http://www.porjarearntum.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ05/04/2009
อัพเดท06/09/2022
ผู้เข้าชม707,035
เปิดเพจ958,033

บริการ

หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ติดต่อเรา

บทกลอนธรรมะ

จูงมือลูกเดิน

ระลึกได้และรู้ตัวหมายความว่าอย่างไร

รัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

อันตรายของภิกษุ สามเณร ผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง

ความจริงอันประเสริฐที่ควรรู้ ๔ ประการ

ธรรมะอันทำให้งาม มี ๒ ประการ

ธรรมคุ้มครองโลก

เสียงเทศน์ทำใหม่ล่าสุด

วงล้อแห่งพระธรรมที่นำไปสู่ความเจริญ ๔ อย่าง

ทุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

สุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

วิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการ หมายความว่าอย่างไร

คุณของรัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด

มูลเหตุของความโง่เขลา

มูลเหตุของความฉลาด

ท่านรู้จักตนเองว่ามีกิเลสหรือไม่ ต้องพิจารณาอย่างไร

ท่านรู้จักมนุษย์ ๔ ประเภทหรือยัง ?

คิดดี พูดดี ทำดี

ความสุข ความทุกข์ ความสบาย แตกต่างกันอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ

ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบและเกิดปัญญา

ศาสนาคืออะไร

ป่วยกาย ป่วยใจ หมายความว่าอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ (เนื้อหา)

ทำความดีเพื่ออะไร

คุณธรรม ๕ ประการ สนับสนุนความสำเร็จ

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมายความว่าอย่างไร

ศีล ในพระพุทธศาสนา ๒๒๗ ข้อ ภาคภาษาไทย อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ปัจจัย ๔ รูปธรรม และ ปัจจัย ๔ นามธรรม

มนุษย์ เป็นโรค ๔ อย่าง บ้า ใบ้ บอด หนวก

ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาปหมายความว่าอย่างไร

ระวังจิต ระวังอารมณ์ หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา มีจริงหรือไม่

จิตสงบ จิตว่าง แตกต่างกันอย่างไร

อยากรู้ อยากห็น อยากเป็น อยากไป หมายความว่าอย่างไร

มืดมามืดไป และสว่างมาสว่างไป หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่มีมาก ทำให้น้อยลง สิ่งที่มีอยู่ทำให้หมดไป

ความเห็นแก่ตัว กับการรักตัวเอง

ท่านพบเห็นเมืองพอแล้วหรือยัง

การทำความชั่วเพราะเหตุ ๔ ประการ

รู้จด รู้จำ รู้แจ้ง หมายความว่าอย่างไร

สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ฟังธรรมเป็นยาฉีด จริงหรือ

ผู้ที่ไม่แต่งงาน จะตกนรก จริงหรือไม่

มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ

ก็ต้อง ก็ได้ ก็ดี หมายความว่าอย่างไร

บันใด ๘ ขั้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

งามทั้ง กาย วาจา ใจ

ผู้ที่ฝีกสมาธินาน ๆ ไม่เกิดปัญญาเพราะเหตุใด

คิดอย่างไรจึงไม่เกิดทุกข์

จิตใต้สำนึก

คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ

ทำใจ หมายความว่าอย่างไร

ประเพณีงานศพที่ถูกต้อง... เหตุใดจึงต้องเผาศพ...

ความเบื่อของปุถุชนกับความเบื่อของพระอริยะ

พระราชดำรัส คุณธรรม ๔ ประการ(เนื้อหา)

มีสิ่งใด สิ่งนั้นก็เสื่อม

บวชเพื่ออะไร

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือ

ทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์

บุคคลที่หาได้ยาก ความกตัญญูกตเวที

การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดหรือถูก...

ความหวัง

มืดมาสว่างไป สว่างมามืดไป หมายความว่าอย่างไร

ผู้ที่ขัดขวางการปฏิบัติธรรม มีโทษอย่างไร

แผ่นพับธรรมะ

ปัจจัย ๔ รูปธรรม และ ปัจจัย ๔ นามธรรม

 

ปัจจัย    รูปธรรม และ ปัจจัย    นามธรรม

 

            สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของมนุษย์   คือ ปัจจัย     มีดังนี้  

๑)  อาหาร 

๒)  เครื่องนุ่งห่ม

๓)  ที่อยู่อาศัย

๔)  ยารักษาโรค

๑)   อาหาร  หมายถึง  สิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์ นำมาเลี้ยงร่างกายประจำวัน  ตั้งแต่

