http://www.porjarearntum.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

สถิติ

เปิดเว็บ05/04/2009
อัพเดท06/09/2022
ผู้เข้าชม704,688
เปิดเพจ955,351

บริการ

หน้าแรก
บทความ
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ติดต่อเรา

บทกลอนธรรมะ

จูงมือลูกเดิน

ระลึกได้และรู้ตัวหมายความว่าอย่างไร

รัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

อันตรายของภิกษุ สามเณร ผู้บวชใหม่ ๔ อย่าง

ความจริงอันประเสริฐที่ควรรู้ ๔ ประการ

ธรรมะอันทำให้งาม มี ๒ ประการ

ธรรมคุ้มครองโลก

เสียงเทศน์ทำใหม่ล่าสุด

วงล้อแห่งพระธรรมที่นำไปสู่ความเจริญ ๔ อย่าง

ทุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

สุจริต ๓ หมายความว่าอย่างไร

วิธีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการ หมายความว่าอย่างไร

คุณของรัตนะ ๓ หมายความว่าอย่างไร

ท่านเป็นมนุษย์ปุถุชนประเภทใด

มูลเหตุของความโง่เขลา

มูลเหตุของความฉลาด

ท่านรู้จักตนเองว่ามีกิเลสหรือไม่ ต้องพิจารณาอย่างไร

ท่านรู้จักมนุษย์ ๔ ประเภทหรือยัง ?

คิดดี พูดดี ทำดี

ความสุข ความทุกข์ ความสบาย แตกต่างกันอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ

ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบและเกิดปัญญา

ศาสนาคืออะไร

ป่วยกาย ป่วยใจ หมายความว่าอย่างไร

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ (เนื้อหา)

ทำความดีเพื่ออะไร

คุณธรรม ๕ ประการ สนับสนุนความสำเร็จ

เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หมายความว่าอย่างไร

ศีล ในพระพุทธศาสนา ๒๒๗ ข้อ ภาคภาษาไทย อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ปัจจัย ๔ รูปธรรม และ ปัจจัย ๔ นามธรรม

มนุษย์ เป็นโรค ๔ อย่าง บ้า ใบ้ บอด หนวก

ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาปหมายความว่าอย่างไร

ระวังจิต ระวังอารมณ์ หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่ไม่เป็นอนิจจัง สิ่งที่ไม่เป็นทุกขัง สิ่งที่ไม่เป็นอนัตตา มีจริงหรือไม่

จิตสงบ จิตว่าง แตกต่างกันอย่างไร

อยากรู้ อยากห็น อยากเป็น อยากไป หมายความว่าอย่างไร

มืดมามืดไป และสว่างมาสว่างไป หมายความว่าอย่างไร

สิ่งที่มีมาก ทำให้น้อยลง สิ่งที่มีอยู่ทำให้หมดไป

ความเห็นแก่ตัว กับการรักตัวเอง

ท่านพบเห็นเมืองพอแล้วหรือยัง

การทำความชั่วเพราะเหตุ ๔ ประการ

รู้จด รู้จำ รู้แจ้ง หมายความว่าอย่างไร

สวดมนต์เป็นยาทา ภาวนาเป็นยากิน ฟังธรรมเป็นยาฉีด จริงหรือ

ผู้ที่ไม่แต่งงาน จะตกนรก จริงหรือไม่

มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ

ก็ต้อง ก็ได้ ก็ดี หมายความว่าอย่างไร

บันใด ๘ ขั้นสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น

งามทั้ง กาย วาจา ใจ

ผู้ที่ฝีกสมาธินาน ๆ ไม่เกิดปัญญาเพราะเหตุใด

คิดอย่างไรจึงไม่เกิดทุกข์

จิตใต้สำนึก

คุณธรรมพื้นฐาน ๘ ประการ

ทำใจ หมายความว่าอย่างไร

ประเพณีงานศพที่ถูกต้อง... เหตุใดจึงต้องเผาศพ...

ความเบื่อของปุถุชนกับความเบื่อของพระอริยะ

พระราชดำรัส คุณธรรม ๔ ประการ(เนื้อหา)

มีสิ่งใด สิ่งนั้นก็เสื่อม

บวชเพื่ออะไร

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วจริงหรือ

ทุกข์และวิธีปฏิบัติให้ถึงซึ่งความพ้นทุกข์

บุคคลที่หาได้ยาก ความกตัญญูกตเวที

การฝึกสมาธิเพื่อให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดหรือถูก...

