป่วยทางจิต จิตวิปริต วิปลาส ขาดทั้งสติ ขาดทั้งปัญญา ผิดปกติไปจากคนธรรมดา ซึ่งคนเหล่านี้ก็สามารถทำความชั่วต่างๆ ได้เหมือนกัน

            ดังนั้นขอให้ท่านจงเข้าใจให้ถ่องแท้เถิดว่า  สติมีหน้าที่ระลึกได้และควบคุมจิต ไม่มีหน้าที่พิจารณาเรื่องที่จิตคิด  ปัญญาเท่านั้นที่มีหน้าที่พิจารณาเรื่องที่จิตคิด ผิดถูก ชั่วดีอย่างไร  ผู้ใดมีพลังสติ พลังปัญญามาก ก็จะยับยั้งให้จิตหยุดคิดชั่วลงได้ ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสสอนให้พุทธศาสนิกชน  ฝึกสมาธิ เพื่อให้เกิดพลังสติที่มั่นคง ควบคุมจิตให้สงบไม่ให้จิตคิดฟุ้งซ่าน  แล้วศึกษาพระธรรมคำสอนให้รู้แจ้งเห็นจริง ที่เรียกว่าเกิดปัญญา พิจารณาไตร่ตรองผิดถูกชั่วดี  และสามารถระงับการกระทำความชั่วทางกาย  วาจา  ใจ ไว้ได้ในที่สุด

            ๒. สัมปชัญญะ

            สัมปชัญญะ คือความรู้ตัว หมายถึงการแสดงออกทางกาย วาจา ที่สุภาพเรียบร้อยขณะกำลังประกอบกิจการงานต่างๆ

            การที่จะมีสัมปชัญญะได้นั้น  ต้องมีสติ  ระลึกได้ก่อนว่ากำลังทำอะไร  สัมปชัญญะ คือความรู้ตัวจะเกิดขึ้นตามมา   แล้วจึงสามารถควบคุมกาย วาจา ใจ ให้เหมาะสมกับกาลเทศะ (เวลา และสถานที่) เช่น พระสงฆ์ สามเณร พ่อแม่ ครู อาจารย์ แพทย์ พยาบาล ทหาร ตำรวจ นักการเมือง นักเรียน นักศึกษา ชาวไร่ ชาวนา พ่อค้า ประชาชน เป็นต้น

            ตัวอย่าง เช่น

            พระภิกษุ สามเณร ต้องมีสติ สัมปชัญญะตลอดเวลา  ระลึกได้และรู้ตัว เช่น การเดินไปบิณฑบาตต้องสำรวมกาย วาจา มีสติสัมปชัญญะ ไม่พูดคุยกันเสียงดัง ไม่หันหน้าหันหลัง เดินอย่างสงบเสงี่ยม ไม่ก้าวเท้ายาว หรือยกเท้าสูงจนเกินไป อยู่ในท่าทางที่สง่างาม ในขณะที่ฉันภัตตาหาร ต้องมีสติ สัมปชัญญะ คือระลึกได้และรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่า  จะต้องนั่งให้เรียบร้อย ไม่อ้าปากกว้าง ไม่พูดคุยขณะที่อาหารอยู่ในปาก ไม่ขบฉันอาหารเสียงดัง เป็นต้น

            ในขณะที่แสดงพระธรรมเทศนา ต้องมีสติ สัมปชัญญะ คือระลึกได้และรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่า กำลังนำพระธรรมคำสอน  ของพระผู้มีพระภาคเจ้า มาอบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชน ต้องใช้วาจาที่สุภาพอ่อนโยน และนำเนื้อหาสาระในพระธรรมคำสอนมาพูด  เพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ฟัง นี่คือตัวอย่างของพระสงฆ์ สามเณร ที่มีสติ สัมปชัญญะ ระลึกได้และรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่า กำลังคิดอะไร พูดอะไร ทำอะไร การแสดงออกทางกาย วาจา ก็ดูสง่างาม  สุภาพเรียบร้อย  เป็นที่น่าเคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไป 

            ส่วนพระสงฆ์ สามเณรที่ขาดสติ สัมปชัญญะ ระลึกไม่ได้และไม่รู้ตัวว่ากำลังคิดอะไร พูดอะไร ทำอะไร การแสดงออกทางกาย วาจา ไม่สุภาพเรียบร้อย ไม่ว่าจะประกอบกิจของสงฆ์ เช่นไปบิณฑบาตก็จะเดินส่ายไปส่ายมา คุยกันเสียงดัง ไม่สำรวม กาย วาจา ดูแล้วไม่สง่างาม นี่คือตัวอย่างของพระภิกษุ สามเณรที่ขาดสติ สัมปชัญญะ

            ขณะที่แสดงพระธรรมเทศนา ก็ไม่นำพระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า มาอบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชน กลับพูดเรื่องอื่น หรือเรื่องส่วนตัวที่ไร้สาระ ไม่มีเหตุไม่มีผล ไม่เกิดประโยชน์กับผู้ฟัง บางครั้งพูดโน้มน้าวให้พุทธศาสนิกชน ร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อประโยชน์ส่วนตน นี่คือตัวอย่างพระภิกษุ สามเณรที่ขาดสติ สัมปชัญญะ ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน หรือประกอบกิจวัตรประจำวันของพระภิกษุ สามเณร  จะต้องมีสติ สัมปชัญญะควบคุมกาย วาจา ใจ อยู่ตลอดเวลา