เกิดจนตาย  เช่น ข้าว  น้ำ  เนื้อสัตว์  ผักและผลไม้ต่าง ๆ  เป็นต้น  แล้วแต่ผู้ใดจะนำสิ่งใดมาเลี้ยงร่างกาย  ตามฐานะความเป็นอยู่ของแต่ละบุคคล  เพราะร่างกายของมนุษย์จะขาดอาหารไม่ได้  ถ้าขาดอาหารก็ต้องตายในที่สุด  อาหารจึงเป็นมีความสำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์

๒)  เครื่องนุ่งห่ม   หมายถึง   เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่  เพื่อปกปิดร่างกาย  ให้ดู

สวยงาม  เพราะร่างกายของมนุษย์สกปรกและน่าเกลียด  นอกจากนั้นเสื้อผ้ายังช่วยป้องกันการรบกวนของแมลงและสัตว์อื่น ๆ  ส่วนผ้าห่ม หมายถึงผ้าที่ใช้ห่มกันหนาวในฤดูหนาว  เพราะมนุษย์เกิดมาตัวเปล่า  เมื่อเกิดมาแล้ว  จึงมีความจำเป็นต้องมีเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม  ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับร่างกายภายนอกของมนุษย์

                        ๓)  ที่อยู่อาศัย  หมายถึงบ้านเรือน  ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยพักผ่อนหลับนอน  หลบแดด  หลบฝน  และป้องกันอันตรายจากสัตว์น้อย ใหญ่  ที่จะมารบกวนหรือทำร้ายในเวลากลางวันและกลางคืน  เพราะฉะนั้น  ที่อยู่อาศัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด  ในความเป็นอยู่ของมนุษย์ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่

                        ๔)  ยารักษาโรค  หมายถึง พืชที่เป็นสมุนไพรต่าง ๆ แล้วนำมาสกัดเป็นยารักษาโรค  เพื่อนำมารักษามนุษย์  ที่เจ็บไข้ หรือป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ให้หายจากความทุกข์ทรมาน  ในการป่วยของโรคนั้น ๆ เพราะฉะนั้นยารักษาโรค  จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตมนุษย์  เพราะยารักษาโรคจะทำให้มนุษย์มีชีวิตอยู่รอดต่อไปได้อีก  ถ้าไม่มียารักษาโรค  มนุษย์อาจตายก่อนอายุขัย  ด้วยโรคต่าง ๆ 

นี้คือปัจจัย    ที่สำคัญที่สุดสำหรับร่างกายของมนุษย์  ที่เรียกว่า   รูปธรรม

ปัจจัย    ที่กล่าวมานี้  มนุษย์มีอยู่ด้วยกันทุกคน  บางคนมีมาก  บางคนมีปานกลาง  บางคนมีน้อย  ผู้ใดที่มีปัจจัย    มาก ก็จะมีความเป็นอยู่อย่างสุขสบาย  ผู้ใดมีปัจจัย    ปานกลาง ก็จะมีความทุกข์บ้าง  สุขบ้าง  ส่วนผู้ใดมีปัจจัย    น้อย  ก็จะมีแต่ความทุกข์  ทั้งนี้และทั้งนั้น  จะมีมากหรือมีน้อย  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอน  ไม่ให้ลุ่มหลงมัวเมา  ยึดมั่นถือมั่น  ในปัจจัยทั้ง    อย่างนี้  มีอาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  ยารักษาโรค มีเพียงพอให้ร่างกายอยู่ได้  เพื่อทำความดีเท่านั้น  ถึงแม้จะมีปัจจัย    มาก สักปานใดก็ตาม  เมื่อตายไปแล้ว  ก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้เลย  มีเพียงความดีเท่านั้นที่สามารถติดตัวตามตนไปได้ทุกภพทุกชาติ

            มนุษย์ยังมีนามธรรม  ที่มีอยู่ในร่างกายของเรา  ที่เรียกว่า  จิตใจ  ก็มีปัจจัย    เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของจิตใจ

            สิ่งที่สำคัญที่สุดในจิตใจของมนุษย์    มีปัจจัย    อย่าง  ดังนี้

๑). อาหารของจิตใจ 

๒). เครื่องนุ่งห่มของจิตใจ

๓). ที่อยู่อาศัยของจิตใจ

๔). ยารักษาโรคของจิตใจ

๑).  อาหารของจิตใจ  หมายถึง  การฟังธรรม  คือฟังคำสั่งสอนของพระผู้มี

พระภาคเจ้า  เพราะคำสอนทุกบทสอนให้  มนุษย์รู้ผิดถูก  ชั่วดี  รู้บาปบุญ  คุณโทษ  ผู้ที่ฟังธรรมก็จะได้ประโยชน์คือ  ฟังแล้วรู้เรื่องที่ยังไม่เคยรู้  ฟังแล้วเรื่องที่สงสัยก็หายสงสัย  ฟังธรรมแล้ว  จิตใจเบิกบานผ่องใส  ฟังธรรมแล้วมีความเห็นถูกตามครรลองคลองธรรม

เป็นเหตุให้มีสติปัญญา  คือมีความรู้มากขึ้น  และสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติตาม  ทำให้ละชั่วประพฤติดี  ชำระจิตใจให้สะอาดปราศจากกิเลสทั้ง    อย่างคือ  ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  ทำให้เป็นคนดี  งามทั้งกาย  งามทั้งใจ  เพราะฉะนั้น  การฟังธรรมจึงเป็นอาหารที่สำคัญที่สุดสำหรับจิตใจของมนุษย์   ดังนั้นควรฟังธรรมเสมอ ๆ  จิตใจจะได้อิ่มเอิบ  ปิติยินดี  เปรียบเหมือนกับได้อาหารใจ   นั้นเอง นี้คือ การฟังธรรมเป็นอาหารของจิตใจ 

            ผู้ที่ขาดอาหารของจิตใจ  คือ ผู้ที่ไม่ได้ฟังธรรม  ก็จะขาดสติปัญญาไม่รู้ผิดถูกชั่วดีไม่รู้บาปบุญคุณโทษ  โง่เขลาเบาปัญญา  ทำแต่ความชั่ว  จิตก็ร้อนรนกระวนกระวาย

มีแต่ความทุกข์  ความเดือดร้อน  หาความสุขไม่ได้  เพราะไม่ได้ฟังธรรม  จิตใจจึงขาดอาหาร   ทำให้จิตเศร้าหมองไม่ผ่องใส 

๒). เครื่องนุ่งห่มของจิตใจ  หมายถึง  ทาน  ศีล  สมาธิ  ปัญญา

ทาน  ผู้ใดให้ทานเสมอ ๆ  เป็นการสร้างคุณธรรมประจำใจ  ให้มีเมตตา  คือ

ความรัก  มีกรุณา คือความสงสารผู้อื่น เป็นความดีที่ได้หุ้มห่อ  จิตใจของผู้นั้นไว้แล้ว

                        ศีล   หมายถึงข้องดเว้นจากการทำความชั่ว  การนำศีลมารักษา  กาย  วาจา ให้สะอาดปราศจากความชั่ว  ตามศีลแต่ละข้อ  แล้วแต่ผู้ใดจะนำศีลข้อใดมาปฏิบัติ  ซึ่งมีอยู่มากมาย  ผู้ใดปฏิบัติตามศีลข้อนั้น ๆ  ได้  กายวาจาก็จะสะอาด   เมื่อกายวาจาสะอาด  จิตใจก็มีความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองว่า  มีความดีเป็นเครื่องนุ่งห่มจิตใจ  เปรียบเหมือนสวมใส่เสื้อผ้าที่สวยงาม

                        สมาธิ     หมายถึง  การฝึกจิตให้สงบ  ไม่ฟุ้งซ่านร้อนรนกระวนกระวาย  จิตจะสงบเยือกเย็น  เพราะมีสติคอยควบคุม  เปรียบเหมือนกับสวมใส่เสื้อผ้าที่สวยงาม 

บางเบา  และสบาย

                        ปัญญา   หมายถึง  ความรอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม  ผู้ที่มีปัญญาคือผู้ที่มีคุณธรรมของสัตบุรุษ     ประการ  ดังนี้ 

                        ๑)  รู้เหตุ

                        ๒)  รู้ผล

                        ๓)  รู้ตน

                        ๔)  รู้ประมาณ

๕)  รู้กาลเวลา

                        ๖)  รู้ชุมชน

                        ๗)  รู้บุคคล

                                   ๑)  รู้เหตุ   ๒)  รู้ผล  หมายความว่า  รู้ว่าเหตุใดทำแล้ว ส่งผลให้เกิดทุกข์  เหตุใดทำแล้วส่งผลให้เกิดสุข  ผู้มีสติปัญญาดี  ก็จะเลือกทำแต่เหตุที่ส่งผลให้มีความสุข  ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น  รวมทั้งสังคมประเทศชาติบ้านเมือง 