ความหวัง

มืดมาสว่างไป สว่างมามืดไป หมายความว่าอย่างไร

ผู้ที่ขัดขวางการปฏิบัติธรรม มีโทษอย่างไร

แผ่นพับธรรมะ

บุญ กุศล และอานิสงส์

บุญ กุศล และอานิสงส์

          บุญ  กุศล และอานิสงส์  หมายความว่าอย่างไร

          บุญ คือ ความสุขใจ สบายใจ เมื่อได้ทำความดี 

          กุศล  คือ ความฉลาด เลือกทำในสิ่งที่ดีถูกต้องตามครรลองคลองธรรม

          อานิสงส์  คือ  ผล หรือประโยชน์ที่ได้รับจากการกระทำความดีทุกครั้ง

          การกระทำสิ่งใดที่จะได้บุญ ได้กุศล และได้อานิสงส์ ต้องมี ๓ วาระจิต ด้วยกัน คือ

            ๑. ก่อนทำ

            ๒. ขณะที่ทำ

            ๓. หลังจากทำ

           เช่น วันนี้เราคิดว่าพรุ่งนี้เช้า จะใส่บาตร เรามีความสุขใจ เรียกว่า ได้บุญก่อนทำ รุ่งเช้าเรานำของที่เราเตรียมไว้ไปใส่บาตร  ขณะที่ใส่ เรารู้ว่าพระสงฆ์รูปนั้นเป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เรียกว่า เราได้กุศล คือ ความฉลาดใน  การให้ทานที่ถูกต้อง เราจะได้อานิสงส์คือประโยชน์จากการที่พระรูปนั้น  นำอาหารของเราไปเลี้ยงร่างกายของท่าน  ให้มีชีวิตอยู่รอดต่อไป เพื่อประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระผู้มี พระภาคเจ้า คือ การละชั่วประพฤติดีและชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์จากกิเลส  ความโลภ  ความโกรธ  ความหลงที่ครอบงำจิต  ให้น้อยลงและหมดไปในที่สุด แล้วนำคำสอนมาเผยแผ่ให้พุทธศาสนิกชนได้รู้และปฏิบัติตามต่อไป

          สรุปทั้ง ๓ วาระจิต คือก่อนทำมีความสุขใจ ขณะที่ทำ ก็เต็มใจไม่เสียดาย ทำไปแล้ว เกิดปีติยินดี  ว่าเราได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เรียกว่า ได้ทั้งบุญ ทั้งกุศล และอานิสงส์สมบูรณ์

          การให้ทานที่ได้บุญได้กุศลและได้อานิสงส์ แตกต่างกัน คือ

          ๑. ก่อนให้ทาน ไม่อยากให้ เราก็ไม่มีความสุขใจ ขณะนั้น เรียกว่าไม่ได้บุญ (บุญคือคือความสุขใจ)

          ๒. ขณะที่ให้ทานให้กับพระสงฆ์ที่ไม่มีศีล ไม่มีคุณธรรมประจำใจ เพราะความโง่เขลาของผู้ให้ เรียกว่า ไม่ได้กุศล (กุศล คือ ความฉลาด)

          ๓. หลังจากให้ทาน กับคนชั่ว ไม่ได้อานิสงส์ เพราะไปส่งเสริมให้คนชั่วมีชีวิตอยู่รอด เพื่อทำความชั่วต่อไป เรียกว่า ไม่ได้อานิสงส์ (อานิสงส์ คือ ผลประโยชน์)

          สรุป  ในการกระทำความดีครั้งนี้  ไม่ได้บุญ ไม่ได้กุศล และ ไม่ได้อานิสงส์

          อีกตัวอย่างหนึ่ง  ก่อนให้ทาน ดีใจ เต็มใจมีความสุขใจ เรียกว่า ได้บุญ

          ขณะที่ให้ เกิดเสียดาย ไม่เต็มใจให้ผู้รับ  เพราะรู้ว่าผู้รับเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์  เราโง่ เราไม่ฉลาด ไม่ไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน การทำอย่างนี้ เรียกว่า ไม่ได้กุศล