            พระภิกษุ สามเณร ที่มีสติ สัมปชัญญะดี ต้องประพฤติปฏิบัติตามกิจของสงฆ์อยู่เสมอ ๆ  เช่น บิณฑบาตตอนเช้า  ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ทำความสะอาดศาลา หอฉัน กุฏิและบริเวณวัด เป็นประจำ

            นักเรียน นักศึกษาขณะที่ครู อาจารย์กำลังสอน ต้องสำรวมกาย วาจา ให้เรียบร้อย ไม่กระโดดโลดเต้น หยอกล้อกัน ส่งเสียงดังสร้างความรำคาญให้แก่เพื่อนนักเรียนร่วมชั้น เป็นการทำลายสมาธิในการเรียนการสอน  เป็นที่น่ารังเกียจของเพื่อนร่วมชั้น  เกิดความเสื่อมเสียแก่ตนเอง การเรียนก็ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร  นี่คือนักเรียนที่ขาดสติ สัมปชัญญะในเวลาเรียน

            พ่อ แม่ ครู อาจารย์ ก็จะต้องมีสติ คือความระลึกได้ สัมปชัญญะ คือความรู้ตัว จะต้องระลึกได้และรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่า  มีหน้าที่อบรมสั่งสอนบุตร ธิดา นักเรียน นักศึกษา ต้องสำรวมกาย วาจา มีกิริยามารยาท  สุภาพเรียบร้อย ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดคำหยาบ ไม่แสดงกิริยาท่าทางที่ไม่สุภาพ ในขณะที่ทำการสอน  อีกทั้งต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุตรธิดา นักเรียน นักศึกษา นี่คือตัวอย่างของพ่อ แม่ ครู อาจารย์ที่ดี มีสติ สัมปชัญญะที่สมบูรณ์

            สำหรับข้าราชการพลเรือน แพทย์ พยาบาล ทหาร ตำรวจ นักการเมือง จะต้องมีสติ คือความระลึกได้ มีสัมปชัญญะ คือความรู้ตัว ควบคุมกาย วาจา ใจ ไม่แสดงกิริยา วาจา ที่หยาบคายไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่การงาน  ไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ (เวลาและสถานที่) นี่เรียกว่า มีสติ สัมปชัญญะขณะปฏิบัติหน้าที่

            บุคคลทั่วไป จะต้องมีสติ สัมปชัญญะตลอดเวลา ในขณะทำงาน หรืออยู่ในสังคมหมู่มาก ต้องรู้จักกาลเทศะ (เวลาและสถานที่) ควรจะแสดงกิริยา วาจา ให้สุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับสถานที่นั้นๆ เช่น ขณะอยู่ในวัด ทุกคนควรนั่งพับเพียบเรียบร้อย ไม่คุยกันเสียงดัง สำรวมกาย วาจา ใจ มีมารยาทที่ดี มีความสงบเสงี่ยม  ตั้งใจฟังพระภิกษุ สามเณร แสดงพระธรรมเทศนา   แล้วน้อมนำพระธรรมคำสอนมาปฏิบัติตาม ให้ถูกต้อง  เพื่อเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตต่อไป  นี่คือตัวอย่างของผู้มีสติ  สัมปชัญญะที่ดี

            ตรงกันข้ามกับผู้ที่ขาดสติ สัมปชัญญะไม่รู้ตัวว่าควรจะแสดงกิริยามารยาทอย่างไร ให้ถูกกาลเทศะ เช่นขณะที่พระสงฆ์ สามเณร แสดงพระธรรมเทศนา พากันแสดงกิริยาที่ไม่สุภาพเรียบร้อย  คุยกันเสียงดัง ทำตัวไม่เหมาะสมกับการฟังธรรม  นั่งไม่สุภาพเรียบร้อย ไม่สำรวมกิริยา วาจาให้สงบเสงี่ยม  ไม่เคารพสถานที่ ไม่เคารพในพระธรรมคำสั่งสอน ไม่ตั้งใจฟัง จึงไม่ได้ประโยชน์จากคำสอนบทใดบทหนึ่ง  ที่จะนำมาประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง  ไม่มีแนวทางในการดำรงชีวิตที่ดี  นี่คือผู้ที่ขาดสติ สัมปชัญญะ

            เพราะฉะนั้น สติ สัมปชัญญะเป็นธรรมที่ใช้คู่กัน ผู้ใดมีสติ สัมปชัญญะ คอยช่วยเหลือจิตให้คิดแต่สิ่งที่ดี  พูดแต่สิ่งที่ดี  กายประกอบแต่กรรมดี  สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระองค์ท่านตรัสสอนให้มนุษย์มีสติ สัมปชัญญะควบคุมดูแลกาย วาจา ใจ ให้ประกอบแต่กรรมดีตลอดชีวิต ถือว่าผู้นั้นมีธรรมที่มีอุปการะมาก

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view