                                    ๓)   รู้ตน   หมายความว่า  เป็นผู้รู้จักตน  คือรู้ว่าตนเองอยู่ในชาติตระกูลใด  ยศถาบรรดาศักดิ์สูงต่ำเพียงใด  มีสมบัติบริวาร ความรู้และคุณธรรมอยู่ในระดับใด  ควรต้องปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับฐานะ  ความเป็นอยู่   มีความอ่อนน้อมถ่อมตน  ไม่ยกตนข่มท่าน  เพื่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน และสร้างชื่อเสียงให้กับวงศ์ตระกูล 

                                    ๔)  รู้ประมาณ  หมายความว่า  ความเป็นผู้รู้จักประมาณ   รู้จักความพอดี  พอเหมาะพอควร  ไม่มากหรือน้อยเกินไปในทุกเรื่อง  เช่น    รู้จักประมาณในการบริโภคทรัพย์  ให้สมควรกับฐานะความเป็นอยู่ของตน  รู้จักประมาณในการใช้จ่ายเงินทอง  รู้จักประมาณในการรับประทานอาหาร  รู้จักประมาณในการแต่งกาย   รู้จักประมาณในการพูด  เป็นต้น

                                    ๕)  รู้กาล   หมายความว่า  รู้จักเวลาและสถานที่ ว่าจะพูด  จะทำอะไรในเวลาและสถานที่นั้น ๆ  เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับตนเองและผู้อื่น

๖)  รู้ชุมชน   หมายความว่า  ชุมชนใดที่มีความเป็นอยู่ที่ดี  เราควรเข้า

ไปคบค้าสมาคมด้วย  เพื่อให้เกิดความสามัคคี  และเจริญรุ่งเรืองในชุมชนนั้น  ชุมชนใดที่มีความเป็นอยู่ที่ไม่ดี  ทำผิดกฎหมาย ผิดครรลองคลองธรรม  ก็ไม่ควรเข้าไปคบค้าสมาคมด้วย  เพราะจะเกิดความเสียหาย  เสียทรัพย์สินเงินทอง เสียชื่อเสียง  สร้างความเสื่อมโทรมให้กับชุมชนหรือสังคมนั้น ๆ

                                    ๗)  รู้บุคคล   หมายความว่า  รู้จัก  เคารพนับถือคบค้าสมาคมกับคนที่เป็นคนดี  มีศีล มีธรรมประจำ กาย  วาจา ใจ  เมื่อได้คบค้าสมาคมแล้วเกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น   รู้ว่าบุคคลใดไม่ควรเคารพนับถือ คบค้าสมาคมด้วย  เพราะเป็นคนชั่ว  คบแล้วก็จะเกิดโทษ  ต่อตนเองและผู้อื่น นี้คือผู้ที่มีปัญญาดี  มีความสุภาพเรียบร้อย อ่อนโยน  มีทาน ศีล สมาธิ  ปัญญา เป็นเครื่องนุ่งห่มจิตใจ  ผู้ใดพบเห็น  ก็จะดูสวยงาม  ทั้งทางกาย วาจา ใจ นี้คือความหมายของคำว่า เครื่องนุ่งห่มของจิตใจ )

            ผู้ที่มีคุณสมบัติทั้ง ๗ ประการนี้  เป็นผู้ดีควรแก่การยกย่องนับถือ เป็นคนที่น่าคบหาสมาคมด้วย

            ผู้มีปัญญาดี  มีกายวาจา ใจ ที่สะอาด สุภาพเรียบร้อย  อ่อนโยน   มีทาน  ศีล  สมาธิปัญญา  เป็นเครื่องนุ่งห่มจิตใจ  ผู้ใดพบเห็นก็จะดูสวยงาม ทั้งทางกาย  วาจา  ใจ  นี้คือ

ทาน  ศีล  สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องนุ่งห่มของจิตใจ 