          หลังจากให้ไปแล้ว ไม่เกิดความปีติยินดี เสียดายในทานที่ให้ เพราะไม่เกิดประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับ เรียกว่า ไม่ได้อานิสงส์

          สรุป  การกระทำครั้งนี้มีวาระจิตที่แตกต่างกัน จึงได้บุญเพียงอย่างเดียว คือความสุขใจก่อนให้ได้บุญ แต่ไม่ได้กุศล เพราะไม่ฉลาดและไม่ได้อานิสงส์ เพราะไม่ได้ผลประโยชน์จากการให้

          อีกตัวอย่างหนึ่ง ก่อนให้ทาน  ไม่เต็มใจจะให้แต่มีความจำเป็นต้องให้ เกิดความไม่สบายใจ เป็นทุกข์ เรียกว่า ไม่ได้บุญ  ขณะที่ให้กลับยินดีพอใจ ในเมื่อเห็นผู้รับเป็นผู้บริสุทธิ์สมควรจะให้ ถือว่าเรามีปัญญา ฉลาดในการให้ครั้งนี้เรียกว่า ได้กุศล  หลังจากให้ไปแล้ว เกิดปีติยินดีเชื่อว่าผู้รับนำทานของเราไปทำให้เกิดประโยชน์อย่างแน่นอน  นี่เรียกว่า ได้อานิสงส์

            สรุป  ตัวอย่างนี้ไม่ได้บุญ  แต่ได้กุศลและอานิสงส์ เพราะเข้าใจในเรื่องการให้ทานทั้งหลายทั้งปวง  ว่าให้อย่างไรจึงจะได้ทั้งบุญ ทั้งกุศล  ทั้งอานิสงส์ในการกระทำครั้งเดียวกัน  ผลที่ท่านจะได้รับส่วนบุญ คือความสุขใจ  สบายใจที่ท่านได้ประกอบกรรมดี แต่ละครั้ง  กุศลจะส่งผลให้ท่านเป็นผู้มีสติ  ปัญญาดี เฉลียวฉลาด ทั้งในชาตินี้และในชาติหน้า  อานิสงส์ที่ได้รับ คือ ประโยชน์จากที่ท่านได้ให้ทาน ในชาตินี้  ท่านจะเป็นผู้มีคุณธรรมสูง ในชาติต่อ ๆ ไป ท่านจะเป็นผู้มีทรัพย์สมบัติมากมาย

            การให้ทานนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนไว้อย่างชัดเจนว่า ให้กับบุคคลที่ควรให้ เช่น พระสงฆ์ สามเณร  ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีศีล มีธรรมสมบูรณ์ หรือให้กับพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครู อาจารย์ และผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากแต่เป็นคนดี การให้ต้องรู้จักประมาณ แบ่งทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่ไม่ทำให้ตนเองเดือดร้อน และให้อย่างบริสุทธิ์ใจไม่หวังสิ่งตอบแทนแต่อย่างใด ให้เพราะต้องการให้ผู้รับนั้นเป็นสุขและเกิดประโยชน์ที่แท้จริง

          เมื่อปฏิบัติดังที่กล่าวมาแล้วนี้ เรียกว่า การให้ทานนั้นบริสุทธิ์ เป็นไปตามพระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าการให้นั้นหวังสิ่งตอบแทน เพื่อให้มีชื่อเสียง มีหน้า มีตา หรือให้ตามประเพณี  ให้เพื่อหวังความร่ำรวยในชาตินี้  ให้เพื่อต้องการให้ผู้อื่น เขาชื่นชมยกย่องว่าดี หรือให้เพื่อหวังยศถาบรรดาศักดิ์เกิดขึ้นกับตัวเอง  การให้ทานอย่างนี้ เรียกว่า การให้ที่ไม่บริสุทธิ์  ท่านทั้งหลายไม่ควรกระทำ เพราะจะได้บุญได้กุศล และอานิสงส์น้อยมาก

 

          จะได้บุญ    เมื่อเราให้     ใจสะอาด

ถ้าฉลาด               ในการให้       ได้กุศล

อานิสงส์                จะส่งผล         ในบัดดล

จะเป็นคน             ที่ดี                   มีคุณธรรม

 

  

view

 หน้าแรก

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view