๓). ที่อยู่อาศัยของจิตใจ  หมายถึงผู้ที่นับถือศาสนาใด  ศาสนาหนึ่ง  ส่วน

ชาวพุทธ  ก็นับถือศาสนาพุทธเป็นที่ยึดเหนี่ยว  เป็นที่พึ่งที่อาศัยของจิตใจ  เพราะพระพุทธศาสนามี  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เป็นองค์ศาสดา  เราจึงเคารพ  นับถือ  กราบไหว้บูชา  และประพฤติปฏิบัติตาม  พระธรรมคำสอนของพระองค์ท่าน  ด้วยพระองค์ท่าน  มี พระปัญญาธิคุณ  พระบริสุทธิคุณ  พระมหากรุณาธิคุณ  พระองค์ท่านทรงสอนให้มนุษย์ละชั่วประพฤติดี  และชำระจิตใจให้สะอาดปราศจากกิเลสทั้ง    อย่าง คือ ความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  เพื่อความพ้นทุกข์  และยังมีคำสอนโดยละเอียดอีกมากมาย  เมื่อนำมาปฏิบัติตามแล้ว  จะช่วยให้บรรเทาความทุกข์ลงได้  เพราะฉะนั้นผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องนับถือศาสนาพุทธอย่างเดียว ไม่ควรนับถือหลาย ๆ  ศาสนาในขณะเดียวกัน  ดังนั้นศาสนาจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง  ที่มนุษย์ต้องยึดถือเป็นที่พึ่งที่อาศัยของจิตใจ  เปรียบเหมือนเราพักอาศัยอยู่ในบ้านที่ร่มเย็นเป็นสุข  พ้นจากภัยอันตรายต่าง ๆ  นี้คือความหมายของคำว่า    ศาสนาเป็นที่อยู่อาศัยของจิตใจ  

๔)  ยารักษาโรคของจิตใจ  หมายถึง  พระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ที่สามารถช่วยมนุษย์ที่ป่วยเป็นโรคทางจิต  คือโรคโลภ  โรคโกรธ  โรคหลง  ซึ่งเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต  เป็นเหตุของการเกิดทุกข์  เมื่อเกิดทุกข์กับสิ่งใดหรือเรื่องใด  ให้นำคำสอนบทใดบทหนึ่งที่ช่วยแก้ไข  ปัญหาที่เกิดขึ้นกับจิตใจ  เช่นเมื่อมีความโกรธเกิดขึ้น  ก็ให้นำคำสอนบทของการให้อภัย และบทเมตตา  คือความรัก  กรุณาคือความสงสาร  มาพิจารณาเพื่อให้หายจากการเป็นโรคโกรธ  เมื่อความโลภเกิดขึ้นในจิตใจ   ทำให้มักใหญ่ใฝ่สูง  อยากได้สิ่งต่าง ๆ มาเป็นของตน  ก็ให้นำเอาคำสอนบท  อนิจจัง  ทุกขัง อนัตตา  มาพิจารณาให้เห็นว่า  สิ่งต่าง ๆ  เหล่านั้น เป็นเพียงสิ่งสมมุติ  เท่านั้น  เมื่อตายไปแล้วไม่สามารถนำติดตัวตามตนไปได้เลย  โรคของความโลภก็จะคลายหายไป  เมื่อความหลง  เกิดขึ้นในจิตใจ  จะทำให้มีความรักใคร่พอใจ ในสิ่งต่าง ๆ  ก็จะยึดมั่นถือมั่นว่า  เป็นของเรา  เกิดความทุกข์อย่างหนัก  ก็ให้นำคำสอนบท  ที่ว่า  ทุกสิ่งทุกอย่าง  เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  แล้วดับไป  ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเราของเขา  ทุกอย่างเกิดขึ้น  ตั้งอยู่  แล้วดับไป  ในที่สุด  แม้แต่ตัวของเราเอง  นี้เป็นเพียงตัวอย่างคำสอนบางบทเท่านั้น  ขอให้ท่านศึกษา  แล้วนำคำสอนบทต่าง ๆ  มาพิจารณา  เมื่อท่านป่วยด้วยโรคโลภ โรคโกรธ  โรคหลง  แล้วท่านก็จะหายจากโรคต่าง ๆ เหล่านั้นได้  นี้คือความหมายของคำว่า   พระธรรมคำสอน เป็นยารักษาโรคของจิตใจ

            ปัจจัย    ของจิตใจ  ดังที่ได้กล่าวมานี้    ท่านทั้งหลายมีแล้วหรือยัง  เช่น อาหารของจิตใจ  เครื่องนุ่งห่มของจิตใจ  ที่อยู่อาศัยของจิตใจ  ยารักษาโรคของจิตใจ   ถ้าผู้ใดมีครบทั้ง    อย่างนี้แล้ว  ก็จะอยู่อย่างสบายใจ  แต่ถ้าผู้ใดยังไม่มี  ขอให้ท่านจงหาปัจจัย    นี้มาช่วยเหลือจิตใจของท่านให้พ้นจากความทุกข์ด้วยเถิด


view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view